ASTVผู้จัดการรายวัน - เอ็นจีโอ-นักสิทธิเด็กรุมค้าน นโยบาย ตร.ห้ามเด็กออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม ชี้คาบเกี่ยว “เสรีภาพ-สวัสดิภาพ”แนะรับฟังความเห็นรอบด้านก่อนเดินหน้า ขณะที่ “ครูหยุย” ติงคำสั่งไม่ชัด ทำประชาชนสับสน ด้าน“สุเทพ” - ‘ผบ.ตร.บ.ชน.เห็นดีกม.ห้ามเด็กต่ำกว่า 18 ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม ดึงผู้ปกครองร่วมรับผิดชอบ อ้างช่วยแก้ปัญหายาเสพติด พร้อมหามาตรการคุมโจ๋กร่างไล่ยิงบนทางด่วน ยันต้องจับให้เข็ดเพื่อคุมอาชญากรรม-บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
** “ครูหยุย” ติงคำสั่งเคอร์ฟิวโจ๋ไม่ชัดหวั่นสับสน
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวถึงกรณีที่ตำรวจนครบาลจะใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่นอกบ้านหลังเวลา 22.00 น. ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชน ไม่ให้เด็กไปในที่จะมีผลกระทบในทางลบ แต่ตัวกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจถึงขั้นจับไปโรงพัก เพียงแต่สามารถเรียกตัวพ่อแม่ให้มารับได้ หากเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เท่าที่ฟังฝ่ายตำรวจยังมีรูปแบบวิธีการปฏิบัติไม่ชัดเจน ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจมีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่แล้วนำตัวเด็กไปทำอันตรายได้
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ตนเสนอว่าควรดำเนินการใน 2 ประเด็นควบคู่กับมาตรการดังกล่าว คือ 1. ควรมีการตั้งด่านตรวจในเวลากลางคืน นอกเหนือจากการตรวจแอลกอฮอล์ รถซิ่ง ซึ่งหากพบว่าเป็นเด็กตามที่ออกคำสั่งมาตำรวจก็ต้องสอบถามเป็นพิเศษ ซึ่งหากมีเหตุผลเพียงพอก็ปล่อยเด็กกลับบ้านไป แต่หากสังเกตพบว่ามีอาการมึนเมา หรือมีพิรุธ ก็ควรกักเด็กไว้ก่อนที่ด่านตรวจ จากนั้นค่อยเรียกผู้ปกครองมารับตัวกลับ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยปกป้องสังคมโดยรวมและตัวเด็กด้วย 2. ควรเพิ่มหน้าที่ของสายตรวจ นอกจากดูแลเรื่องเหตุด่วนเหตุร้ายแล้วก็ควรตรวจสถานที่อโคจรต่างๆ เช่นกัน ซึ่งหากพบว่ามีเด็กเข้าใช้บริการหลัง 4 ทุ่มแล้ว ก็ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสั่งปิดทันที ซึ่งที่ปล่อยกันมาจนทุกวันนี้เพราะการไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าหน้าตำรวจที่บางคนหรือไม่
**ผอ.มูลนิธิพิทักษ์สิทธิเด็กชี้ตร.ไร้กม.คุม
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า คำสั่งที่เกิดขึ้นนั้นตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดมาดำเนินการ ทั้งนี้การที่เด็กออกจากบ้านก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการไปกระทำความผิด ประเด็นจึงอยู่ที่สถานที่ที่เด็กไปมากกว่า ทั้งสถานบริการ ผับ เทค หรือร้านเกมส์ ไม่ว่าจะก่อน หรือ หลัง 4 ทุ่ม ปัจจุบันก็มีเด็กเข้าไปใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อตำรวจไม่มีอำนาจแล้วไปออกคำสั่งมาเช่นนี้เมื่อพบเจอเด็กที่ฝ่าฝืนจะจัดการอย่างไร ซึ่งที่บอกว่าจะมีการสอบถาม ซักประวัติ แล้วพาตัวไปโรงพักเพื่อรอผู้ปกครองมารับนั้นทำไม่ได้
“การออกคำสั่งเช่นนี้ทำให้ตำรวจทำงานลำบาก คือทุกวันนี้ภารกิจตำรวจก็ยุ่งอยู่แล้ว ซึ่งหากเจอเด็กตามท้องถนนก็ต้องเข้าไปสอบถามอีก วิธีการที่ง่ายที่สุดหากจะทำคือ 1.ส่งตำรวจมวลชนสัมพันธ์ไปทำงานร่วมกับโรงเรียน ครอบครัว ให้ร่วมกันพูดคุยหาแนวทางในการดูแลเด็ก เช่นเมื่อเด็กขาดเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ต้องรู้ว่าเด็กไปไหน 2. การจัดสายตรวจไปตรวจตามแหล่งที่เด็กชอบไป รวมตัวกัน มั่วสุมกัน ซึ่งจะง่ายกว่าการไปออกข้อกำหนดเสียอีก” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
** NGOเย้ย"บชน."ปัดฝุ่นกฎไดโนเสาร์
นายคำรณ ชูเดชา ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนเยาวชนพื่อการพัฒนา กล่าวว่า หากจะมีมาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ไม่ให้ออกจากบ้านหลังจาก 4 ทุ่มถือเป็นแนวคิดที่ล้าหลังมาก เป็นกฎในยุคไดโนเสาร์ แม้แต่ประเทศคอมมิวนิสต์ยังไม่ทำ ทางตำรวจต้องปรับวิธีคิดใหม่ไม่ใช่ห้ามคนทั่วไปไม่ให้ออกไปข้างนอก แนวทางที่ถูกต้องคือบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านอินเตอร์เน็ต ก็มีกฎหมายที่ชัดเจน แต่ที่ตำรวจไม่ไปบังคับใช้ เพราะกลัวจะไปขัดผลประโยชน์ใครหรือไม่ จึงเลี่ยงไปออกมาตรการห้ามเยาวชนกลับบ้านก่อน 4 ทุ่ม ซึ่งไม่ตรงจุดและต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณมากกว่า
“โดยหลักแล้วเยาวชนมีเสรีภาพจะเดินทางไปไหนได้ แต่มีบางสถานที่ที่จำกัดห้ามเข้า ตำรวจต้องไปควบคุมในจุดนั้น ไม่ใช่ควบคุมคนดีทั่วๆไปให้ถูกจำกัดเสรีภาพ เป็นเรื่องแปลกแสดงว่าคนดีอยู่บ้าน แต่โจรเดินถนนใช่หรือไม่ ถ้าเทียบแล้วการใช้กำลังห้ามเด็กเป็นล้านๆออกจากบ้านกับการใช้กำลังไปควบคุมจุดที่เยาวชนห้ามเข้าบางแห่งแบบไหนจะใช้คนและงบประมาณน้อยกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นผับ บาร์ ร้านอินเตอร์เน็ต”นายคำรณ กล่าว
**กสม.ออกโรงค้านชี้คาบเกี่ยว “เสรีภาพ-สวัสดิภาพ”
นางวิสา เบ็ญจะมะโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) อนุคณะกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก สตรี คนพิการและความเสมอภาคของบุคคล กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้มีความคาบเกี่ยวระหว่างเสรีภาพและสวัสดิภาพของเด็ก ที่ผ่านมาก็เคยมี ปว.294 ห้ามเด็กออกจากเคหะสถานหลังเวลา 22.00 น. ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเด็ก แต่ปัจจุบันสภาพสังคม เศรษฐกิจ เปลี่ยนไป เยาวชนหรือเด็กบางคนอาจมีความจำเป็นต้องออกจากเคหะสถาน หรือติดภารกิจทำให้ต้องออกจากบ้านหลังเวลาหรือยังอยู่ในระหว่างการเดินทางกลับบ้าน 22.00 น. หากเกิดการปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน อาจมีปัญหาตามมา ตรงนี้ยังไม่ตกผลึกจะต้องฟังจากหลายภาคๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และผู้ที่ทำงานด้านเด็ก พร้อมทั้งต้องดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กให้รอบคอบด้วย
“ไม่ใช่เด็กทุกคนจะปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม บางคนมีความจำเป็นหรือบางคนก็อาจมีผู้ปกครองอยู่ด้วย ดังนั้นควรจะมีความชัดเจนในการควบคุมซึ่งหากเด็กอายุที่ต่ำกว่า 18 ปี ทำผิดกฎหมาย ก็มีกฎหมายเฉพาะที่จะดำเนินการอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากตำรวจจะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวก็ควรมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กอยู่ด้วยเวลามีการจับกุมเด็กเพื่อเป็นการคุ้มครองเด็ก " นางวิสากล่าว
**“มาร์คย้ำแค่ข้ม ด็กเข้าร้านเน็ตตกลาง ดึก
วันเดียวกัน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่กองบังคับการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้กำชับเป็นพิเศษว่าไม่ควรให้เด็กและเยาวชนที่อายุไม่ถึง 18 ปีออกจากบ้านหลังเวลา 22 .00 น. โดยไม่เหตุอันควร ว่า ตนได้สอบถามไปแล้วว่า การใช้มาตรการอย่างไร ซึ่งทาง บช.น. ระบุว่า ไม่ได้เป็นการห้ามออกจากบ้าน เพียงแต่บางสถานที่ต้องมีการเข้มงวดกวดขัน เช่น การเข้าร้านอินเตอร์เน็ตในช่วงเวลากลางคืน แต่จะให้ปิดร้านอินเตอร์เน็ตนั้น คงทำไม่ได้ เพราะร้านเขามีบริการที่เป็นประโยชน์ด้วย
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. กล่าวถึงกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลังเวลา 22.00 น. มาบังคับใช้ ว่า มีความพยายามทุกทางในการนำเครื่องไม้เครื่องมือและกฎหมายที่มีอยู่นำมาบังใช้ใช้ เพื่อควบคุมอาชญากรรม ในส่วนของเด็กและเยาวชน เรามีกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว จึงได้นำมาใช้ โดยยืนยันว่าไม่ใช่เป็นนโยบายที่จะทำเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยาม ที่ผ่านมาไม่เคยมีการทำขนาดนี้มาก่อน สมัยนี้ต้องเริ่มเดินหน้า และเมื่อเดินหน้าแล้วก็ต้องทำให้เข้มข้นซึ่งเราต้องเอากฎหมายมาใช้ เพื่อให้เข็ด เพราะวัตถุประสงค์คือความสงบเรียบร้อย
**ดึงผู้ปกครองร่วมรับผิดชอบ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เรามีความเห็นร่วมกันมาตั้งแต่ต้นว่า สิ่งที่จะต้องช่วยกันก็คือ ป้องกันเยาวชนให้พ้นจากภัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของยาเสพติด ซึ่งผู้ปกครองก็ต้องร่วมมือกันด้วย และต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ซึ่งจะเริ่มต้นในพื้นที่กทม.ก่อน เนื่องจากมีปัญหามากแล้วค่อยขยายไปในต่างจังหวัดโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งวันนี้ในการประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจทั้งหลาย ก็จะได้มีการหารือในเรื่องนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในของขวัญ 9 ข้อ ที่รัฐบาลแจกให้ประชาชน เพราะล่าสุดมีการไล่ยิงกันบนทางด่วนหลังจากมีการขับรถปาดหน้ากัน นายสุเทพ กล่าวว่าในการประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ และตำรวจ ก็จะคุยกันในประเด็นนี้ด้วย ซึ่งนายกฯได้กำชับมาก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหายาเสพติด ตนก็จะพยายามให้เจ้าหน้าที่ทำงานกันอย่างเต็มที่
**อธิบดีกรมพินิจฯหนุนบช.น.เชื่อลดปัญหาได้
ด้าน นายธวัชชัย ไทยเขียว อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ว่า เห็นด้วยอย่างสำหรับกระบวนการห้ามเด็กออกจากบ้านหลังสี่ทุ่ม หากตำรวจไปเจอเด็กที่หนีเที่ยวหรือออกมาเตร็ดเตร่ โดยไม่มีเหตุผล จะนำตัวไปที่สถานีตำรวจ เพื่อเรียกให้พ่อแม่มารับตัว พร้อมสืบเสาะประวัติครอบครัว ก่อนปล่อยให้กลับบ้าน ไม่มีการประกันตัว ไม่ทำประวัติ และหากพบว่าเด็กไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ตำรวจอาจส่งเข้าโปรแกรมฟื้นฟูของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนเด็กที่ปล่อยให้กลับไปอยู่กับครอบครัว อาจมีโปรแกรมดูแลเด็กร่วมกับครอบครัวและโรงเรียน ส่วนกลุ่มเด็กที่ไม่เรียนหนังสือ ตำรวจอาจส่งต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
“ถ้าปล่อยกลุ่มเด็กเหล่านี้ไว้ตามยถากรรม อะไรจะเกิดขึ้น ก็หนีไม่พ้นวังวนของการทำผิดกฎหมาย ส่วนกลุ่มเด็กที่กลับจากเรียนพิเศษหรือเรียนภาคค่ำ หรือออกมาทำธุระให้พ่อแม่ ก็ให้แสดงหลักฐานยืนยันได้ เรื่องนี้ถ้าตำรวจจะทำ เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะไม่มีใครอยากทำ เนื่องจากจะวุ่นวายกับเจ้าหน้าที่มาก เมื่อมีคนมาช่วยดูแลอบรมบุตรหลาน พ่อแม่ควรดีใจ เป็นการใช้กฎหมายบังคับเพื่อคุ้มครองส่งเสริมสวัสดิภาพเด็ก"นายธวัชชัยกล่าว
**“อำนวย”ย้ำเคอร์ฟิว เด็กต่ำกว่า 18 ปี ส่งผลดี
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. กล่าวว่า มาตรการพิทักษ์ปกป้องเด็กและเยาวชน เพื่อรองรับนโยบายลดอาชญากรรม ร้อยละ 20 ภายใน 6 เดือนของรัฐบาลเป็นการดำเนินการเพื่อปกป้องและพิทักษ์เด็ก ไม่ใช่การละเมิดสิทธิ โดยไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากเคหสถานหลัง 22.00 น.โดยไม่มีเหตุอันควร เพราะอาจทำให้ถูกชักจูงไปในทางผิดกฎหมาย ซึ่งจะสอดรับกับช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ให้เยาวชนเข้าร้านเกมหลังเวลา 22.00 น. และเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ไม่สมควรไว้ หากพบว่าเด็กคนใดฝ่าฝืนมาตรการดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะนำตัวมาทำประวัติและเชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อรับทราบและเป็นกระชับพื้นที่ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งหากผู้ปกครองของเด็กคนใดถูกเชิญมาพบมากกว่า 1 ครั้ง แสดงว่าเป็นการยุยงส่งเสริมสนับสนุน หรือยินยอมโดยปริยาย ที่จะให้เด็กกระทำผิด มีโทษจำคุก 3 เดือนปรับ 2 หมื่นบาท
** ขู่จับร้านยาดอง-เหล้าปั่น ลักลอบขายผิด กม.
พล.ต.ต.อำนวยยังกล่าวถึงมาตรการทุบโหลยาดอง หรือมาตรการการห้ามจำหน่ายสุรา เหล้าปั่น และยาดอง โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทั้งที่มีใบอนุญาต แต่จำหน่ายเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดว่า จะมีการบังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 อย่างจริงจัง มุ่งเน้นสถานที่ลักลอบขายตามสถานีบริการปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ สถานพยาบาล หรือสถานศึกษา เป็นต้น หากพบว่าร้านค้าที่ให้บริการ หรือขาย หลังเวลาเที่ยงคืนไปแล้ว โดยเฉพาะร้านยาดอง เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมได้ทันที ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งอัตราโทษจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมาตรการนี้ จัดทำเพื่อเป็นการจัดระเบียบผู้ใหญ่ ลดปัญหาอาชญากรรมได้ด้วย
** “ครูหยุย” ติงคำสั่งเคอร์ฟิวโจ๋ไม่ชัดหวั่นสับสน
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ กล่าวถึงกรณีที่ตำรวจนครบาลจะใช้มาตรการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่นอกบ้านหลังเวลา 22.00 น. ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มุ่งคุ้มครองเด็กและเยาวชน ไม่ให้เด็กไปในที่จะมีผลกระทบในทางลบ แต่ตัวกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจถึงขั้นจับไปโรงพัก เพียงแต่สามารถเรียกตัวพ่อแม่ให้มารับได้ หากเด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เท่าที่ฟังฝ่ายตำรวจยังมีรูปแบบวิธีการปฏิบัติไม่ชัดเจน ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจมีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่แล้วนำตัวเด็กไปทำอันตรายได้
นายวัลลภ กล่าวอีกว่า ตนเสนอว่าควรดำเนินการใน 2 ประเด็นควบคู่กับมาตรการดังกล่าว คือ 1. ควรมีการตั้งด่านตรวจในเวลากลางคืน นอกเหนือจากการตรวจแอลกอฮอล์ รถซิ่ง ซึ่งหากพบว่าเป็นเด็กตามที่ออกคำสั่งมาตำรวจก็ต้องสอบถามเป็นพิเศษ ซึ่งหากมีเหตุผลเพียงพอก็ปล่อยเด็กกลับบ้านไป แต่หากสังเกตพบว่ามีอาการมึนเมา หรือมีพิรุธ ก็ควรกักเด็กไว้ก่อนที่ด่านตรวจ จากนั้นค่อยเรียกผู้ปกครองมารับตัวกลับ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยปกป้องสังคมโดยรวมและตัวเด็กด้วย 2. ควรเพิ่มหน้าที่ของสายตรวจ นอกจากดูแลเรื่องเหตุด่วนเหตุร้ายแล้วก็ควรตรวจสถานที่อโคจรต่างๆ เช่นกัน ซึ่งหากพบว่ามีเด็กเข้าใช้บริการหลัง 4 ทุ่มแล้ว ก็ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสั่งปิดทันที ซึ่งที่ปล่อยกันมาจนทุกวันนี้เพราะการไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าหน้าตำรวจที่บางคนหรือไม่
**ผอ.มูลนิธิพิทักษ์สิทธิเด็กชี้ตร.ไร้กม.คุม
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า คำสั่งที่เกิดขึ้นนั้นตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดมาดำเนินการ ทั้งนี้การที่เด็กออกจากบ้านก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการไปกระทำความผิด ประเด็นจึงอยู่ที่สถานที่ที่เด็กไปมากกว่า ทั้งสถานบริการ ผับ เทค หรือร้านเกมส์ ไม่ว่าจะก่อน หรือ หลัง 4 ทุ่ม ปัจจุบันก็มีเด็กเข้าไปใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อตำรวจไม่มีอำนาจแล้วไปออกคำสั่งมาเช่นนี้เมื่อพบเจอเด็กที่ฝ่าฝืนจะจัดการอย่างไร ซึ่งที่บอกว่าจะมีการสอบถาม ซักประวัติ แล้วพาตัวไปโรงพักเพื่อรอผู้ปกครองมารับนั้นทำไม่ได้
“การออกคำสั่งเช่นนี้ทำให้ตำรวจทำงานลำบาก คือทุกวันนี้ภารกิจตำรวจก็ยุ่งอยู่แล้ว ซึ่งหากเจอเด็กตามท้องถนนก็ต้องเข้าไปสอบถามอีก วิธีการที่ง่ายที่สุดหากจะทำคือ 1.ส่งตำรวจมวลชนสัมพันธ์ไปทำงานร่วมกับโรงเรียน ครอบครัว ให้ร่วมกันพูดคุยหาแนวทางในการดูแลเด็ก เช่นเมื่อเด็กขาดเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ต้องรู้ว่าเด็กไปไหน 2. การจัดสายตรวจไปตรวจตามแหล่งที่เด็กชอบไป รวมตัวกัน มั่วสุมกัน ซึ่งจะง่ายกว่าการไปออกข้อกำหนดเสียอีก” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว
** NGOเย้ย"บชน."ปัดฝุ่นกฎไดโนเสาร์
นายคำรณ ชูเดชา ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนเยาวชนพื่อการพัฒนา กล่าวว่า หากจะมีมาตรการห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ไม่ให้ออกจากบ้านหลังจาก 4 ทุ่มถือเป็นแนวคิดที่ล้าหลังมาก เป็นกฎในยุคไดโนเสาร์ แม้แต่ประเทศคอมมิวนิสต์ยังไม่ทำ ทางตำรวจต้องปรับวิธีคิดใหม่ไม่ใช่ห้ามคนทั่วไปไม่ให้ออกไปข้างนอก แนวทางที่ถูกต้องคือบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นสถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านอินเตอร์เน็ต ก็มีกฎหมายที่ชัดเจน แต่ที่ตำรวจไม่ไปบังคับใช้ เพราะกลัวจะไปขัดผลประโยชน์ใครหรือไม่ จึงเลี่ยงไปออกมาตรการห้ามเยาวชนกลับบ้านก่อน 4 ทุ่ม ซึ่งไม่ตรงจุดและต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณมากกว่า
“โดยหลักแล้วเยาวชนมีเสรีภาพจะเดินทางไปไหนได้ แต่มีบางสถานที่ที่จำกัดห้ามเข้า ตำรวจต้องไปควบคุมในจุดนั้น ไม่ใช่ควบคุมคนดีทั่วๆไปให้ถูกจำกัดเสรีภาพ เป็นเรื่องแปลกแสดงว่าคนดีอยู่บ้าน แต่โจรเดินถนนใช่หรือไม่ ถ้าเทียบแล้วการใช้กำลังห้ามเด็กเป็นล้านๆออกจากบ้านกับการใช้กำลังไปควบคุมจุดที่เยาวชนห้ามเข้าบางแห่งแบบไหนจะใช้คนและงบประมาณน้อยกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นผับ บาร์ ร้านอินเตอร์เน็ต”นายคำรณ กล่าว
**กสม.ออกโรงค้านชี้คาบเกี่ยว “เสรีภาพ-สวัสดิภาพ”
นางวิสา เบ็ญจะมะโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) อนุคณะกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก สตรี คนพิการและความเสมอภาคของบุคคล กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้มีความคาบเกี่ยวระหว่างเสรีภาพและสวัสดิภาพของเด็ก ที่ผ่านมาก็เคยมี ปว.294 ห้ามเด็กออกจากเคหะสถานหลังเวลา 22.00 น. ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเด็ก แต่ปัจจุบันสภาพสังคม เศรษฐกิจ เปลี่ยนไป เยาวชนหรือเด็กบางคนอาจมีความจำเป็นต้องออกจากเคหะสถาน หรือติดภารกิจทำให้ต้องออกจากบ้านหลังเวลาหรือยังอยู่ในระหว่างการเดินทางกลับบ้าน 22.00 น. หากเกิดการปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน อาจมีปัญหาตามมา ตรงนี้ยังไม่ตกผลึกจะต้องฟังจากหลายภาคๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และผู้ที่ทำงานด้านเด็ก พร้อมทั้งต้องดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กให้รอบคอบด้วย
“ไม่ใช่เด็กทุกคนจะปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม บางคนมีความจำเป็นหรือบางคนก็อาจมีผู้ปกครองอยู่ด้วย ดังนั้นควรจะมีความชัดเจนในการควบคุมซึ่งหากเด็กอายุที่ต่ำกว่า 18 ปี ทำผิดกฎหมาย ก็มีกฎหมายเฉพาะที่จะดำเนินการอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากตำรวจจะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวก็ควรมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กอยู่ด้วยเวลามีการจับกุมเด็กเพื่อเป็นการคุ้มครองเด็ก " นางวิสากล่าว
**“มาร์คย้ำแค่ข้ม ด็กเข้าร้านเน็ตตกลาง ดึก
วันเดียวกัน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่กองบังคับการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้กำชับเป็นพิเศษว่าไม่ควรให้เด็กและเยาวชนที่อายุไม่ถึง 18 ปีออกจากบ้านหลังเวลา 22 .00 น. โดยไม่เหตุอันควร ว่า ตนได้สอบถามไปแล้วว่า การใช้มาตรการอย่างไร ซึ่งทาง บช.น. ระบุว่า ไม่ได้เป็นการห้ามออกจากบ้าน เพียงแต่บางสถานที่ต้องมีการเข้มงวดกวดขัน เช่น การเข้าร้านอินเตอร์เน็ตในช่วงเวลากลางคืน แต่จะให้ปิดร้านอินเตอร์เน็ตนั้น คงทำไม่ได้ เพราะร้านเขามีบริการที่เป็นประโยชน์ด้วย
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. กล่าวถึงกรณีที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล เตรียมนำกฎหมายห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากบ้านหลังเวลา 22.00 น. มาบังคับใช้ ว่า มีความพยายามทุกทางในการนำเครื่องไม้เครื่องมือและกฎหมายที่มีอยู่นำมาบังใช้ใช้ เพื่อควบคุมอาชญากรรม ในส่วนของเด็กและเยาวชน เรามีกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว จึงได้นำมาใช้ โดยยืนยันว่าไม่ใช่เป็นนโยบายที่จะทำเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยาม ที่ผ่านมาไม่เคยมีการทำขนาดนี้มาก่อน สมัยนี้ต้องเริ่มเดินหน้า และเมื่อเดินหน้าแล้วก็ต้องทำให้เข้มข้นซึ่งเราต้องเอากฎหมายมาใช้ เพื่อให้เข็ด เพราะวัตถุประสงค์คือความสงบเรียบร้อย
**ดึงผู้ปกครองร่วมรับผิดชอบ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เรามีความเห็นร่วมกันมาตั้งแต่ต้นว่า สิ่งที่จะต้องช่วยกันก็คือ ป้องกันเยาวชนให้พ้นจากภัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของยาเสพติด ซึ่งผู้ปกครองก็ต้องร่วมมือกันด้วย และต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ซึ่งจะเริ่มต้นในพื้นที่กทม.ก่อน เนื่องจากมีปัญหามากแล้วค่อยขยายไปในต่างจังหวัดโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งวันนี้ในการประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจทั้งหลาย ก็จะได้มีการหารือในเรื่องนี้ด้วย
ผู้สื่อข่าวถามถึงปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในของขวัญ 9 ข้อ ที่รัฐบาลแจกให้ประชาชน เพราะล่าสุดมีการไล่ยิงกันบนทางด่วนหลังจากมีการขับรถปาดหน้ากัน นายสุเทพ กล่าวว่าในการประชุมร่วมกับผู้ว่าฯ และตำรวจ ก็จะคุยกันในประเด็นนี้ด้วย ซึ่งนายกฯได้กำชับมาก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปัญหายาเสพติด ตนก็จะพยายามให้เจ้าหน้าที่ทำงานกันอย่างเต็มที่
**อธิบดีกรมพินิจฯหนุนบช.น.เชื่อลดปัญหาได้
ด้าน นายธวัชชัย ไทยเขียว อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ว่า เห็นด้วยอย่างสำหรับกระบวนการห้ามเด็กออกจากบ้านหลังสี่ทุ่ม หากตำรวจไปเจอเด็กที่หนีเที่ยวหรือออกมาเตร็ดเตร่ โดยไม่มีเหตุผล จะนำตัวไปที่สถานีตำรวจ เพื่อเรียกให้พ่อแม่มารับตัว พร้อมสืบเสาะประวัติครอบครัว ก่อนปล่อยให้กลับบ้าน ไม่มีการประกันตัว ไม่ทำประวัติ และหากพบว่าเด็กไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ตำรวจอาจส่งเข้าโปรแกรมฟื้นฟูของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนเด็กที่ปล่อยให้กลับไปอยู่กับครอบครัว อาจมีโปรแกรมดูแลเด็กร่วมกับครอบครัวและโรงเรียน ส่วนกลุ่มเด็กที่ไม่เรียนหนังสือ ตำรวจอาจส่งต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
“ถ้าปล่อยกลุ่มเด็กเหล่านี้ไว้ตามยถากรรม อะไรจะเกิดขึ้น ก็หนีไม่พ้นวังวนของการทำผิดกฎหมาย ส่วนกลุ่มเด็กที่กลับจากเรียนพิเศษหรือเรียนภาคค่ำ หรือออกมาทำธุระให้พ่อแม่ ก็ให้แสดงหลักฐานยืนยันได้ เรื่องนี้ถ้าตำรวจจะทำ เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะไม่มีใครอยากทำ เนื่องจากจะวุ่นวายกับเจ้าหน้าที่มาก เมื่อมีคนมาช่วยดูแลอบรมบุตรหลาน พ่อแม่ควรดีใจ เป็นการใช้กฎหมายบังคับเพื่อคุ้มครองส่งเสริมสวัสดิภาพเด็ก"นายธวัชชัยกล่าว
**“อำนวย”ย้ำเคอร์ฟิว เด็กต่ำกว่า 18 ปี ส่งผลดี
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. กล่าวว่า มาตรการพิทักษ์ปกป้องเด็กและเยาวชน เพื่อรองรับนโยบายลดอาชญากรรม ร้อยละ 20 ภายใน 6 เดือนของรัฐบาลเป็นการดำเนินการเพื่อปกป้องและพิทักษ์เด็ก ไม่ใช่การละเมิดสิทธิ โดยไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกจากเคหสถานหลัง 22.00 น.โดยไม่มีเหตุอันควร เพราะอาจทำให้ถูกชักจูงไปในทางผิดกฎหมาย ซึ่งจะสอดรับกับช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ให้เยาวชนเข้าร้านเกมหลังเวลา 22.00 น. และเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ไม่สมควรไว้ หากพบว่าเด็กคนใดฝ่าฝืนมาตรการดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะนำตัวมาทำประวัติและเชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อรับทราบและเป็นกระชับพื้นที่ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งหากผู้ปกครองของเด็กคนใดถูกเชิญมาพบมากกว่า 1 ครั้ง แสดงว่าเป็นการยุยงส่งเสริมสนับสนุน หรือยินยอมโดยปริยาย ที่จะให้เด็กกระทำผิด มีโทษจำคุก 3 เดือนปรับ 2 หมื่นบาท
** ขู่จับร้านยาดอง-เหล้าปั่น ลักลอบขายผิด กม.
พล.ต.ต.อำนวยยังกล่าวถึงมาตรการทุบโหลยาดอง หรือมาตรการการห้ามจำหน่ายสุรา เหล้าปั่น และยาดอง โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทั้งที่มีใบอนุญาต แต่จำหน่ายเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดว่า จะมีการบังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 อย่างจริงจัง มุ่งเน้นสถานที่ลักลอบขายตามสถานีบริการปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ สถานพยาบาล หรือสถานศึกษา เป็นต้น หากพบว่าร้านค้าที่ให้บริการ หรือขาย หลังเวลาเที่ยงคืนไปแล้ว โดยเฉพาะร้านยาดอง เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมได้ทันที ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งอัตราโทษจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมาตรการนี้ จัดทำเพื่อเป็นการจัดระเบียบผู้ใหญ่ ลดปัญหาอาชญากรรมได้ด้วย