ครูมวยไทย หวัง วธ.ช่วยดันเป็นศิลปินแห่งชาติ เผย มวยไทยเป็นศิลปะป้องกันตัว ไม่ใช่มวยโชว์ ด้านอธิการบดี สบศ.แนะ ครูภูมิปัญญาอยู่ยั่งยืนได้ต้องเก็บรวบรวมองค์ความรู้จัดทำเป็นหลักสูตร
จากการที่ นายมนัส ปานขาว ครูภูมิปัญญาไทย ในฐานะปราชญ์ชาวบ้านด้านความเชื่อท้องถิ่น ออกมาเปิดเผยเนื่องในโอกาสวันที่ 16 มกราคม ที่จะถึงนี้เป็นวันครูแห่งชาติ ว่า ครูภูมิปัญญาถูกลืมจากระบบของคำว่า ครู โดยเฉพาะหน่วยงานราชการไม่ได้ให้ความสำคัญกับครูภูมิปัญญาเท่าใดนัก จนทำให้ครูภูมิปัญญาหลากหลายสาขาออกมาเรียกร้องให้สังคมไทยเห็นคุณค่าของครูภูมิปัญญา แม้แต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงห่วงใยครูสอนควาย และการสอนไถนา จนมีการตั้งเป็นโรงเรียนสอนอย่างเป็นทางการที่จังหวัดสระแก้วนั้น ความคืบหน้าปัญหาครูภูมิปัญญาไทย
วันนี้ (14 ม.ค.)นายกฤดากร สดประเสริฐ ครูมวยไทย สายมวยไชยา อายุ 54 ปี บ้านช่างไทย เอกมัย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ครูภูมิปัญญามวยไทย โดยเฉพาะสายมวยไชยา ไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเท่าใดนัก แม้แต่ผู้ใหญ่ในวงการมวย ยังบอกว่า มวยไชยา เป็นแค่มวยโชว์ มวยแสดงให้นักท่องเที่ยวชมเท่านั้น ซึ่งตนบอกได้เลยว่า มวยไทย หรือมวยไชยา ไม่ใช่มวยโชว์อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ป้องกันตัว และปกป้องบ้านเมือง เช่น จะมีท่าทางป้องกันอย่างไรไม่ให้คู่ต่อสู้ชกเราได้ จะเตะอย่างไรให้คู่ต่อสู้เจ็บ หากคนไทยรู้ว่ามวยไทย มีประโยชน์เช่นไร ก็คงไม่ส่งลูกหลานไปเรียนเทควันโด เพราะคนไทยเข้าใจว่า มวยไทย เป็นมวยที่ต่อยกันในทีวีหน้าตาบวมปูด จึงไม่อยากให้ลูกหลานเรียน ทำให้ครูภูมิปัญญาด้านนี้ถูกลืมจากสายตาคนไทย
“มวยที่ต่อยทุกวันนี้ในทีวี ทำเป็นธุรกิจ ทำเป็นการพนัน ไม่ได้สอนศิลปะการป้องกันตัวอย่างแท้จริงจนเพี้ยนไปหมดไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการป้องกันคู่ต่อสู้ ซึ่งคือลักษณะของมวยไทยจริงๆ แต่เวทีมวยไทยจริงๆ ทุกวันนี้ในบ้านเรากลับไม่มีไม่ได้รับการส่งเสริมให้คนได้เรียนรู้ ในทางกลับกันชาวต่างชาติกลับให้ความสนใจมวยไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการศึกษาศิลปะการต่อสู้ ท่วงท่าการป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้ทำร้ายเราได้ควรทำอย่างไร ตรงนี้ชาวต่างประเทศให้ความสนใจมาก มากกว่าคนไทยหลายเท่า นอกจากนี้ ครูมวยไทยหลายท่านได้เสียชีวิตไปแล้วโดยไม่ได้รับการเหลียวแลจากสังคมและภาครัฐ เช่น ครูเขต อภัยวงศ์ ครูทองหล่อ ยาแระ อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้กระทรวงวัฒนธรรมมีการผลักดันให้ครูมวยไทยที่มีความรู้จริงๆ ให้ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ เพื่อให้ครูด้านนี้มีกำลังใจทำงาน เพราะที่ผ่านมาครูมวยไทยยังไม่เคยมีใครได้เป็นศิลปินแห่งชาติเลย” ครูมวยไชยา กล่าว
สิบเอก สมนึก ไตรสุทธิ ครูมวยไทย สายมวยลพบุรี กล่าวว่า มีครูมวยไทย ที่เก่งๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่อุทิศตัวให้แก่สังคม แต่ก็ต้องอยู่อย่างอดอยาก ที่ต้องบอกอย่างนี้ เพราะครูภูมิปัญญามวยไทย ไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีกระแสทีก็ทำที แบบไฟไหม้ฟาง ซึ่งควรส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนมากกว่านี้ ในขณะเดียวกันทุกวันนี้ องค์ความรู้ด้านมวยไทย ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบธุรกิจ ทำให้ความรู้ด้านมวยไทยจริงๆ มีอยู่เพียง 25% อีก 75% เรียกว่า มวยอะไรไม่รู้ ซึ่งประเทศไทยเน้นกอบโกยเอาภูมิปัญญามาทำให้เกิดผลประโยชน์แต่การนำความรู้จริงๆ มาถ่ายทอดให้คนไทยรู้จักจริงๆ กลับไม่มีการทำ ทุกวันนี้ตนก็เป็นอาจารย์สอนอยู่ตามมหาวิทยาลัย แต่ตามโรงเรียนไม่ได้สอนแล้ว เพราะเจอปัญหาหัวหน้าสถานศึกษาออกคำสั่งให้สอนอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่ได้รู้ว่า มวยไทยจริงๆ ต้องสอนอย่างไร
ด้านนายกมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) กล่าวว่า การทำให้ครูภูมิปัญญาไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืน หน่วยงานราชการจะต้องเก็บรวบรวมองค์ความรู้ของครูเหล่านี้มาจัดทำเป็นหลักสูตร หรือหนังสือเผยแพร่ความรู้ให้แก่ครู เนื่องจากครูส่วนใหญ่จะอายุค่อนข้างมากแล้ว ในขณะเดียวกัน ทางวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กำลังดำเนินการบรรจุครูภูมิปัญญาไทย ให้เป็นพนักงานราชการของวิทยาลัย เพื่อยกย่องครู รวมทั้งดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้ครู และส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดความรู้ที่มีสู่เยาวชนรุ่นใหม่ด้วย นอกจากนี้ สบศ.ยังได้ส่งเสริมให้ครูภูมิปัญญาไทยเข้ามามีบทบาทถ่ายทอดความรู้ในวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยช่างศิลป ทุกภูมิภาคด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องการครูภูมิปัญญาเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ละแห่งควรทำให้ครูภูมิปัญญาไทยเป็นที่รู้จักของสังคม และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ไม่ใช่พอหมดงบประมาณทีก็เลิกจ้างครู เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
จากการที่ นายมนัส ปานขาว ครูภูมิปัญญาไทย ในฐานะปราชญ์ชาวบ้านด้านความเชื่อท้องถิ่น ออกมาเปิดเผยเนื่องในโอกาสวันที่ 16 มกราคม ที่จะถึงนี้เป็นวันครูแห่งชาติ ว่า ครูภูมิปัญญาถูกลืมจากระบบของคำว่า ครู โดยเฉพาะหน่วยงานราชการไม่ได้ให้ความสำคัญกับครูภูมิปัญญาเท่าใดนัก จนทำให้ครูภูมิปัญญาหลากหลายสาขาออกมาเรียกร้องให้สังคมไทยเห็นคุณค่าของครูภูมิปัญญา แม้แต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงห่วงใยครูสอนควาย และการสอนไถนา จนมีการตั้งเป็นโรงเรียนสอนอย่างเป็นทางการที่จังหวัดสระแก้วนั้น ความคืบหน้าปัญหาครูภูมิปัญญาไทย
วันนี้ (14 ม.ค.)นายกฤดากร สดประเสริฐ ครูมวยไทย สายมวยไชยา อายุ 54 ปี บ้านช่างไทย เอกมัย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ครูภูมิปัญญามวยไทย โดยเฉพาะสายมวยไชยา ไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเท่าใดนัก แม้แต่ผู้ใหญ่ในวงการมวย ยังบอกว่า มวยไชยา เป็นแค่มวยโชว์ มวยแสดงให้นักท่องเที่ยวชมเท่านั้น ซึ่งตนบอกได้เลยว่า มวยไทย หรือมวยไชยา ไม่ใช่มวยโชว์อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ป้องกันตัว และปกป้องบ้านเมือง เช่น จะมีท่าทางป้องกันอย่างไรไม่ให้คู่ต่อสู้ชกเราได้ จะเตะอย่างไรให้คู่ต่อสู้เจ็บ หากคนไทยรู้ว่ามวยไทย มีประโยชน์เช่นไร ก็คงไม่ส่งลูกหลานไปเรียนเทควันโด เพราะคนไทยเข้าใจว่า มวยไทย เป็นมวยที่ต่อยกันในทีวีหน้าตาบวมปูด จึงไม่อยากให้ลูกหลานเรียน ทำให้ครูภูมิปัญญาด้านนี้ถูกลืมจากสายตาคนไทย
“มวยที่ต่อยทุกวันนี้ในทีวี ทำเป็นธุรกิจ ทำเป็นการพนัน ไม่ได้สอนศิลปะการป้องกันตัวอย่างแท้จริงจนเพี้ยนไปหมดไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการป้องกันคู่ต่อสู้ ซึ่งคือลักษณะของมวยไทยจริงๆ แต่เวทีมวยไทยจริงๆ ทุกวันนี้ในบ้านเรากลับไม่มีไม่ได้รับการส่งเสริมให้คนได้เรียนรู้ ในทางกลับกันชาวต่างชาติกลับให้ความสนใจมวยไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการศึกษาศิลปะการต่อสู้ ท่วงท่าการป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้ทำร้ายเราได้ควรทำอย่างไร ตรงนี้ชาวต่างประเทศให้ความสนใจมาก มากกว่าคนไทยหลายเท่า นอกจากนี้ ครูมวยไทยหลายท่านได้เสียชีวิตไปแล้วโดยไม่ได้รับการเหลียวแลจากสังคมและภาครัฐ เช่น ครูเขต อภัยวงศ์ ครูทองหล่อ ยาแระ อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้กระทรวงวัฒนธรรมมีการผลักดันให้ครูมวยไทยที่มีความรู้จริงๆ ให้ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ เพื่อให้ครูด้านนี้มีกำลังใจทำงาน เพราะที่ผ่านมาครูมวยไทยยังไม่เคยมีใครได้เป็นศิลปินแห่งชาติเลย” ครูมวยไชยา กล่าว
สิบเอก สมนึก ไตรสุทธิ ครูมวยไทย สายมวยลพบุรี กล่าวว่า มีครูมวยไทย ที่เก่งๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่อุทิศตัวให้แก่สังคม แต่ก็ต้องอยู่อย่างอดอยาก ที่ต้องบอกอย่างนี้ เพราะครูภูมิปัญญามวยไทย ไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีกระแสทีก็ทำที แบบไฟไหม้ฟาง ซึ่งควรส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนมากกว่านี้ ในขณะเดียวกันทุกวันนี้ องค์ความรู้ด้านมวยไทย ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบธุรกิจ ทำให้ความรู้ด้านมวยไทยจริงๆ มีอยู่เพียง 25% อีก 75% เรียกว่า มวยอะไรไม่รู้ ซึ่งประเทศไทยเน้นกอบโกยเอาภูมิปัญญามาทำให้เกิดผลประโยชน์แต่การนำความรู้จริงๆ มาถ่ายทอดให้คนไทยรู้จักจริงๆ กลับไม่มีการทำ ทุกวันนี้ตนก็เป็นอาจารย์สอนอยู่ตามมหาวิทยาลัย แต่ตามโรงเรียนไม่ได้สอนแล้ว เพราะเจอปัญหาหัวหน้าสถานศึกษาออกคำสั่งให้สอนอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่ได้รู้ว่า มวยไทยจริงๆ ต้องสอนอย่างไร
ด้านนายกมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) กล่าวว่า การทำให้ครูภูมิปัญญาไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืน หน่วยงานราชการจะต้องเก็บรวบรวมองค์ความรู้ของครูเหล่านี้มาจัดทำเป็นหลักสูตร หรือหนังสือเผยแพร่ความรู้ให้แก่ครู เนื่องจากครูส่วนใหญ่จะอายุค่อนข้างมากแล้ว ในขณะเดียวกัน ทางวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กำลังดำเนินการบรรจุครูภูมิปัญญาไทย ให้เป็นพนักงานราชการของวิทยาลัย เพื่อยกย่องครู รวมทั้งดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้ครู และส่งเสริมให้ครูได้ถ่ายทอดความรู้ที่มีสู่เยาวชนรุ่นใหม่ด้วย นอกจากนี้ สบศ.ยังได้ส่งเสริมให้ครูภูมิปัญญาไทยเข้ามามีบทบาทถ่ายทอดความรู้ในวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยช่างศิลป ทุกภูมิภาคด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องการครูภูมิปัญญาเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ละแห่งควรทำให้ครูภูมิปัญญาไทยเป็นที่รู้จักของสังคม และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ไม่ใช่พอหมดงบประมาณทีก็เลิกจ้างครู เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง