อย.จับอีกยาเถื่อนย่านพัฒนพงษ์ รวมกว่า 3 ล้านบาท เผยมีทั้ง “ยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ-เสริมกล้ามเนื้อ-ยาแก้ปวดผสมโคเดอีน-ยาลดอ้วน” พบนิยมใช้ทั้งไทยและเทศ แฉผู้ต้องหาใช้ กทม.เป็นพื้นที่ผ่านแดนส่งขายต่อประเทศเพื่อนบ้าน
วันนี้ (13 ม.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ พ.ต.อ. ทนัย อภิชาติเสนี รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (รอง ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวการขายยาผิดกฎหมาย
โดย นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากการที่ อย.ได้ประสานไปยังตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ขอหมายค้นของศาลแขวงกรุงเทพใต้ที่ 2/2554 ลงวันที่ 7 ม.ค.2554 เข้าตรวจค้นร้านขายยา บอดี้ ดีไซน์ ตั้งอยู่ที่ 35/2 ถ.สุรวงศ์ แขวงสุรวงศ์ เขตบางรัก กทม.จากนั้นได้ทำการล่อซื้อยาจากสถานที่ดังกล่าว พบยาปลอมและยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ 1.ยากลุ่มที่ใช้รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น ไวอะกร้า (Viagra) ปลอม ยาสูตรพิเศษใหม่ คามากร้าปลอม และคามากร้ารูปแบบพิเศษ ชนิดเม็ดฟู่และเจลลี (jelly) เซียอะลิส (Cialis) 2.ยากลุ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ลักลอบใช้กับกลุ่มนักกีฬา (อะนาบอลิก สเตียรอยด์) เช่น สตาร์โนโซลอล (stanozolol) แนนโดโลน (nandrolone) โบลดีโนน (boldenone)
“ยากลุ่มที่ 2 นั้น มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย คือ ทำให้เลือดในร่างกายมีความขั้น หนืด หัวใจทำงานหนัก ถ้าใช้ในเพศหญิงจะทำให้มีการกรากฏลักษณะทางเพศชายมากขึ้น ส่วนหากใช้ในเพศชายมีผลในด้านการลดเสปิร์ม เป็นผลร้ายต่อสุขภาพ” นายจุรินทร์ กล่าว
รมว.สธ.กล่าวด้วยว่า 3.ยาลดความอ้วน ไซบูตรามีน (sibutramine) ซึ่งใช้ควบคู่กับยาขยายหลอดลมและยารักษาโรคไทรอยด์เพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจึงทำให้นำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว 4.ยาฉีดสำหรับทำให้ผิวขาว กลูตาไธโอน (glutathione) 5.ยาเสริมสร้างกล้ามเนื้อม้า แต่นำมาใช้ฉีดในคน เช่น วีโบลเด็กซ์ (veboldex) และ6.กลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 3 ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้แก่ ยาแก้ปวดผสมโคเดอีน และ 7.ยาฮอร์โมนเพศชายชนิดฉีด เช่น เทสโทสเตอโรน (testosterone) ซึ่งยาทั้งหมดที่จับได้รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท
รมว.สธ.กล่าวต่อว่า การจำหน่ายยาผิดกฎหมายดังกล่าวอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งทำให้เสียภาพลักษณ์ของประเทศไทย อย.จึงมีมาตรการจะตรวจเข้มกับแหล่งที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายในแหล่งท่องเที่ยวเป็นพิเศษ เพื่อมิให้ประเทศไทยเสื่อมเสียชื่อเสียงกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งในกรณีนี้ได้แจ้งข้อหาขายยาโดยไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และขายยาปลอม (จะแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเมื่อได้รับการตรวจสอบและการยืนยันจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ในภายหลัง) มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท” นายจุรินทร์ กล่าว นอกจากนี้ จากการที่ อย. ได้ตรวจสอบพบการโฆษณาขายยา “ไซโตเทค” เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปใช้ทำแท้ง ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ จึงได้ประสานงานกับตำรวจ บก.ปคบ.ในการล่อซื้อยาดังกล่าว ทางเว็บไซต์ www.in-cm.com อีกด้วย
ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการฯ อย.กล่าวว่า สำหรับยากลุ่มแรกคือ ยาจำพวกรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นยาที่ได้รับความนิยมทั้งกลุ่มชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่วนยากลุ่มที่ 2 นั้นมักพบในกลุ่มชาวไทยส่วนใหญ่ โดยใช้เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
พ.ต.อ.ทนัย อภิชาติเสนี รอง ผบก.ปคบ.กล่าวว่า ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ถูกนำเข้าทั้งโดยชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งมีการใช้หลายช่องทาง บางครั้งใช้ช่องทางสุวรรณภูมิ หรือบางรายนำเข้าผ่านแนวชายแดน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ต้องหาบางรายมักใช้ กทม.เป็นพื้นที่ผ่านแดน ก่อนส่งออกไปขายให้กลุ่มนักท่องเที่ยวในต่างประเทศ
วันนี้ (13 ม.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ พ.ต.อ. ทนัย อภิชาติเสนี รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (รอง ผบก.ปคบ.) ร่วมกันแถลงข่าวการขายยาผิดกฎหมาย
โดย นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากการที่ อย.ได้ประสานไปยังตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ขอหมายค้นของศาลแขวงกรุงเทพใต้ที่ 2/2554 ลงวันที่ 7 ม.ค.2554 เข้าตรวจค้นร้านขายยา บอดี้ ดีไซน์ ตั้งอยู่ที่ 35/2 ถ.สุรวงศ์ แขวงสุรวงศ์ เขตบางรัก กทม.จากนั้นได้ทำการล่อซื้อยาจากสถานที่ดังกล่าว พบยาปลอมและยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ 1.ยากลุ่มที่ใช้รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น ไวอะกร้า (Viagra) ปลอม ยาสูตรพิเศษใหม่ คามากร้าปลอม และคามากร้ารูปแบบพิเศษ ชนิดเม็ดฟู่และเจลลี (jelly) เซียอะลิส (Cialis) 2.ยากลุ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ลักลอบใช้กับกลุ่มนักกีฬา (อะนาบอลิก สเตียรอยด์) เช่น สตาร์โนโซลอล (stanozolol) แนนโดโลน (nandrolone) โบลดีโนน (boldenone)
“ยากลุ่มที่ 2 นั้น มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย คือ ทำให้เลือดในร่างกายมีความขั้น หนืด หัวใจทำงานหนัก ถ้าใช้ในเพศหญิงจะทำให้มีการกรากฏลักษณะทางเพศชายมากขึ้น ส่วนหากใช้ในเพศชายมีผลในด้านการลดเสปิร์ม เป็นผลร้ายต่อสุขภาพ” นายจุรินทร์ กล่าว
รมว.สธ.กล่าวด้วยว่า 3.ยาลดความอ้วน ไซบูตรามีน (sibutramine) ซึ่งใช้ควบคู่กับยาขยายหลอดลมและยารักษาโรคไทรอยด์เพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจึงทำให้นำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว 4.ยาฉีดสำหรับทำให้ผิวขาว กลูตาไธโอน (glutathione) 5.ยาเสริมสร้างกล้ามเนื้อม้า แต่นำมาใช้ฉีดในคน เช่น วีโบลเด็กซ์ (veboldex) และ6.กลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 3 ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้แก่ ยาแก้ปวดผสมโคเดอีน และ 7.ยาฮอร์โมนเพศชายชนิดฉีด เช่น เทสโทสเตอโรน (testosterone) ซึ่งยาทั้งหมดที่จับได้รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท
รมว.สธ.กล่าวต่อว่า การจำหน่ายยาผิดกฎหมายดังกล่าวอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งทำให้เสียภาพลักษณ์ของประเทศไทย อย.จึงมีมาตรการจะตรวจเข้มกับแหล่งที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายในแหล่งท่องเที่ยวเป็นพิเศษ เพื่อมิให้ประเทศไทยเสื่อมเสียชื่อเสียงกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งในกรณีนี้ได้แจ้งข้อหาขายยาโดยไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และขายยาปลอม (จะแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเมื่อได้รับการตรวจสอบและการยืนยันจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ในภายหลัง) มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 10,000 บาท” นายจุรินทร์ กล่าว นอกจากนี้ จากการที่ อย. ได้ตรวจสอบพบการโฆษณาขายยา “ไซโตเทค” เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปใช้ทำแท้ง ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ จึงได้ประสานงานกับตำรวจ บก.ปคบ.ในการล่อซื้อยาดังกล่าว ทางเว็บไซต์ www.in-cm.com อีกด้วย
ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการฯ อย.กล่าวว่า สำหรับยากลุ่มแรกคือ ยาจำพวกรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นยาที่ได้รับความนิยมทั้งกลุ่มชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่วนยากลุ่มที่ 2 นั้นมักพบในกลุ่มชาวไทยส่วนใหญ่ โดยใช้เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
พ.ต.อ.ทนัย อภิชาติเสนี รอง ผบก.ปคบ.กล่าวว่า ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ถูกนำเข้าทั้งโดยชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งมีการใช้หลายช่องทาง บางครั้งใช้ช่องทางสุวรรณภูมิ หรือบางรายนำเข้าผ่านแนวชายแดน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ต้องหาบางรายมักใช้ กทม.เป็นพื้นที่ผ่านแดน ก่อนส่งออกไปขายให้กลุ่มนักท่องเที่ยวในต่างประเทศ