แย้มไทยเข้มแข็งเดินหน้าต่อ ส่วนที่เหลืออีก 58 รายการ อยู่ระหว่าง อี-ออกชัน ปัดไม่มีฮั้วกัน
หลังจากสำนักงบประมาณอนุมัติวงเงินก่อสร้างโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจใหม่วงเงิน 11,508 ล้านบาท ภายหลังพบวงเงินเดิมที่ สธ.อนุมัติให้พื้นที่แต่ละจังหวัดไปดำเนินการเจรจากับผู้รับเหมามีงบประมาณสูงเกินไป โดยเฉพาะอาคารพักพยาบาลที่เดิมตั้งงบประมาณสูงถึง 8.6 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณกำหนดเหลือที่ระหว่าง 7.2-7.6 ล้านบาท ทำให้พื้นที่ต่างๆ ต้องไปเจรจากับผู้รับเหมาเพื่อเปิดประมูลใหม่อีกครั้งให้ได้วงเงินตามกำหนดนั้น
วานนี้ (11 ม.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่ที่สามารถต่อรองได้ตามราคาที่กำหนดเกือบ 100% เหลืออีกประมาณร้อยละ 2 หรือประมาณ 58 รายการที่ยังไม่สามารถต่อรองราคาได้ ซึ่งมีทั้งอาคารพักพยาบาล 24 ห้อง อาคารพักพยาบาล 20 ห้อง บ้านพักข้าราชการระดับ 5-6 หอพักผู้ป่วยนอก หอพักผู้ป่วยใน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการประมูลรอบสอง หากไม่สามารถดำเนินการได้จริงๆ ก็จะให้ใช้วิธีพิเศษแทน แต่เชื่อว่า ไม่น่ามีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่เสี่ยงภัยอย่าง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล่าสุด จ.ปัตตานี สามารถต่อรองราคาและประมูลใหม่ได้แล้ว เหลือเพียง 4 จังหวัด คือ อ.จะนะ สงขลา สตูล ยะลา และนราธิวาส ซึ่งจำเป็นต้องเจรจากับสำนักงบประมาณเพื่อขอใช้งบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ซึ่งเป็นงบเดิมที่ให้อยู่แล้ว ไม่ได้ขอใหม่แต่อย่างใด
“เดิม ครม.อนุมัติงบการก่อสร้างในโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ทั้งหมดกว่า 8 พันล้านบาท แต่สำนักงบประมาณให้ประมาณ 7 พันกว่าล้านบาท โดยเก็บไว้อีกราว 500 ล้านบาท เพื่อกันไว้หากสามารถต่อรองราคาได้ต่ำ แต่เมื่อดำเนินการตามงบฯเหล่านี้ไม่ได้ก็สามารถใช้งบที่เก็บไว้ก้อนนี้ ซึ่งไม่ผิดระเบียบอะไร อย่างไรก็ตาม รวมงบประมาณทั้งหมดที่ยังไม่ได้ใช้อีกเพียง 200-300 ล้านบาทเท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลว่า โครงการไทยเข้มแข็งจะสะดุด ซึ่ง สธ.ถือว่าทำงานเรื่องนี้ได้ดีและรวดเร็วแล้ว โดยหากไม่สามารถดำเนินการได้ทันวันที่ 15 มกราคมก็คงต้องขยายเวลา แต่เชื่อว่า ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะเหลือไม่กี่รายการเท่านั้น” นพ.พรเทพ กล่าว
แหล่งข่าวจาก สธ.กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ตราด ชุมพร ตรัง กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สตูล นราธิวาส ยะลา นอกนั้นอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ อ่างทอง ลพบุรี เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ไม่สามารถต่อรองกับผู้รับเหมา โดยอ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยนั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง
หลังจากสำนักงบประมาณอนุมัติวงเงินก่อสร้างโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในส่วนของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจใหม่วงเงิน 11,508 ล้านบาท ภายหลังพบวงเงินเดิมที่ สธ.อนุมัติให้พื้นที่แต่ละจังหวัดไปดำเนินการเจรจากับผู้รับเหมามีงบประมาณสูงเกินไป โดยเฉพาะอาคารพักพยาบาลที่เดิมตั้งงบประมาณสูงถึง 8.6 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณกำหนดเหลือที่ระหว่าง 7.2-7.6 ล้านบาท ทำให้พื้นที่ต่างๆ ต้องไปเจรจากับผู้รับเหมาเพื่อเปิดประมูลใหม่อีกครั้งให้ได้วงเงินตามกำหนดนั้น
วานนี้ (11 ม.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัด สธ.กล่าวว่า ขณะนี้มีพื้นที่ที่สามารถต่อรองได้ตามราคาที่กำหนดเกือบ 100% เหลืออีกประมาณร้อยละ 2 หรือประมาณ 58 รายการที่ยังไม่สามารถต่อรองราคาได้ ซึ่งมีทั้งอาคารพักพยาบาล 24 ห้อง อาคารพักพยาบาล 20 ห้อง บ้านพักข้าราชการระดับ 5-6 หอพักผู้ป่วยนอก หอพักผู้ป่วยใน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการประมูลรอบสอง หากไม่สามารถดำเนินการได้จริงๆ ก็จะให้ใช้วิธีพิเศษแทน แต่เชื่อว่า ไม่น่ามีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่เสี่ยงภัยอย่าง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล่าสุด จ.ปัตตานี สามารถต่อรองราคาและประมูลใหม่ได้แล้ว เหลือเพียง 4 จังหวัด คือ อ.จะนะ สงขลา สตูล ยะลา และนราธิวาส ซึ่งจำเป็นต้องเจรจากับสำนักงบประมาณเพื่อขอใช้งบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ซึ่งเป็นงบเดิมที่ให้อยู่แล้ว ไม่ได้ขอใหม่แต่อย่างใด
“เดิม ครม.อนุมัติงบการก่อสร้างในโครงการไทยเข้มแข็งของ สธ.ทั้งหมดกว่า 8 พันล้านบาท แต่สำนักงบประมาณให้ประมาณ 7 พันกว่าล้านบาท โดยเก็บไว้อีกราว 500 ล้านบาท เพื่อกันไว้หากสามารถต่อรองราคาได้ต่ำ แต่เมื่อดำเนินการตามงบฯเหล่านี้ไม่ได้ก็สามารถใช้งบที่เก็บไว้ก้อนนี้ ซึ่งไม่ผิดระเบียบอะไร อย่างไรก็ตาม รวมงบประมาณทั้งหมดที่ยังไม่ได้ใช้อีกเพียง 200-300 ล้านบาทเท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลว่า โครงการไทยเข้มแข็งจะสะดุด ซึ่ง สธ.ถือว่าทำงานเรื่องนี้ได้ดีและรวดเร็วแล้ว โดยหากไม่สามารถดำเนินการได้ทันวันที่ 15 มกราคมก็คงต้องขยายเวลา แต่เชื่อว่า ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะเหลือไม่กี่รายการเท่านั้น” นพ.พรเทพ กล่าว
แหล่งข่าวจาก สธ.กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ตราด ชุมพร ตรัง กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สตูล นราธิวาส ยะลา นอกนั้นอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง อาทิ อ่างทอง ลพบุรี เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่ไม่สามารถต่อรองกับผู้รับเหมา โดยอ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยนั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง