“ชินวรณ์” ยันยังไม่จำเป็นเรียกเก็บภาษี ร.ร.กวดวิชา ชี้ ภาระตกที่ผู้ปกครอง ลั่นเดินหน้าสร้างคุณภาพโรงเรียนให้เท่าเทียม ปรับระบบคัดคนต้องเพิ่มดึงเด็กดีเข้าเรียน ชี้ช่วยลดเด็กแห่ติวได้ สั่งคณะทำงานดูข้อเท็จจริงแจง ครม.
วันนี้ (10 ม.ค.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและกำหนดให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีโรงเรียนสอนกวดวิชา ว่า เรื่องนี้หากกระทรวงการคลังจะเสนอเข้า ครม.ก็คงต้องมีการสอบถามความคิดเห็นจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเรียกเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ แต่ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เคยส่งเรื่องมาให้ตนพิจารณาแล้ว ซึ่งก็ได้ส่งเรื่องกลับ สกศ.ไปทบทวนใหม่ว่ามีความจำเป็นถึงขั้นต้องจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ เนื่องจากมีข้อเสนอแนะที่แตกต่างกันอยู่ โดยให้กลับไปทบทวนว่า จะดำเนินการให้โรงเรียนกวดวิชาไปสู่สถาบันที่มุ่งสอนเติมเต็มด้านอื่นนอกจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้อย่างไร และหากสามารถดำเนินการได้โรงเรียนกวดวิชาก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องเรียกเก็บภาษี เพราะภาระจะไปตกที่ผู้เรียนและผู้ปกครอง
“การแก้ปัญหาโรงเรียนกวดวิชาไม่ได้แก้ด้วยการเรียกเก็บภาษี แต่ต้องแก้โดยการสร้างคุณภาพของโรงเรียนให้ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ที่จะคัดคนทำข้อสอบเก่งแล้วก็จะต้องให้คนดีมีโอกาสได้มีที่เรียนด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าหากเราดำเนินการทั้ง 2 เรื่องนี้ควบคู่กันไปก็จะลดค่านิยมของเด็กที่แห่ไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาไปได้เอง ทั้งนี้จากผลการศึกษาของ PISA ได้สำรวจพบว่า การไปเรียนกวดวิชาของเด็กไม่ได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เนื่องจากเวลาประเมินผลในระดับนานาชาติไม่ได้ประเมินผลจากการสอบปรนัย แต่ใช้การประเมินผลโดยการสอบอัตนัย ดังนั้นเด็กจะต้องมีความเข้าใจที่ดีมากกว่าความจำ ซึ่งการกวดวิชาเป็นเพียงการต่อยอดเพิ่มเติมความจำเท่านั้น” รมว.ศธ.กล่าว
นายชินวรณ์ กล่าวด้วยว่า การที่ ป.ป.ช.มีข้อเสนอในเรื่องนี้นั้น ตนจะให้คณะทำงานไปติดตามข้อเท็จจริงทั้งหมดว่ามีความจำเป็นจะต้องเรียกเก็บภาษีหรือไม่ ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช.มองว่า โรงเรียนกวดวิชาจะเป็นสถาบันฟอกเงินนั้น ตนมองว่า ป.ป.ช.อาจมองคนละมุม ซึ่งต้องมีการทำความเข้าใจด้วยว่า จะดำเนินการส่งเสริมสถาบันกวดวิชาให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร
วันนี้ (10 ม.ค.) นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและกำหนดให้กระทรวงการคลังจัดเก็บภาษีโรงเรียนสอนกวดวิชา ว่า เรื่องนี้หากกระทรวงการคลังจะเสนอเข้า ครม.ก็คงต้องมีการสอบถามความคิดเห็นจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเรียกเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ แต่ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เคยส่งเรื่องมาให้ตนพิจารณาแล้ว ซึ่งก็ได้ส่งเรื่องกลับ สกศ.ไปทบทวนใหม่ว่ามีความจำเป็นถึงขั้นต้องจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาหรือไม่ เนื่องจากมีข้อเสนอแนะที่แตกต่างกันอยู่ โดยให้กลับไปทบทวนว่า จะดำเนินการให้โรงเรียนกวดวิชาไปสู่สถาบันที่มุ่งสอนเติมเต็มด้านอื่นนอกจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้อย่างไร และหากสามารถดำเนินการได้โรงเรียนกวดวิชาก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องเรียกเก็บภาษี เพราะภาระจะไปตกที่ผู้เรียนและผู้ปกครอง
“การแก้ปัญหาโรงเรียนกวดวิชาไม่ได้แก้ด้วยการเรียกเก็บภาษี แต่ต้องแก้โดยการสร้างคุณภาพของโรงเรียนให้ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ที่จะคัดคนทำข้อสอบเก่งแล้วก็จะต้องให้คนดีมีโอกาสได้มีที่เรียนด้วย ซึ่งผมเชื่อว่าหากเราดำเนินการทั้ง 2 เรื่องนี้ควบคู่กันไปก็จะลดค่านิยมของเด็กที่แห่ไปเรียนโรงเรียนกวดวิชาไปได้เอง ทั้งนี้จากผลการศึกษาของ PISA ได้สำรวจพบว่า การไปเรียนกวดวิชาของเด็กไม่ได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เนื่องจากเวลาประเมินผลในระดับนานาชาติไม่ได้ประเมินผลจากการสอบปรนัย แต่ใช้การประเมินผลโดยการสอบอัตนัย ดังนั้นเด็กจะต้องมีความเข้าใจที่ดีมากกว่าความจำ ซึ่งการกวดวิชาเป็นเพียงการต่อยอดเพิ่มเติมความจำเท่านั้น” รมว.ศธ.กล่าว
นายชินวรณ์ กล่าวด้วยว่า การที่ ป.ป.ช.มีข้อเสนอในเรื่องนี้นั้น ตนจะให้คณะทำงานไปติดตามข้อเท็จจริงทั้งหมดว่ามีความจำเป็นจะต้องเรียกเก็บภาษีหรือไม่ ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช.มองว่า โรงเรียนกวดวิชาจะเป็นสถาบันฟอกเงินนั้น ตนมองว่า ป.ป.ช.อาจมองคนละมุม ซึ่งต้องมีการทำความเข้าใจด้วยว่า จะดำเนินการส่งเสริมสถาบันกวดวิชาให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร