“จุรินทร์” ตรวจความพร้อมศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ เกาะติดสถานการณ์ 24 ชั่วโมง วางระบบรับมือม็อบ สั่งสำรองเลือด-ออกซิเจน ให้เพียงพอ พร้อมดึงโรงพยาบาลร่วมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 31 แห่งทั่ว กทม.
วันที่ 12 มีนาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่ชั้น 5 อาคารวิศวกรรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ว่า ศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามการชุมนุมตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีระบบการสื่อสารทั้ง ทีวี วิทยุ โทรศัพท์ และรูปแบบอื่น พร้อมบุคลากรติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยศูนย์ปฏิบัติการแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางที่ใช้ในการสั่งการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน และเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นผู้ปฏิบัติงานและเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ และมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งเป็นกรรมการ รวมทั้งมีมูลนิธิต่างๆ เช่น ป่อเต็กตึ๊ง เป็นต้น เข้าร่วมด้วย
“ในภาพรวมได้เตรียมความพร้อมมาโดยตลอด เนื่องจากทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะมีการชุมนุมการตรวจความพร้อมครั้งนี้เป็นการตรวจรอบสุดท้าย อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ เพื่อหารือนโยบายและแนวทางเพิ่มเติมอีก โดยที่ประชุมได้กำหนดแนวทางกว้างๆ ตามหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการเตรียมการสำรองเลือดและออกซิเจนให้เพียงพอหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น และเตรียมผู้ที่จะบริจาคโลหิตไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย” นายจุรินทร์ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่ต้องเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่อยู่แล้ว แต่ที่ดีที่สุด ไม่อยากให้เกิดความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น และไม่อยากให้มีการใช้ความรุนแรง เพราะว่าหากเกิดความรุนแรงขึ้น และมีผู้บาดเจ็บ ผู้ที่จะเสียหายที่สุด ก็คือ ประเทศในภาพรวม อย่างไรตาม ก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ออกซิเจน รวมทั้งการสำรองเลือด ได้มอบหมายโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งสังกัดรัฐบาลและเอกชน เตรียมความพร้อมไว้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งเรายังคาดการณ์ไม่ได้ในขณะนี้ว่าจะมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่าในวันนี้ได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการเตรียมความพร้อมทางด้านการแพทย์รองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ชุด มี นพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศให้ทันท่วงที ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลรองรับทั้งหมดในเขต กทม.โดยได้ประสานงานกับศูนย์เอราวัณ มีโรงพยาบาลรองรับ 31 แห่ง โดยแบ่งเขตรับผิดชอบตามจุดชุมนุม ส่วนในต่างจังหวัด มีโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนดูแลทั้งหมดพร้อมให้การดูแลรักษาฟรี โดยมีการทดสอบความพร้อมระบบการสื่อสารของเครือข่ายหน่วยกู้ชีพทุกวัน วันละ 3 ครั้ง
วันที่ 12 มีนาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่ชั้น 5 อาคารวิศวกรรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ว่า ศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามการชุมนุมตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีระบบการสื่อสารทั้ง ทีวี วิทยุ โทรศัพท์ และรูปแบบอื่น พร้อมบุคลากรติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง โดยศูนย์ปฏิบัติการแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางที่ใช้ในการสั่งการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน และเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เป็นผู้ปฏิบัติงานและเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ และมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งเป็นกรรมการ รวมทั้งมีมูลนิธิต่างๆ เช่น ป่อเต็กตึ๊ง เป็นต้น เข้าร่วมด้วย
“ในภาพรวมได้เตรียมความพร้อมมาโดยตลอด เนื่องจากทราบล่วงหน้าแล้วว่าจะมีการชุมนุมการตรวจความพร้อมครั้งนี้เป็นการตรวจรอบสุดท้าย อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในภาวะฉุกเฉินระดับชาติ เพื่อหารือนโยบายและแนวทางเพิ่มเติมอีก โดยที่ประชุมได้กำหนดแนวทางกว้างๆ ตามหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งได้มีการเตรียมการสำรองเลือดและออกซิเจนให้เพียงพอหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น และเตรียมผู้ที่จะบริจาคโลหิตไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย” นายจุรินทร์ กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่ต้องเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกิดขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่อยู่แล้ว แต่ที่ดีที่สุด ไม่อยากให้เกิดความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น และไม่อยากให้มีการใช้ความรุนแรง เพราะว่าหากเกิดความรุนแรงขึ้น และมีผู้บาดเจ็บ ผู้ที่จะเสียหายที่สุด ก็คือ ประเทศในภาพรวม อย่างไรตาม ก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ออกซิเจน รวมทั้งการสำรองเลือด ได้มอบหมายโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งสังกัดรัฐบาลและเอกชน เตรียมความพร้อมไว้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งเรายังคาดการณ์ไม่ได้ในขณะนี้ว่าจะมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่าในวันนี้ได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการเตรียมความพร้อมทางด้านการแพทย์รองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ชุด มี นพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศให้ทันท่วงที ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลรองรับทั้งหมดในเขต กทม.โดยได้ประสานงานกับศูนย์เอราวัณ มีโรงพยาบาลรองรับ 31 แห่ง โดยแบ่งเขตรับผิดชอบตามจุดชุมนุม ส่วนในต่างจังหวัด มีโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนดูแลทั้งหมดพร้อมให้การดูแลรักษาฟรี โดยมีการทดสอบความพร้อมระบบการสื่อสารของเครือข่ายหน่วยกู้ชีพทุกวัน วันละ 3 ครั้ง