สปสช.เพิ่มงบบริการแพทย์แผนไทยปี 53 เป็น 2 บาทต่อประชากร รวม 94 ล้านบาท เผยรอบปี 52 คนแห่ใช้บริการจนล้นกว่า 6 แสนครั้ง จาก 734 หน่วยบริการ ปี 53 ตั้งเป้าบริการเชิงรุกในชุมชน เน้นฟื้นฟูผู้พิการและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน รวมถึงการเพิ่มดูแลแม่หลังคลอดด้วยบริการแพทย์แผนไทย ดึงท้องถิ่นมีส่วนร่วม ให้บริการแพทย์แผนไทย
(วันนี้) 8 มีนาคม ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณาเรื่องผลการดำเนินงานกองทุนแพทย์แผนไทยประจำปีงบประมาณ 2552 และแนวทางการบริหารงานปี 53 ให้กับประชาชนในโครงการ โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า การให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หนึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มมีมติให้จัดเป็นงบเฉพาะซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2550 เป็นปีแรก ในอัตรา 0.50 บาทต่อประชากร ในปี 2551 และ 2552 ได้ปรับเพิ่มเป็น 1 บาทต่อประชากร และในปี 2553 ปรับเพิ่มเป็น 2 บาทต่อประชากร ทำให้มีงบกองทุนแพทย์แผนไทยจำนวน 94 ล้านบาท เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งผู้มีสิทธิ์บัตรทองจะใช้บริการได้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานพยาบาลที่ไม่มีบริการแพทย์แผนไทย ก็จะไม่ได้รับงบ เพราะต้องการสร้างแรงจูงใจในการให้บริการแพทย์แผนไทยนั่นเอง เป้าหมายเพื่อพัฒนาการบริการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือกให้ทั่วถึง และครอบคลุมประชากร เป็นการบูรณาการบริการร่วมกับระบบการแพทย์กระแสหลักให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งเป็นการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สำหรับผลการให้บริการในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้รับบริการแพทย์แผนไทย 306,775 คน มีการใช้บริการ 689,292 ครั้ง โดยมีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับจำนวนหน่วยบริการที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยมีหน่วยบริการทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน 734 แห่ง ให้บริการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งในปี 2553 ได้ตั้งเป้าสนับสนุนบริการแพทย์แผนไทในทุกหน่วยบริการ เน้นการฟื้นฟูในชุมชนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้พิการ ฟื้นฟูสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยบริการทับหม้อเกลือ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง รพ.ชุมชน อบจ./อบต./เทศบาล และสนับสนุนอัตรากำลังของบุคลากรแพทย์แผนไทยใน รพ.ชุมชนอย่างน้อย 1 ตำแหน่งต่อหนึ่งบริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพบริการและเพิ่มการสั่งยาสมุนไพรใช้ในหน่วยบริการด้วย
“สะท้อนให้เห็นว่าการจัดงบแยกให้เฉพาะสามารถสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการสนใจให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้ ทั้งยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อเนื่อง คือ จัดบริการเชิงรุกในชุมชน ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เช่น การดูแลเท้าในผู้ป่วยเรื้อรัง สมุนไพรแช่เท้า ดูแลหญิงหลังคลอด มีการสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน มีการใช้สมุนไพรในชุมชน สอนการพึ่งตนเอง การสร้างนวัตกรรมในพื้นที่ เช่น แผ่นประคบร้อนสมุนไพร และหน่วยบริการจำนวนมากได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทางในการใช้ยาแผนปัจจุบันหรือ รักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันและนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
(วันนี้) 8 มีนาคม ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณาเรื่องผลการดำเนินงานกองทุนแพทย์แผนไทยประจำปีงบประมาณ 2552 และแนวทางการบริหารงานปี 53 ให้กับประชาชนในโครงการ โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า การให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หนึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มมีมติให้จัดเป็นงบเฉพาะซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2550 เป็นปีแรก ในอัตรา 0.50 บาทต่อประชากร ในปี 2551 และ 2552 ได้ปรับเพิ่มเป็น 1 บาทต่อประชากร และในปี 2553 ปรับเพิ่มเป็น 2 บาทต่อประชากร ทำให้มีงบกองทุนแพทย์แผนไทยจำนวน 94 ล้านบาท เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งผู้มีสิทธิ์บัตรทองจะใช้บริการได้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานพยาบาลที่ไม่มีบริการแพทย์แผนไทย ก็จะไม่ได้รับงบ เพราะต้องการสร้างแรงจูงใจในการให้บริการแพทย์แผนไทยนั่นเอง เป้าหมายเพื่อพัฒนาการบริการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือกให้ทั่วถึง และครอบคลุมประชากร เป็นการบูรณาการบริการร่วมกับระบบการแพทย์กระแสหลักให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งเป็นการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สำหรับผลการให้บริการในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้รับบริการแพทย์แผนไทย 306,775 คน มีการใช้บริการ 689,292 ครั้ง โดยมีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับจำนวนหน่วยบริการที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยมีหน่วยบริการทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน 734 แห่ง ให้บริการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งในปี 2553 ได้ตั้งเป้าสนับสนุนบริการแพทย์แผนไทในทุกหน่วยบริการ เน้นการฟื้นฟูในชุมชนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้พิการ ฟื้นฟูสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยบริการทับหม้อเกลือ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง รพ.ชุมชน อบจ./อบต./เทศบาล และสนับสนุนอัตรากำลังของบุคลากรแพทย์แผนไทยใน รพ.ชุมชนอย่างน้อย 1 ตำแหน่งต่อหนึ่งบริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพบริการและเพิ่มการสั่งยาสมุนไพรใช้ในหน่วยบริการด้วย
“สะท้อนให้เห็นว่าการจัดงบแยกให้เฉพาะสามารถสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการสนใจให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้ ทั้งยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อเนื่อง คือ จัดบริการเชิงรุกในชุมชน ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เช่น การดูแลเท้าในผู้ป่วยเรื้อรัง สมุนไพรแช่เท้า ดูแลหญิงหลังคลอด มีการสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน มีการใช้สมุนไพรในชุมชน สอนการพึ่งตนเอง การสร้างนวัตกรรมในพื้นที่ เช่น แผ่นประคบร้อนสมุนไพร และหน่วยบริการจำนวนมากได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทางในการใช้ยาแผนปัจจุบันหรือ รักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันและนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เลขาธิการ สปสช.กล่าว