“ชินวรณ์” ยันรับนักเรียนต้องโปร่งใส ไร้ใต้โต๊ะ ช่วงรับเด็ก แต่ไม่ปิดกั้นระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียน เล็งอนาคตนำการสอบคัดเลือกใช้เลื่อนชั้น ม.3 ขึ้น ม.4 โรงเรียนเดิม เพื่อให้นักเรียนตื่นตัว พร้อมเปิดห้องรับเด็กช้างเผือกจากโรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนเอกชนให้มากขึ้น
วันนี้ (26 ก.พ.) ที่โรงแรมอะเดรียติด พาเลซ กทม. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เชิญผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั่วประเทศ โรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ และโรงเรียนที่เปิดเฉพาะ ม.ปลาย มาประชุมเตรียมความพร้อมในการรับนักเรียน ประจำปี 2553 พร้อมรับทราบนโยบายการรับนักเรียนจาก นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
นายชินวรณ์ กล่าวว่า การรับนักเรียนปีนี้ตนขอให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้เข้าเรียนตามความประสงค์และเหมาะสมกับศักยภาพของเด็ก ที่สำคัญต้องปราศจากการเรียกเงินกินเปล่า หรือ แป๊ะเจี๊ยะ ดังนั้น ในปีนี้ตนขออย่าให้มีข่าวการเรียกรับเงินใต้โต๊ะ หรือเก็บค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เป็นไปตามระเบียบในช่วงการรับนักเรียน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ปิดกั้นการระดมทรัพยากรเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพของโรงเรียน แต่ขอให้ทางโรงเรียนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและนักเรียนเห็นความสำคัญในการระดมทรัพยากรหลังจากที่ผ่านพ้นช่วงการรับนักเรียนมาแล้ว
“โรงเรียนต้องเปลี่ยนทัศนคติของสังคมจากเดิมที่ยอมจ่ายเท่าไหร่ก็ได้เพื่อให้ได้เข้าเรียน มาเป็นช่วยเหลือโรงเรียนเพราะลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่มีใครที่จะไม่มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก และหากทำได้ปัญหาการเรียกรับเงินแปะเจี๊ยะจะหมดไป” รมว.ศธ.กล่าว
นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ในระยะยาวการรับนักเรียนเพื่อนำไปสู่มาตรฐานสากล ตนได้มอบให้ สพฐ.ไปพิจารณาว่าในส่วนของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ควรมีการนำระบบการสอบคัดเลือกมาใช้กับนักเรียนที่จบชั้น ม.3 และต้องการเรียนต่อม.4 ทุกคนแม้จะเป็นเด็กในโรงเรียนเดิมก็ตาม เพื่อให้นักเรียนเกิดความตื่นตัว ในขณะเดียวกันก็ให้เปิดห้องรับนักเรียน ม.ปลายมากขึ้น เพื่อรับเด็กช้างเผือกจากโรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนเอกชน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์แนวทางการรับนักเรียนย้อนหลัง 5 ปีที่ตนมอบให้ สพฐ.กลับไปศึกษาด้วย
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ไม่ได้ปิดประตูตายที่จะให้โรงเรียนที่มีแผนการรับนักเรียน ม.ปลายน้อยกว่านักเรียน ม.ต้น โดยเฉพาะในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงรับนักเรียนจากภายนอก แต่ได้เปิดโอกาสให้รับนักเรียนทั่วไปจากทั้งโรงเรียนอื่นและโรงเรียนเดิมที่ไม่ได้รับการคัดเลือกได้มีโอกาสมาสอบคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีไว้ประกอบการพิจารณารับนักเรียนเพิ่มจาก 40 คนต่อห้อง โดยให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนที่เกรงว่าโรงเรียนจะถือโอกาสขยายจำนวนนักเรียนต่อห้องเพิ่มขึ้นนั้น โรงเรียนทุกแห่งได้แจ้งแผนการรับนักเรียนที่ชัดเจนมาให้ สพฐ.แล้ว ดังนั้น เชื่อว่าหากจะมีการขยายคงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม
วันนี้ (26 ก.พ.) ที่โรงแรมอะเดรียติด พาเลซ กทม. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เชิญผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั่วประเทศ โรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ และโรงเรียนที่เปิดเฉพาะ ม.ปลาย มาประชุมเตรียมความพร้อมในการรับนักเรียน ประจำปี 2553 พร้อมรับทราบนโยบายการรับนักเรียนจาก นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
นายชินวรณ์ กล่าวว่า การรับนักเรียนปีนี้ตนขอให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้เข้าเรียนตามความประสงค์และเหมาะสมกับศักยภาพของเด็ก ที่สำคัญต้องปราศจากการเรียกเงินกินเปล่า หรือ แป๊ะเจี๊ยะ ดังนั้น ในปีนี้ตนขออย่าให้มีข่าวการเรียกรับเงินใต้โต๊ะ หรือเก็บค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เป็นไปตามระเบียบในช่วงการรับนักเรียน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ปิดกั้นการระดมทรัพยากรเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพของโรงเรียน แต่ขอให้ทางโรงเรียนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและนักเรียนเห็นความสำคัญในการระดมทรัพยากรหลังจากที่ผ่านพ้นช่วงการรับนักเรียนมาแล้ว
“โรงเรียนต้องเปลี่ยนทัศนคติของสังคมจากเดิมที่ยอมจ่ายเท่าไหร่ก็ได้เพื่อให้ได้เข้าเรียน มาเป็นช่วยเหลือโรงเรียนเพราะลูกเรียนอยู่ในโรงเรียนนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่มีใครที่จะไม่มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก และหากทำได้ปัญหาการเรียกรับเงินแปะเจี๊ยะจะหมดไป” รมว.ศธ.กล่าว
นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ในระยะยาวการรับนักเรียนเพื่อนำไปสู่มาตรฐานสากล ตนได้มอบให้ สพฐ.ไปพิจารณาว่าในส่วนของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ควรมีการนำระบบการสอบคัดเลือกมาใช้กับนักเรียนที่จบชั้น ม.3 และต้องการเรียนต่อม.4 ทุกคนแม้จะเป็นเด็กในโรงเรียนเดิมก็ตาม เพื่อให้นักเรียนเกิดความตื่นตัว ในขณะเดียวกันก็ให้เปิดห้องรับนักเรียน ม.ปลายมากขึ้น เพื่อรับเด็กช้างเผือกจากโรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนเอกชน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์แนวทางการรับนักเรียนย้อนหลัง 5 ปีที่ตนมอบให้ สพฐ.กลับไปศึกษาด้วย
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ไม่ได้ปิดประตูตายที่จะให้โรงเรียนที่มีแผนการรับนักเรียน ม.ปลายน้อยกว่านักเรียน ม.ต้น โดยเฉพาะในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงรับนักเรียนจากภายนอก แต่ได้เปิดโอกาสให้รับนักเรียนทั่วไปจากทั้งโรงเรียนอื่นและโรงเรียนเดิมที่ไม่ได้รับการคัดเลือกได้มีโอกาสมาสอบคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีไว้ประกอบการพิจารณารับนักเรียนเพิ่มจาก 40 คนต่อห้อง โดยให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนที่เกรงว่าโรงเรียนจะถือโอกาสขยายจำนวนนักเรียนต่อห้องเพิ่มขึ้นนั้น โรงเรียนทุกแห่งได้แจ้งแผนการรับนักเรียนที่ชัดเจนมาให้ สพฐ.แล้ว ดังนั้น เชื่อว่าหากจะมีการขยายคงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม