กฟผ.-ม.ธรรมศาสตร์ ลงนามสัญญาร่วมวิจัยโครงการนำร่องใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ผลผลิตพลอยได้จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หวังสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ลดโลกร้อน และแสดงความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวในพิธีลงนามสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เพื่อดำเนินโครงการนำร่องใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ ว่า ยิปซัมสังเคราะห์เป็นผลผลิตพลอยได้จากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง ที่มีปริมาณราว 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีข้อได้เปรียบยิปซัมจากธรรมชาติมากมาย ทั้งในแง่ของความพร้อมในการใช้งาน และกระบวนการที่ช่วยให้นำมาใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังมีความต้องการยิปซัมสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นกัน โดยหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในยุโรป มีการใช้ยิปซัมสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น แผ่นบุผนัง พลาสเตอร์บอร์ด ซีเมนต์ ปุ๋ยและวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ ซึ่งเพิ่มความต้องการซื้อขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการใช้ยิปซัมสังเคราะห์ยังเป็นการรับรอง / แสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่ผู้บริโภคก็จะมีส่วนสนับสนุนศักยภาพนี้เช่นกัน
โครงการนำร่องใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์จะเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถระบุถึงทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ที่มีศักยภาพในทางปฏิบัติ ตลอดจนการศึกษาต้นทุนด้านการขนส่งหรือโลจิสติกส์ ไปยังสถานที่ใช้งานและตลาดที่จะขายสินค้า โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 - 2555
“โครงการนี้จะสามารถระบุถึงทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ที่มีศักยภาพที่จะนำไปปฏิบัติ อันจะทำให้องค์กรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ โดยที่ต้องให้ความสำคัญใน 3 ด้านไปพร้อมกัน ทั้งทางด้าน CSR ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม การริเริ่มด้านสังคมที่ทำให้ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมพึงพอใจ และผลกระทบที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ซึ่งก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ในระยะยาว ตามวัตถุประสงค์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในการเป็นองค์การที่ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม...” นายสุทัศน์กล่าว
ด้านนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในฐานะที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมเป็นสักขีพยาน ว่า ที่ผ่านมายิปซัมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ซึ่งมีการผลิตปีละประมาณ 8 ล้านตัน โดยใช้ในประเทศราว 2.5 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 6 ล้านตัน แต่แร่ยิปซัมนั้นเหมือนทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่นๆ ที่เมื่อนำมาใช้แล้วก็จะหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ในระยะเวลาอันสั้น
"ยิปซัมสังเคราะห์นั้นมีข้อได้เปรียบ ทั้งในเชิงคุณภาพที่ไม่แตกต่างจากยิปซัมธรรมชาติ และถือเป็นผลพลอยได้จากการขจัดหรือลดมลพิษระหว่างการเผาไหม้ถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ไม่สิ้นเปลืองพลังงานเพื่อใช้ในการผลิต ช่วยลดโลกร้อน และถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย ผลสำเร็จของโครงการจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ยิปซัมเป็นวัตถุดิบมีทางเลือกมากขึ้น และส่งเสริมแนวคิดด้าน CSR ให้แก่ผู้ประกอบการ"
รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ร่วมลงนามในข้อตกลงระดับโลก กับองค์การสหประชาติ (UN) เรื่องการบริหารจัดการการศึกษาอย่างมีความรับผิดชอบ ที่ถือเป็นข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่ยืนยันการปฏิบัติที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย และวงการธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ใช้แนวคิดในเรื่องการสร้างสมดุลและผลกระทบในเชิงบวกกับมุมมองทั้ง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Triple Bottom Line) มหาวิทยาลัยฯหวังว่า โครงการนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่จะกระตุ้นเตือนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทยต่อไป
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวในพิธีลงนามสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เพื่อดำเนินโครงการนำร่องใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ ว่า ยิปซัมสังเคราะห์เป็นผลผลิตพลอยได้จากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง ที่มีปริมาณราว 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีข้อได้เปรียบยิปซัมจากธรรมชาติมากมาย ทั้งในแง่ของความพร้อมในการใช้งาน และกระบวนการที่ช่วยให้นำมาใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังมีความต้องการยิปซัมสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นกัน โดยหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในยุโรป มีการใช้ยิปซัมสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น แผ่นบุผนัง พลาสเตอร์บอร์ด ซีเมนต์ ปุ๋ยและวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ ซึ่งเพิ่มความต้องการซื้อขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการใช้ยิปซัมสังเคราะห์ยังเป็นการรับรอง / แสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่ผู้บริโภคก็จะมีส่วนสนับสนุนศักยภาพนี้เช่นกัน
โครงการนำร่องใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์จะเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถระบุถึงทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ที่มีศักยภาพในทางปฏิบัติ ตลอดจนการศึกษาต้นทุนด้านการขนส่งหรือโลจิสติกส์ ไปยังสถานที่ใช้งานและตลาดที่จะขายสินค้า โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 - 2555
“โครงการนี้จะสามารถระบุถึงทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากยิปซัมสังเคราะห์ที่มีศักยภาพที่จะนำไปปฏิบัติ อันจะทำให้องค์กรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ โดยที่ต้องให้ความสำคัญใน 3 ด้านไปพร้อมกัน ทั้งทางด้าน CSR ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม การริเริ่มด้านสังคมที่ทำให้ผู้ถือผลประโยชน์ร่วมพึงพอใจ และผลกระทบที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ซึ่งก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ในระยะยาว ตามวัตถุประสงค์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในการเป็นองค์การที่ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม...” นายสุทัศน์กล่าว
ด้านนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในฐานะที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมเป็นสักขีพยาน ว่า ที่ผ่านมายิปซัมธรรมชาติเป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ซึ่งมีการผลิตปีละประมาณ 8 ล้านตัน โดยใช้ในประเทศราว 2.5 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 6 ล้านตัน แต่แร่ยิปซัมนั้นเหมือนทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่นๆ ที่เมื่อนำมาใช้แล้วก็จะหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ในระยะเวลาอันสั้น
"ยิปซัมสังเคราะห์นั้นมีข้อได้เปรียบ ทั้งในเชิงคุณภาพที่ไม่แตกต่างจากยิปซัมธรรมชาติ และถือเป็นผลพลอยได้จากการขจัดหรือลดมลพิษระหว่างการเผาไหม้ถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ไม่สิ้นเปลืองพลังงานเพื่อใช้ในการผลิต ช่วยลดโลกร้อน และถือเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย ผลสำเร็จของโครงการจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ยิปซัมเป็นวัตถุดิบมีทางเลือกมากขึ้น และส่งเสริมแนวคิดด้าน CSR ให้แก่ผู้ประกอบการ"
รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ร่วมลงนามในข้อตกลงระดับโลก กับองค์การสหประชาติ (UN) เรื่องการบริหารจัดการการศึกษาอย่างมีความรับผิดชอบ ที่ถือเป็นข้อตกลงอย่างเป็นทางการที่ยืนยันการปฏิบัติที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทย และวงการธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ใช้แนวคิดในเรื่องการสร้างสมดุลและผลกระทบในเชิงบวกกับมุมมองทั้ง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Triple Bottom Line) มหาวิทยาลัยฯหวังว่า โครงการนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่จะกระตุ้นเตือนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในประเทศไทยต่อไป