กลุ่มคนชุมชนจากสนามหลวงกว่า 200 ราย บุก กทม.ทวงถามคำตอบให้อยู่หรือย้ายออกจากสนามหลวง หวิดเกิดเหตุรุนแรงหลังกลุ่มผู้ชุมนุมปาขวดน้ำ พร้อมฝ่าแผงเหล็กจะเข้าข้างใน แต่ระหว่างชุลมุนเทศกิจโชคร้าย 2 นายโทรศัพท์มือถือ และนาฬิกาข้อมือหายระหว่างสกัดม็อบ
เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. กลุ่มคนชุมชนท้องสนามหลวงกว่า 200 คนได้เดินทางมารวมตัวกันบริเวณประตทางออกด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ฝั่งถนนศิริพงษ์ เพื่อรับฟังคำตอบที่เมื่อสัปดาห์ก่อนได้เดินทางมายื่นหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ตามที่ได้เสนอไป คือ ขอค้าขายในพื้นที่สนามหลวงตามเดิมโดยขอให้ กทม.ปิดปรับปรุงสนามหลวงฝั่งละครึ่งสนาม ที่เหลืออีกครึ่งสนามหนามก็ให้ผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ได้ตามเดิม โดยมี นายธงชัย ชัยพิจารณ์ พ่อค้าเสื้อผ้าฝั่งพระแม่ธรณีบีบมวยผม นายณัฐกานต์ ชูฉลาด ผู้ค้าตลาดสนามหลวงช่วงกลางคืน เป็นแกนนำ ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนำแผงเหล็กมากั้นประตูทางเข้าออก กทม. และนำกำลังมาตรึงไว้ประมาณ 20 คน

ทั้งนี้ นายธงชัยได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะให้พวกตนไปค้าขายบริเวณริมคลองหลอดซึ่งเป็นการชั่วคราว และจะให้ไปขายจริงที่สนามหลวง 2 ซึ่งที่จะให้ไปขายนั้นขายฟรีเหมือนที่ขายที่สนามหลวงหรือไม่ และกว่าที่จะทำให้ตลาดติดพ่อค้าแม่ค้าจะต้องหมดเนื้อหมดตัวไปกี่ราย ที่อ้างว่าสมัยที่ย้ายไปขายที่ตลาดนัดจตุจักรก็ประสบความสำเร็จแต่ใช้ระยะเวลากี่ปีจึงจะประสบความสำเร็จ ไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องผลักไสไล่ส่งพวกเราขนาดนี้ เราไม่ใช่นกพิราบแต่เราเป็นคนไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าทำให้อาชญากรรมบริเวณสนามหลวงลดลงไปเป็นจำนวนมากเพราะพวกเราช่วยกันดูแล
“เรามาขอความเมตตาจาก กทม. มาเพื่อเจรจาอย่างสันติ แต่ถ้ามาประสบความสำเร็จตัวแทนก็จะสลาย ส่วนใครจะไปดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นเราไม่ทราบ แต่สำหรับพวกตนเราจะไปฟ้องที่ศาลปกครองเพราะศาลปกครองเป็นที่พึ่งสุดท้ายสำหรับเรา” นายธงชัยกล่าว

จากนั้นทาง กทม.นำโดย นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัด กทม. นายพูลพันธ์ ไกรเสริม ผอ.สำนักเทศกิจ นายเสือชนะ สุดเจริญ ผอ.เขตพระนคร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เจรจากับตัวแทนของผู้ค้าจำนวน 5 คน ซึ่งในห้องเจรจาดังกล่าว นายณัฐกานต์ ชูฉลาด ผู้ค้าตลาดสนามหลวงช่วงกลางคืน กล่าวว่า อยากให้ กทม.ทบทวนแผนการปรับปรุงสนามหลวงในส่วนของผู้ค้าช่วงกลางคืนใหม่ เพราะแผนเดิมที่จะห้ามขายอย่างเด็ดขาดช่วงวันที่ 1 มี.ค.นั้น ทางผู้ค้าไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน เบื้องต้นทางผู้ค้าเห็นว่าช่วง 250 วันที่ปิดปรับปรุงนั้น ควรทำเฉพาะส่วนกลางสนาม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าได้เตรียมตัว หรือหาช่องทางในการขยายไปพื้นที่ใหม่ ระหว่างนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้า และประชาชนได้รับทราบด้วย
ด้าน นายทวีศักดิ์ กล่าวยืนยันว่าผู้ค้าต้องทำตามแผนของกทม. คือ ต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ภายในเดือน มี.ค.นี้ หรือก่อนที่กทม.จะส่งมอบพื้นที่ให้กับหน่วยงานทหาร ซึ่งตนเชื่อว่าพื้นที่ใหม่จะค้าขายได้อย่างแน่นอน แต่หากค้าขายไม่ได้ตนพร้อมรับผิดชอบ โดยระหว่างการย้ายที่ใหม่หากผู้ค้ามีปัญหาขอให้คุยกับทางสำนักงานเขตพระนคร เช่น ไฟฟ้าแสงสว่างไม่เพียงพอ สำหรับข้อกังวลที่ว่าจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ค้าและประชาชนพื้นที่นั้น ตนคาดว่าผู้ค้าจะอยู่ร่วมกันได้ เนื่องจากพื้นที่ค้าอยู่บริเวณริมคลอง ส่วนข้อเสนอของผู้ค้านั้นตนอยากเรียกร้องขอความเห็นใจ เพราะ กทม.ไม่มีเวลาแล้วต้องเดินตามแผนที่วางไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างที่มีการเจรจาอยู่นั้น กลุ่มผู้ชุมนุมที่รออยู่ด้านนอกได้ลุกฮือผลักดันเจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่นำแผงเหล็กมากั้นไว้ด้านนอก พร้อมกับได้ขว้างปาขวดน้ำดื่ม แก้วน้ำ ถุงน้ำดื่มเข้ามาภายในศาลาว่าการ กทม.จนเกือบจะเข้ามาภายในศาลาว่าการ กทม.ได้ แต่ก็ไม่สามารถทานแรงของเจ้าหน้าที่ได้ซึ่งเหตุการณ์ช่วงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 5 นาที เหตุการณ์จึงสงบลง โดยระหว่างที่มีการชุลมุนอยู่นั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนาฬิกาของเจ้าหน้าที่เทศกิจได้เกิดการสูญหายซึ่งเจ้าหน้าที่เทศกิจผู้โชคร้ายได้พยายามโทรศัพท์เข้าเครื่องแต่ไม่มีสัญญาณเพราะโทรศัพท์ได้ถูกปิดเครื่องไปเรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกัน ทรัพย์สินของ กทม. เช่น ประตูเหล็กบานเลื่อนเล็กด้านข้าง กทม.ก็ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถปิดลงล็อกได้เช่นกันซึ่งทาง กทม.ได้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ สน.สำราญราษฎร์ ในส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมได้กลับไปยืนเรียกร้องพร้อมชูป้าย ที่มีข้อความ สนามหลวงคืออู่ข้าว อู่น้ำ เราไม่ยอมย้ายออกไปเด็ดขาด วอนผู้ว่าฯ กทม. เห็นใจ จากนั้น กทม.ได้ประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจจากสำนัก 30 คน และจากเขต 30 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์จำนวนหนึ่งเข้ามาดูแลความสงบ ซึ่งผลการปะทะดังกล่าวไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่รายใดได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่เทศกิจรับมือม็อบประมาณ 30 นาย ได้เดินทางมาถึงยังบริเวณชุมนุมซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมาก กทม.จึงได้ให้เทศกิจรับมือม็อบชุดดังกล่าวกลับไปในเวลาไม่ถึง 2 นาที ซึ่งทำให้ผู้บริหาร กทม. รีบยุติการเจรจาในทันทีโดยผู้ค้าไม่ได้รับการผ่อนผันใดๆ จากกทม.จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้สลายไปในเวลาประมาณ 16.30 น.

นายณัฐกานต์ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับผู้ค้าต่อไป ว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อ เบื้องต้นคงต้องทวงถามหาความยุติธรรม โดยกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งผู้ค้าที่มีกว่า 1,900 แผงได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายดังกล่าวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในนามของตัวแทนผู้ค้าต้องการให้ กทม.ให้โอกาสผู้ค้าที่มีทั้งนักศึกษาตกงาน คนว่างงาน เช่น ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเตรียมพร้อมอย่างน้อย 2 เดือน เป็นต้น
ด้าน นายพูลพันธ์กล่าวยืนยันภายหลังการเจรจาว่า ทาง กทม.จะต้องผลักดันให้กลุ่มผู้ค้า คนเร่ร่อน หมอนวดออกนอกพื้นที่สนามหลวงให้ได้ภายใน 2 วัน ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้ทหารช่างเข้าปรับปรุงในวันที่ 1 มีนาคมนี้
ขณะที่ นายเสือชนะกล่าวว่า ที่ผ่านมาทางเขตได้ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมทราบมาตั้งแต่มีนโยบายเมื่อเดือนกันยายน 2552 จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 5 เดือนแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือกับกลุ่มผู้ค้าถึง 5 ครั้งด้วยกัน ผู้ค้าทุกคนต่างรู้ดีจะมาอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ที่อ้างไม่รู้เพื่อที่จะได้เป็นข้อต่อรองกับเรา ทั้งนี้เราอยากให้ผู้ค้าย้ายไปขายที่ริมคลองหลอดและตรอกสาเกก่อนทางเราจะทำโปรโมทให้
เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. กลุ่มคนชุมชนท้องสนามหลวงกว่า 200 คนได้เดินทางมารวมตัวกันบริเวณประตทางออกด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ฝั่งถนนศิริพงษ์ เพื่อรับฟังคำตอบที่เมื่อสัปดาห์ก่อนได้เดินทางมายื่นหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ตามที่ได้เสนอไป คือ ขอค้าขายในพื้นที่สนามหลวงตามเดิมโดยขอให้ กทม.ปิดปรับปรุงสนามหลวงฝั่งละครึ่งสนาม ที่เหลืออีกครึ่งสนามหนามก็ให้ผู้ชุมนุมใช้พื้นที่ได้ตามเดิม โดยมี นายธงชัย ชัยพิจารณ์ พ่อค้าเสื้อผ้าฝั่งพระแม่ธรณีบีบมวยผม นายณัฐกานต์ ชูฉลาด ผู้ค้าตลาดสนามหลวงช่วงกลางคืน เป็นแกนนำ ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนำแผงเหล็กมากั้นประตูทางเข้าออก กทม. และนำกำลังมาตรึงไว้ประมาณ 20 คน
ทั้งนี้ นายธงชัยได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะให้พวกตนไปค้าขายบริเวณริมคลองหลอดซึ่งเป็นการชั่วคราว และจะให้ไปขายจริงที่สนามหลวง 2 ซึ่งที่จะให้ไปขายนั้นขายฟรีเหมือนที่ขายที่สนามหลวงหรือไม่ และกว่าที่จะทำให้ตลาดติดพ่อค้าแม่ค้าจะต้องหมดเนื้อหมดตัวไปกี่ราย ที่อ้างว่าสมัยที่ย้ายไปขายที่ตลาดนัดจตุจักรก็ประสบความสำเร็จแต่ใช้ระยะเวลากี่ปีจึงจะประสบความสำเร็จ ไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องผลักไสไล่ส่งพวกเราขนาดนี้ เราไม่ใช่นกพิราบแต่เราเป็นคนไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าทำให้อาชญากรรมบริเวณสนามหลวงลดลงไปเป็นจำนวนมากเพราะพวกเราช่วยกันดูแล
“เรามาขอความเมตตาจาก กทม. มาเพื่อเจรจาอย่างสันติ แต่ถ้ามาประสบความสำเร็จตัวแทนก็จะสลาย ส่วนใครจะไปดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้นเราไม่ทราบ แต่สำหรับพวกตนเราจะไปฟ้องที่ศาลปกครองเพราะศาลปกครองเป็นที่พึ่งสุดท้ายสำหรับเรา” นายธงชัยกล่าว
จากนั้นทาง กทม.นำโดย นายทวีศักดิ์ เดชเดโช รองปลัด กทม. นายพูลพันธ์ ไกรเสริม ผอ.สำนักเทศกิจ นายเสือชนะ สุดเจริญ ผอ.เขตพระนคร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เจรจากับตัวแทนของผู้ค้าจำนวน 5 คน ซึ่งในห้องเจรจาดังกล่าว นายณัฐกานต์ ชูฉลาด ผู้ค้าตลาดสนามหลวงช่วงกลางคืน กล่าวว่า อยากให้ กทม.ทบทวนแผนการปรับปรุงสนามหลวงในส่วนของผู้ค้าช่วงกลางคืนใหม่ เพราะแผนเดิมที่จะห้ามขายอย่างเด็ดขาดช่วงวันที่ 1 มี.ค.นั้น ทางผู้ค้าไม่สามารถเตรียมตัวได้ทัน เบื้องต้นทางผู้ค้าเห็นว่าช่วง 250 วันที่ปิดปรับปรุงนั้น ควรทำเฉพาะส่วนกลางสนาม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ค้าได้เตรียมตัว หรือหาช่องทางในการขยายไปพื้นที่ใหม่ ระหว่างนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้า และประชาชนได้รับทราบด้วย
ด้าน นายทวีศักดิ์ กล่าวยืนยันว่าผู้ค้าต้องทำตามแผนของกทม. คือ ต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ภายในเดือน มี.ค.นี้ หรือก่อนที่กทม.จะส่งมอบพื้นที่ให้กับหน่วยงานทหาร ซึ่งตนเชื่อว่าพื้นที่ใหม่จะค้าขายได้อย่างแน่นอน แต่หากค้าขายไม่ได้ตนพร้อมรับผิดชอบ โดยระหว่างการย้ายที่ใหม่หากผู้ค้ามีปัญหาขอให้คุยกับทางสำนักงานเขตพระนคร เช่น ไฟฟ้าแสงสว่างไม่เพียงพอ สำหรับข้อกังวลที่ว่าจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้ค้าและประชาชนพื้นที่นั้น ตนคาดว่าผู้ค้าจะอยู่ร่วมกันได้ เนื่องจากพื้นที่ค้าอยู่บริเวณริมคลอง ส่วนข้อเสนอของผู้ค้านั้นตนอยากเรียกร้องขอความเห็นใจ เพราะ กทม.ไม่มีเวลาแล้วต้องเดินตามแผนที่วางไว้
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างที่มีการเจรจาอยู่นั้น กลุ่มผู้ชุมนุมที่รออยู่ด้านนอกได้ลุกฮือผลักดันเจ้าหน้าที่เทศกิจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่นำแผงเหล็กมากั้นไว้ด้านนอก พร้อมกับได้ขว้างปาขวดน้ำดื่ม แก้วน้ำ ถุงน้ำดื่มเข้ามาภายในศาลาว่าการ กทม.จนเกือบจะเข้ามาภายในศาลาว่าการ กทม.ได้ แต่ก็ไม่สามารถทานแรงของเจ้าหน้าที่ได้ซึ่งเหตุการณ์ช่วงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 5 นาที เหตุการณ์จึงสงบลง โดยระหว่างที่มีการชุลมุนอยู่นั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ และนาฬิกาของเจ้าหน้าที่เทศกิจได้เกิดการสูญหายซึ่งเจ้าหน้าที่เทศกิจผู้โชคร้ายได้พยายามโทรศัพท์เข้าเครื่องแต่ไม่มีสัญญาณเพราะโทรศัพท์ได้ถูกปิดเครื่องไปเรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกัน ทรัพย์สินของ กทม. เช่น ประตูเหล็กบานเลื่อนเล็กด้านข้าง กทม.ก็ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถปิดลงล็อกได้เช่นกันซึ่งทาง กทม.ได้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ สน.สำราญราษฎร์ ในส่วนกลุ่มผู้ชุมนุมได้กลับไปยืนเรียกร้องพร้อมชูป้าย ที่มีข้อความ สนามหลวงคืออู่ข้าว อู่น้ำ เราไม่ยอมย้ายออกไปเด็ดขาด วอนผู้ว่าฯ กทม. เห็นใจ จากนั้น กทม.ได้ประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจจากสำนัก 30 คน และจากเขต 30 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์จำนวนหนึ่งเข้ามาดูแลความสงบ ซึ่งผลการปะทะดังกล่าวไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่รายใดได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่เทศกิจรับมือม็อบประมาณ 30 นาย ได้เดินทางมาถึงยังบริเวณชุมนุมซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมาก กทม.จึงได้ให้เทศกิจรับมือม็อบชุดดังกล่าวกลับไปในเวลาไม่ถึง 2 นาที ซึ่งทำให้ผู้บริหาร กทม. รีบยุติการเจรจาในทันทีโดยผู้ค้าไม่ได้รับการผ่อนผันใดๆ จากกทม.จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้สลายไปในเวลาประมาณ 16.30 น.
นายณัฐกานต์ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับผู้ค้าต่อไป ว่าจะเดินหน้าอย่างไรต่อ เบื้องต้นคงต้องทวงถามหาความยุติธรรม โดยกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งผู้ค้าที่มีกว่า 1,900 แผงได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายดังกล่าวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในนามของตัวแทนผู้ค้าต้องการให้ กทม.ให้โอกาสผู้ค้าที่มีทั้งนักศึกษาตกงาน คนว่างงาน เช่น ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเตรียมพร้อมอย่างน้อย 2 เดือน เป็นต้น
ด้าน นายพูลพันธ์กล่าวยืนยันภายหลังการเจรจาว่า ทาง กทม.จะต้องผลักดันให้กลุ่มผู้ค้า คนเร่ร่อน หมอนวดออกนอกพื้นที่สนามหลวงให้ได้ภายใน 2 วัน ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้ทหารช่างเข้าปรับปรุงในวันที่ 1 มีนาคมนี้
ขณะที่ นายเสือชนะกล่าวว่า ที่ผ่านมาทางเขตได้ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมทราบมาตั้งแต่มีนโยบายเมื่อเดือนกันยายน 2552 จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 5 เดือนแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือกับกลุ่มผู้ค้าถึง 5 ครั้งด้วยกัน ผู้ค้าทุกคนต่างรู้ดีจะมาอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ที่อ้างไม่รู้เพื่อที่จะได้เป็นข้อต่อรองกับเรา ทั้งนี้เราอยากให้ผู้ค้าย้ายไปขายที่ริมคลองหลอดและตรอกสาเกก่อนทางเราจะทำโปรโมทให้