“สุขุมพันธุ์” ดันปัญหาช้างเร่ร่อน-ขอทานใน กทม.เป็นวาระชาติแล้ว เสนอรัฐบาลเข้ามาเป็นเจ้าภาพหลักแก้ไข ประชุมนัดแรก 21 ตุลาคมนี้ที่ทำเนียบ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยผลการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานผลปฏิบัติงานตามโครงการ “ช้างยิ้ม” เพื่อแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนขอทานในพื้นที่ กทม. ซึ่งขณะนี้จำนวนช้างเร่ร่อนในพื้นที่ กทม.เหลือเพียงจำนวนหลักหน่วยเท่านั้น จากเดิมที่มีอยู่กว่าประมาณ 200 เชือก ทั้งนี้ เป็นเพราะ กทม.ได้ดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนให้ได้ผลอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องยกระดับปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ มีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือรองรับช้างให้มีที่อยู่อาศัย ตลอดจนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ซึ่งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลเสนอให้มีการจัดประชุมใหญ่ร่วมระหว่างหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และได้รับการตอบรับจากทางรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดให้มีการประชุมในวันที่ 21 ต.ค.นี้ที่ทำเนียบรัฐบาล
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กทม.ยังได้ประสานไปที่จ.สุรินทร์และบุรีรัมย์เพื่อขอความร่วมมือในการรับช้างกลับภูมิลำเนา ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดให้การตอบรับเป็นอย่างดี และในวันที่ 30-31 ต.ค.นี้ ตนและคณะผู้บริหาร กทม.จะลงพื้นที่ จ.สุรินทร์ และจ.บุรีรัมย์ เพื่อรับทราบปัญหาพร้อมจัดเวทีเสวนาพหุภาคีหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในระยะยาวต่อไป
“กทม.มีอำนาจหน้าที่จำกัด ไม่อยากให้มองว่า กทม.ขับไล่ผลักไสช้างออกไปอย่างเดียวโดยไม่สนใจว่าช้างจะอยู่อย่างไร ปัญหาช้างต้องเป็นวาระชาติ จำเป็นต้องให้รัฐบาลรับไปจัดการเพราะหลายด้าน กทม.ไม่สามารถทำได้ เช่นเรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างหรือแม้แต่เรื่องสถานที่รองรับ ซึ่ง กทม.ทำได้เพียงช่วยหาเครือข่ายมาช่วยเหลือเท่านั้น” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยผลการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานผลปฏิบัติงานตามโครงการ “ช้างยิ้ม” เพื่อแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนขอทานในพื้นที่ กทม. ซึ่งขณะนี้จำนวนช้างเร่ร่อนในพื้นที่ กทม.เหลือเพียงจำนวนหลักหน่วยเท่านั้น จากเดิมที่มีอยู่กว่าประมาณ 200 เชือก ทั้งนี้ เป็นเพราะ กทม.ได้ดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนให้ได้ผลอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องยกระดับปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ มีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพหลัก เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือรองรับช้างให้มีที่อยู่อาศัย ตลอดจนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ซึ่งล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้ส่งหนังสือถึงรัฐบาลเสนอให้มีการจัดประชุมใหญ่ร่วมระหว่างหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และได้รับการตอบรับจากทางรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดให้มีการประชุมในวันที่ 21 ต.ค.นี้ที่ทำเนียบรัฐบาล
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ กทม.ยังได้ประสานไปที่จ.สุรินทร์และบุรีรัมย์เพื่อขอความร่วมมือในการรับช้างกลับภูมิลำเนา ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดให้การตอบรับเป็นอย่างดี และในวันที่ 30-31 ต.ค.นี้ ตนและคณะผู้บริหาร กทม.จะลงพื้นที่ จ.สุรินทร์ และจ.บุรีรัมย์ เพื่อรับทราบปัญหาพร้อมจัดเวทีเสวนาพหุภาคีหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในระยะยาวต่อไป
“กทม.มีอำนาจหน้าที่จำกัด ไม่อยากให้มองว่า กทม.ขับไล่ผลักไสช้างออกไปอย่างเดียวโดยไม่สนใจว่าช้างจะอยู่อย่างไร ปัญหาช้างต้องเป็นวาระชาติ จำเป็นต้องให้รัฐบาลรับไปจัดการเพราะหลายด้าน กทม.ไม่สามารถทำได้ เช่นเรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างหรือแม้แต่เรื่องสถานที่รองรับ ซึ่ง กทม.ทำได้เพียงช่วยหาเครือข่ายมาช่วยเหลือเท่านั้น” ผู้ว่าฯ กทม.กล่าว