ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยท้องสนามหลวง รวมถึงเป็นการเริ่มดำเนินการมาตรการ "ทิ้ง จับ ปรับ" เป็นวันแรก เนื่องในโอกาสวันครบรอบปีที่ 24 ของสำนักเทศกิจ ที่บริเวณสนามหลวง หลังเปิดงานเจ้าหน้าที่เทศกิจกว่า 1,000 คน ร่วมล้างทำความสะอาดถนนทางเท้า ตู้โทรศัพท์ การเก็บขยะตามโคนต้นไม้ และแต่งต้นไม้ภายในสนามหลวงด้วย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่สนามหลวงเป็นปัญหาที่มีมาเป็นเวลานาน ยอมรับว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก ดังนั้นจะเริ่มต้นด้วยการการดูแลเรื่องความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยการกำหนดมาตรการทิ้ง จับ ปรับ ช่วงเดือนนี้จะให้ทุกเขตประชาสัมพันธ์ว่าจะมีการใช้มาตรการนี้ และเริ่มจับจริงในวันที่ 1 ตุลาคม โดยกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ละ 2 จุด เมื่อพบจะปรับทันทีตั้งแต่ 100 - 1,000 บาท พร้อมกับทำประวัติด้วย สำหรับกิจกรรมการดูแลความสะอาดพื้นที่ท้องสนามหลวงและบริเวณโดยรอบนั้น จะจัดให้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพื่อความสะอาดสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ สมกับเป็นศูนย์กลางของเมืองหลวงของประเทศ
ส่วนการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนภายในสนามหลวง กทม.จะทำฝ่ายเดียวไม่ได้จะได้ประสานไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงแรงงานในการช่วยดูแลหาที่พักอาศัยที่เป็นหลักแหล่ง และพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ซึ่งการประกาศแก้ไขปัญหาที่สนามหลวง หลายฝ่ายโดยเฉพาะองค์กรเอกชนเกรงว่า กทม.จะใช้มาตรการเด็ดขาดต่อผู้เร่ร่อน เรื่องนี้ได้ยืนยันว่าจะไม่มีการใช้มาตรการรุนแรงกับกลุ่มคนเหล่านี้ โดยอาจจะใช้วิธีการเชิญคนเร่ร่อนชวนมาลงทะเบียน ส่วนปัญหานี้จะไม่กำหนดเวลาตายตัวในการแก้ไข เช่นเดียวกับปัญหาช้างเนื่องจากเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน และเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนในสังคม จึงต้องดำเนินการด้วยความเอื้ออาทร และเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ แต่จะพยายามเร่งแก้ไขพัฒนาพื้นที่ไปพร้อมกับดูแลผู้เร่ร่อนไม่ให้กลับมาใช้พื้นที่สนามหลวงอีก
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ปัญหาในพื้นที่สนามหลวงเป็นปัญหาที่มีมาเป็นเวลานาน ยอมรับว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก ดังนั้นจะเริ่มต้นด้วยการการดูแลเรื่องความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยการกำหนดมาตรการทิ้ง จับ ปรับ ช่วงเดือนนี้จะให้ทุกเขตประชาสัมพันธ์ว่าจะมีการใช้มาตรการนี้ และเริ่มจับจริงในวันที่ 1 ตุลาคม โดยกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่ละ 2 จุด เมื่อพบจะปรับทันทีตั้งแต่ 100 - 1,000 บาท พร้อมกับทำประวัติด้วย สำหรับกิจกรรมการดูแลความสะอาดพื้นที่ท้องสนามหลวงและบริเวณโดยรอบนั้น จะจัดให้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพื่อความสะอาดสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ สมกับเป็นศูนย์กลางของเมืองหลวงของประเทศ
ส่วนการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนภายในสนามหลวง กทม.จะทำฝ่ายเดียวไม่ได้จะได้ประสานไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงแรงงานในการช่วยดูแลหาที่พักอาศัยที่เป็นหลักแหล่ง และพัฒนาทักษะด้านอาชีพ ซึ่งการประกาศแก้ไขปัญหาที่สนามหลวง หลายฝ่ายโดยเฉพาะองค์กรเอกชนเกรงว่า กทม.จะใช้มาตรการเด็ดขาดต่อผู้เร่ร่อน เรื่องนี้ได้ยืนยันว่าจะไม่มีการใช้มาตรการรุนแรงกับกลุ่มคนเหล่านี้ โดยอาจจะใช้วิธีการเชิญคนเร่ร่อนชวนมาลงทะเบียน ส่วนปัญหานี้จะไม่กำหนดเวลาตายตัวในการแก้ไข เช่นเดียวกับปัญหาช้างเนื่องจากเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน และเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนในสังคม จึงต้องดำเนินการด้วยความเอื้ออาทร และเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ แต่จะพยายามเร่งแก้ไขพัฒนาพื้นที่ไปพร้อมกับดูแลผู้เร่ร่อนไม่ให้กลับมาใช้พื้นที่สนามหลวงอีก