“ครูหยุย” เอือม "เอสเอ็มเอส-อีเมล์ขยะ" คุกคาม น่ารำคาญ เอาเปรียบ ล่อลวงประชาชน ยุผู้บริโภคยื่นฟ้องเปิดโปงบริษัท จี้ เครือข่าย-รัฐ หันมาสนใจ “หมอประวิทย์” หนุนเอาอย่างออสสี่ ออกกฎห้ามโทรรบกวน แนะจับตาช่วงฟุตบอลโลก เอสเอ็มเอส ทายพนันผลบอลระบาด
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 ก.พ. ที่สภาคริสตจักรในประเทศไทย เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เครือข่ายผู้บริโภคสื่อ โดยการสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดเสวนา “สิทธิผู้บริโภคสื่อกับแนวทางแก้ไขและการเรียกร้อง”
โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ คณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องข้อความขยะ (SMS) หรืออีเมล์ขยะ ควรเริ่มต้นที่สังคมต้องช่วยกันเปิดโปงบริษัทที่จัดส่ง SMS เหล่านี้ว่า มีบริษัทอะไรบ้าง เพื่อให้สังคมได้ตระหนักว่า บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจอยู่บนการสร้างความรำคาญ เอาเปรียบและล่อลวงประชาชน ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของบริษัททันที แนวทางที่จะแก้ไขได้ดีที่สุดคือ พลังของผู้บริโภคร่วมกันผลักดัน เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกับกรณีของหวยออนไลน์ และกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำเร็จได้ด้วยการรวมตัวของผู้บริโภค
“ปัญหา SMS ขยะ ควรมีการฟ้องร้องเป็นคดีความตัวอย่างขึ้น เพราะทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนได้ดียิ่งกว่าการออกกฎหมายด้วยซ้ำ เรื่องนี้จำเป็นต้องเปิดโปงรายได้จากส่ง SMS ขยะ ว่าเอกชนสามารถกอบโกยรายได้ปีละเท่าไร มีส่วนแบ่งอย่างไร รัฐบาลได้รับส่วนแบ่งด้วยหรือไม่ เพราะหากไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ การเคลื่อนไหวในการแก้ไขปัญหาก็คงเป็นแค่การเปิดวงเสวนาแล้วมาบ่นให้กันฟังเท่านั้น ขณะที่ภาครัฐควรทำหน้าที่ควบคุมและจัดการปัญหาด้วย” นายวัลลภ กล่าว
ด้านนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ปัญหาข้อความขยะ หรืออีเมล์ขยะ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าของข้อมูลทั้งอีเมล์ และหมายเลขโทรศัพท์ ไม่สามารถที่จะปฏิเสธไม่รับข้อความ หรือเตือนให้รู้ก่อน ตนเคยหลวมตัวไปตามคำเชิญชวนทางอินเตอร์เน็ต เป็นการสมัครเข้ารับบริการไม่พึงประสงค์ไปแล้วและต้องเสียค่าบริการรับข้อความโดยไม่รู้ตัว
ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ พบประชาชน 10.1% เคยใช้บริการ 1900-xxxx-xxxx และใช้บริการรับ-ส่งSMS ดูดวง ทำนายโชคชะตา เล่นเกม ตอบคำถามชิงรางวัล โหลดเพลง ทายผลฟุตบอล เป็นต้น ซึ่งถูกคิดค่าบริการแพงครั้งละ 3-30 บาท ขณะที่ต้นทุนการส่งSMS มีราคาเพียงครั้งละไม่เกิน 25 สตางค์เท่านั้น
นพ.ประวิทย์ กล่าวอีกว่า ภาครัฐควรจะต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลบริการเสริมเหล่านี้ โดยเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ออกมาตรการห้ามโทรรบกวน(Do not call) เหมือนกับประเทศออสเตรเลีย ที่ให้โอกาสประชาชนปฏิเสธไม่รับโทรศัพท์ส่งเสริมการขายทุกประเภท ด้วยการลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการส่ง SMS ทายผลชิงรางวัล ซึ่งเข้าข่ายการพนัน ได้รับความสนใจจากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพราะหวังจะได้รางวัลที่นำมาจูงใจไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ทองคำหนัก 10 บาท คาดว่าธุรกิจนี้มีเงินหมุนเวียนนับพันล้านบาท
นายอิทธิพล ปรีติประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ถึงสิทธิผู้บริโภคพื้นฐาน จึงทำให้ถูกละเมิดสิทธิเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับการดูแลมีทั้งสิ้น 7 ด้าน คือ 1.สิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วน ถูกต้อง 2.สิทธิการเข้าถึงสื่อที่เหมาะสมในช่วงแต่ละวัย 3.สิทธิของคนไทยที่ควรมีสื่อสร้างสรรค์ 4.สิทธิได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5.สิทธิได้รับการคุ้มครองจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การสื่อสารที่ไม่ปลอดภัย 6.การมีส่วนรวมในการบริหารจัดการสื่อของรัฐ และ7.สิทธิได้รับการเยียวยาจากความเสียหายจากการคุกคามของสื่อ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญไทย
นายแบ๊งค์ งามอรุณโชติ นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในต่างประเทศ กรณีปัญหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาคุกคามชีวิตประจำวัน สามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยได้ถึงร้อยเหรียญสหรัฐฯ เพราะนอกจากจะเป็นรบกวนคุณภาพชีวิตในแง่ของความรู้สึก หรือเป็นการชี้นำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้กับเยาวชนแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเราถูกนำไปขายให้กับบริษัทเหล่านี้ ดังนั้นควรมีการนำผลกำไรที่ได้จากการขายสินค้าเหล่านี้มาชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับด้วย
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 ก.พ. ที่สภาคริสตจักรในประเทศไทย เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เครือข่ายผู้บริโภคสื่อ โดยการสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดเสวนา “สิทธิผู้บริโภคสื่อกับแนวทางแก้ไขและการเรียกร้อง”
โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ คณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องข้อความขยะ (SMS) หรืออีเมล์ขยะ ควรเริ่มต้นที่สังคมต้องช่วยกันเปิดโปงบริษัทที่จัดส่ง SMS เหล่านี้ว่า มีบริษัทอะไรบ้าง เพื่อให้สังคมได้ตระหนักว่า บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจอยู่บนการสร้างความรำคาญ เอาเปรียบและล่อลวงประชาชน ซึ่งจะกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของบริษัททันที แนวทางที่จะแก้ไขได้ดีที่สุดคือ พลังของผู้บริโภคร่วมกันผลักดัน เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกับกรณีของหวยออนไลน์ และกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำเร็จได้ด้วยการรวมตัวของผู้บริโภค
“ปัญหา SMS ขยะ ควรมีการฟ้องร้องเป็นคดีความตัวอย่างขึ้น เพราะทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนได้ดียิ่งกว่าการออกกฎหมายด้วยซ้ำ เรื่องนี้จำเป็นต้องเปิดโปงรายได้จากส่ง SMS ขยะ ว่าเอกชนสามารถกอบโกยรายได้ปีละเท่าไร มีส่วนแบ่งอย่างไร รัฐบาลได้รับส่วนแบ่งด้วยหรือไม่ เพราะหากไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ การเคลื่อนไหวในการแก้ไขปัญหาก็คงเป็นแค่การเปิดวงเสวนาแล้วมาบ่นให้กันฟังเท่านั้น ขณะที่ภาครัฐควรทำหน้าที่ควบคุมและจัดการปัญหาด้วย” นายวัลลภ กล่าว
ด้านนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) กล่าวว่า ปัญหาข้อความขยะ หรืออีเมล์ขยะ สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าของข้อมูลทั้งอีเมล์ และหมายเลขโทรศัพท์ ไม่สามารถที่จะปฏิเสธไม่รับข้อความ หรือเตือนให้รู้ก่อน ตนเคยหลวมตัวไปตามคำเชิญชวนทางอินเตอร์เน็ต เป็นการสมัครเข้ารับบริการไม่พึงประสงค์ไปแล้วและต้องเสียค่าบริการรับข้อความโดยไม่รู้ตัว
ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ พบประชาชน 10.1% เคยใช้บริการ 1900-xxxx-xxxx และใช้บริการรับ-ส่งSMS ดูดวง ทำนายโชคชะตา เล่นเกม ตอบคำถามชิงรางวัล โหลดเพลง ทายผลฟุตบอล เป็นต้น ซึ่งถูกคิดค่าบริการแพงครั้งละ 3-30 บาท ขณะที่ต้นทุนการส่งSMS มีราคาเพียงครั้งละไม่เกิน 25 สตางค์เท่านั้น
นพ.ประวิทย์ กล่าวอีกว่า ภาครัฐควรจะต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลบริการเสริมเหล่านี้ โดยเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ออกมาตรการห้ามโทรรบกวน(Do not call) เหมือนกับประเทศออสเตรเลีย ที่ให้โอกาสประชาชนปฏิเสธไม่รับโทรศัพท์ส่งเสริมการขายทุกประเภท ด้วยการลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะการส่ง SMS ทายผลชิงรางวัล ซึ่งเข้าข่ายการพนัน ได้รับความสนใจจากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพราะหวังจะได้รางวัลที่นำมาจูงใจไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ ทองคำหนัก 10 บาท คาดว่าธุรกิจนี้มีเงินหมุนเวียนนับพันล้านบาท
นายอิทธิพล ปรีติประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้ถึงสิทธิผู้บริโภคพื้นฐาน จึงทำให้ถูกละเมิดสิทธิเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับการดูแลมีทั้งสิ้น 7 ด้าน คือ 1.สิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วน ถูกต้อง 2.สิทธิการเข้าถึงสื่อที่เหมาะสมในช่วงแต่ละวัย 3.สิทธิของคนไทยที่ควรมีสื่อสร้างสรรค์ 4.สิทธิได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 5.สิทธิได้รับการคุ้มครองจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การสื่อสารที่ไม่ปลอดภัย 6.การมีส่วนรวมในการบริหารจัดการสื่อของรัฐ และ7.สิทธิได้รับการเยียวยาจากความเสียหายจากการคุกคามของสื่อ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญไทย
นายแบ๊งค์ งามอรุณโชติ นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในต่างประเทศ กรณีปัญหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาคุกคามชีวิตประจำวัน สามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยได้ถึงร้อยเหรียญสหรัฐฯ เพราะนอกจากจะเป็นรบกวนคุณภาพชีวิตในแง่ของความรู้สึก หรือเป็นการชี้นำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้กับเยาวชนแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเราถูกนำไปขายให้กับบริษัทเหล่านี้ ดังนั้นควรมีการนำผลกำไรที่ได้จากการขายสินค้าเหล่านี้มาชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับด้วย