วธ.เริ่มบูรณะอยุธยาแล้ว จัดพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัติรย์ ประเดิมใจกลางมรดกโลก “สมเด็จพระเทพฯ” ทรงพระกรุณารับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการ กรมศิลป์เร่งรวมกระเบื้องเชิงลาย-เอกสารร.5 ฟื้นสถาปัตยกรรมพระราชวังสมัยอยุธยา เป็น “ภาพสันนิษฐาน” โมเดลจำลอง ใช้แอนนิเมชั่นหวังช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ -เรียกนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ศึกษาเมืองกรุงเก่า
วันนี้(4 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.19 น. เรืออากาศเอกสุริยะ ศึกษากิจ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยผู้บริหารบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ร่วมพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตริย์เพื่ออนุรักษ์พัฒนาบริเวณใจกลางมรดกโลกอยุธยา ณ พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา
นายเกรียงไกร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวอนุรักษ์พัฒนาบริเวณใจกลางมรดกโลกอยุธยาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีเป้าหมายและแผนงานบูรณะฟื้นฟูบริเวณใจกลาง (core zone) โบราณสถานมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา โดยการสนับสนุนงบประมาณของ ปตท.สผ.กว่า 68 ล้านบาท ทั้งนี้การอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จในวาระเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปี 2554
“จากแผนงานเบื้องต้นขณะนี้เริ่มทำได้ในส่วนของวัดทั้งหมด 6 แห่งแล้ว โดยมีการทำภาพสันนิษฐานและโมเดลจำลอง หากแล้วเสร็จก็จะไปติดตั้งตามจุดต่างๆ ในวัดเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว ขณะที่ในส่วนพระราชวังโบราณต่างๆ นั้น จะต้องมีการขุดสำรวจเพิ่มเติมบริเวณใต้พื้นดินก่อนว่าข้างล่างมีอะไรเพื่อความชัดเจน จากนั้นจึงจะดำเนินการทำภาพสันนิษฐานและโมเดลจำลอง เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมดในพื้นที่ว่าวัดและพระราชวังต่างๆ สมัยก่อนตั้งอยู่ในทิศใด พร้อมกันนี้จะทำภาพแอนิเมชั่นประกอบไว้ให้ได้ศึกษาภายในศูนย์ข้อมูลเรียนรู้ด้วย” นายเกรียงไกร กล่าว
ด้านนายเมธาดล วิจักขณะ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า จุดสำคัญในโครงการนี้คือการทำป้ายภาพสันนิษฐานภาพและโมเดลที่สมบูรณ์แบบที่สุด เป็นภาพสามมิติ ซึ่งทางกรมศิลปากรเป็นผู้คิดค้นโดยใช้ฐานข้อมูลจากประวัติศาสตร์มาประมวลผลผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ออกมาเป็นภาพสันนิษฐานและโมเดลที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด โดยเฉพาะการจำลองรูปแบบของพระราชวังโบราณทั้งหมด ขณะนี้ได้ทำการขุดค้นพระราชวังโบราณเพิ่มเติม เบื้องต้นพบกระเบื้องเชิงลาย กระเบื้องมุงหลังคา พร้อมกับค้นคว้าเอกสารเก่าเพิ่มเติมเป็นหลักฐานเพื่อให้การจำลองในส่วนพระราชวังออกมาเหมือนของเดิมให้มากที่สุด
นายเมธาดล กล่าวต่อไปว่า ในส่วนวัดพระศรีสรรเพชญ รูปแบบโมเดลสร้างขึ้นมาจากการเสากลมกลางวิหารที่เหลืออยู่เพียงต้นเดียว ขณะที่วัดมหาธาตุได้ต้นแบบโมเดลจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบกับแผนที่เก่าของชาวดัชช์ที่ทำไว้ ซึ่งนวัตกรรมนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรนำมาใช้กับอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา คาดว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาชมอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยามากขึ้น จากเดิมที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีละ 1.2 ล้านคน จาก 92 ประเทศ โดยร้อยละ 60 เป็นชาวยุโรป และเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาการทำลายแหล่งโบราณสถานด้วย
วันนี้(4 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.19 น. เรืออากาศเอกสุริยะ ศึกษากิจ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยผู้บริหารบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ร่วมพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตริย์เพื่ออนุรักษ์พัฒนาบริเวณใจกลางมรดกโลกอยุธยา ณ พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา
นายเกรียงไกร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวอนุรักษ์พัฒนาบริเวณใจกลางมรดกโลกอยุธยาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีเป้าหมายและแผนงานบูรณะฟื้นฟูบริเวณใจกลาง (core zone) โบราณสถานมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา โดยการสนับสนุนงบประมาณของ ปตท.สผ.กว่า 68 ล้านบาท ทั้งนี้การอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จในวาระเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปี 2554
“จากแผนงานเบื้องต้นขณะนี้เริ่มทำได้ในส่วนของวัดทั้งหมด 6 แห่งแล้ว โดยมีการทำภาพสันนิษฐานและโมเดลจำลอง หากแล้วเสร็จก็จะไปติดตั้งตามจุดต่างๆ ในวัดเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว ขณะที่ในส่วนพระราชวังโบราณต่างๆ นั้น จะต้องมีการขุดสำรวจเพิ่มเติมบริเวณใต้พื้นดินก่อนว่าข้างล่างมีอะไรเพื่อความชัดเจน จากนั้นจึงจะดำเนินการทำภาพสันนิษฐานและโมเดลจำลอง เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมดในพื้นที่ว่าวัดและพระราชวังต่างๆ สมัยก่อนตั้งอยู่ในทิศใด พร้อมกันนี้จะทำภาพแอนิเมชั่นประกอบไว้ให้ได้ศึกษาภายในศูนย์ข้อมูลเรียนรู้ด้วย” นายเกรียงไกร กล่าว
ด้านนายเมธาดล วิจักขณะ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า จุดสำคัญในโครงการนี้คือการทำป้ายภาพสันนิษฐานภาพและโมเดลที่สมบูรณ์แบบที่สุด เป็นภาพสามมิติ ซึ่งทางกรมศิลปากรเป็นผู้คิดค้นโดยใช้ฐานข้อมูลจากประวัติศาสตร์มาประมวลผลผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ออกมาเป็นภาพสันนิษฐานและโมเดลที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด โดยเฉพาะการจำลองรูปแบบของพระราชวังโบราณทั้งหมด ขณะนี้ได้ทำการขุดค้นพระราชวังโบราณเพิ่มเติม เบื้องต้นพบกระเบื้องเชิงลาย กระเบื้องมุงหลังคา พร้อมกับค้นคว้าเอกสารเก่าเพิ่มเติมเป็นหลักฐานเพื่อให้การจำลองในส่วนพระราชวังออกมาเหมือนของเดิมให้มากที่สุด
นายเมธาดล กล่าวต่อไปว่า ในส่วนวัดพระศรีสรรเพชญ รูปแบบโมเดลสร้างขึ้นมาจากการเสากลมกลางวิหารที่เหลืออยู่เพียงต้นเดียว ขณะที่วัดมหาธาตุได้ต้นแบบโมเดลจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบกับแผนที่เก่าของชาวดัชช์ที่ทำไว้ ซึ่งนวัตกรรมนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรนำมาใช้กับอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา คาดว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาชมอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยามากขึ้น จากเดิมที่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีละ 1.2 ล้านคน จาก 92 ประเทศ โดยร้อยละ 60 เป็นชาวยุโรป และเชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาการทำลายแหล่งโบราณสถานด้วย