อย.เข้มมาตรการรองรับ “อาฟตา” หากนำเข้าข้าวขายผู้บริโภคโดยตรงต้องขออนุญาต ปฏิบัติตามระเบียบ อย. ฉลากต้องระบุรายละเอียด ถ้านำเข้าข้าวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า แต่ต้องมีใบอนุญาตผลิตอาหารและต้องขอผ่อนผันการนำเข้า พร้อมแสดงหลักฐาน ณ ด่านนำเข้า พร้อมตรวจเข้มวิเคราะห์หาสารฆ่าแมลงและสารปนเปื้อน หากพบว่าไม่ได้มาตรฐาน ผู้นำเข้าจะถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวด
วันที่ 15 มกราคม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ภายหลังการประกาศลดอัตราภาษีสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ให้เหลือร้อยละ 0 โดยมีผลให้ผลิตผลทางการเกษตร 23 ชนิด ลดภาษีการนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของข้าวนั้น หากเป็นการนำเข้าข้าวเพื่อจำหน่ายผู้บริโภคโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตนำเข้าจาก อย. และต้องมีฉลากระบุรายละเอียด เช่น ชื่ออาหาร ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ชื่อที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต ปริมาณสุทธิ และส่วนประกอบที่สำคัญ เป็นต้น ถ้าเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ผู้นำเข้าไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า แต่ต้องยื่นขอผ่อนผันการนำเข้า โดยต้องมีใบอนุญาตผลิตอาหาร รวมทั้งต้องแจ้งประเภทผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตและแสดงสูตรการผลิตให้เจ้าหน้าที่พิจารณาด้วย และแสดงหลักฐาน ณ ด่านนำเข้า
“การนำเข้าข้าวเข้ามาภายในประเทศนั้น ด่านอาหารและยาจะเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้าง เช่น สารฆ่าแมลง อะฟลาทอกซิน โลหะหนัก โดยหากพบว่ามีสารตกค้างดังกล่าว จะจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และดำเนินการเรียกเก็บคืนสินค้าดังกล่าว อีกทั้งยังจะถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้ประกอบการที่ต้องจับตาระวังเป็นกรณีพิเศษ โดยผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าในครั้งถัดไป จะถูกนำเข้าระบบกักกันสินค้าด้วยการอายัดสินค้าทันที ณ ด่านนำเข้า และถูกเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างเข้มงวดในแต่ละครั้งจะปล่อยผ่านต่อเมื่อไม่พบสารตกค้าง หากผลการตรวจพบไม่ได้มาตรฐาน สินค้านั้นจะถูกทำลายทันที หากการนำเข้ามีผลตรวจสอบพบว่าสินค้ามีคุณภาพ 3 ครั้ง ติดต่อกัน จึงจะถูกนำออกจากระบบกักกันสินค้า” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนในกรณีที่ไม่แสดงฉลาก ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกตามมาตรา 6 (10) มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท โดยหากผู้นำเข้ามีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ 0-2590-7349 ทั้งนี้ อาหารอื่นๆ ที่อยู่ในเกณฑ์ AFTA เช่น เมล็ดกาแฟ น้ำมันมะพร้าว นม จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น โลหะหนัก และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เป็นต้น จึงขอให้ผู้ประกอบการนำเข้าดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายด้วย
อนึ่ง หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการรองรับอย่างเต็มที่ โดยได้มีการกำหนดมาตรการกำกับดูแลและติดตามการนำเข้าข้าว 5 มาตรการคือ 1) กำหนดคุณสมบัติของผู้นำเข้าข้าวและพิจารณาชนิดข้าวที่จะนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ 2) ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า 3) กำหนดด่านนำเข้า 4) กำหนดระยะเวลาการนำเข้า 5) กำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าว มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดตามกติกาสากลและเงื่อนไขปลอด จีเอ็มโอ (GMOs)
วันที่ 15 มกราคม นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ภายหลังการประกาศลดอัตราภาษีสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ให้เหลือร้อยละ 0 โดยมีผลให้ผลิตผลทางการเกษตร 23 ชนิด ลดภาษีการนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของข้าวนั้น หากเป็นการนำเข้าข้าวเพื่อจำหน่ายผู้บริโภคโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตนำเข้าจาก อย. และต้องมีฉลากระบุรายละเอียด เช่น ชื่ออาหาร ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ชื่อที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต ปริมาณสุทธิ และส่วนประกอบที่สำคัญ เป็นต้น ถ้าเป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ผู้นำเข้าไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า แต่ต้องยื่นขอผ่อนผันการนำเข้า โดยต้องมีใบอนุญาตผลิตอาหาร รวมทั้งต้องแจ้งประเภทผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตและแสดงสูตรการผลิตให้เจ้าหน้าที่พิจารณาด้วย และแสดงหลักฐาน ณ ด่านนำเข้า
“การนำเข้าข้าวเข้ามาภายในประเทศนั้น ด่านอาหารและยาจะเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้าง เช่น สารฆ่าแมลง อะฟลาทอกซิน โลหะหนัก โดยหากพบว่ามีสารตกค้างดังกล่าว จะจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และดำเนินการเรียกเก็บคืนสินค้าดังกล่าว อีกทั้งยังจะถูกขึ้นบัญชีเป็นผู้ประกอบการที่ต้องจับตาระวังเป็นกรณีพิเศษ โดยผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าในครั้งถัดไป จะถูกนำเข้าระบบกักกันสินค้าด้วยการอายัดสินค้าทันที ณ ด่านนำเข้า และถูกเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์อย่างเข้มงวดในแต่ละครั้งจะปล่อยผ่านต่อเมื่อไม่พบสารตกค้าง หากผลการตรวจพบไม่ได้มาตรฐาน สินค้านั้นจะถูกทำลายทันที หากการนำเข้ามีผลตรวจสอบพบว่าสินค้ามีคุณภาพ 3 ครั้ง ติดต่อกัน จึงจะถูกนำออกจากระบบกักกันสินค้า” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนในกรณีที่ไม่แสดงฉลาก ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกตามมาตรา 6 (10) มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท โดยหากผู้นำเข้ามีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ 0-2590-7349 ทั้งนี้ อาหารอื่นๆ ที่อยู่ในเกณฑ์ AFTA เช่น เมล็ดกาแฟ น้ำมันมะพร้าว นม จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น โลหะหนัก และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เป็นต้น จึงขอให้ผู้ประกอบการนำเข้าดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายด้วย
อนึ่ง หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการรองรับอย่างเต็มที่ โดยได้มีการกำหนดมาตรการกำกับดูแลและติดตามการนำเข้าข้าว 5 มาตรการคือ 1) กำหนดคุณสมบัติของผู้นำเข้าข้าวและพิจารณาชนิดข้าวที่จะนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ 2) ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า 3) กำหนดด่านนำเข้า 4) กำหนดระยะเวลาการนำเข้า 5) กำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าว มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดตามกติกาสากลและเงื่อนไขปลอด จีเอ็มโอ (GMOs)