ศธ.-ม.ศรีปทุม-สสส.-ไทกู๊ดวิว ผนึกกำลัง สานต่อ “ประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2” เด็กร้อยเอ็ด-นครปฐม เจ๋ง คว้าถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ ไปครอง พร้อมปูพื้นฐานเยาวชนไทยเข้าสู่ยุคดิจิตอล ในอีก 5 ปี หวังลดปัญหาวัยโจ๋ใช้เน็ตไม่เกิดประโยชน์ อึ้งผลสำรวจ 60 %เด็กไทยเล่นเน็ตไม่สนหนังสือ อ่านแค่ปีละ 2 เล่มต่อคน ขณะที่เวียดนามแซงหน้าอ่านคนละ 60 เล่ม
วันที่ 15 มกราคม ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเว็บไซต์ไทกู๊ดวิว ดอดคอม จัดพิธีรับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการประกวดสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (Digital Learning contest 2) เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนใช้ความสามารถในการประกวดสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบเว็บไซต์ สื่อสารคดีประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า ในปี 2015 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเป็นทางการ ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของประชาคมโลก และสิ่งที่น่าสนใจคือการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัล ซึ่งไทยก็ต้องมีการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นโครงการประกวดสื่อฯครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทยในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมกับตัวเองในยุคที่ข้อมูลข่าวสารจะเข้ามาทุกช่องทาง
ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดอบรมเทคนิคในการใช้สื่อให้กับผู้เข้าร่วมประกวดมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้จัดทำเป็นซีดีการอบรม เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมอบให้โรงเรียนต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ ทั้งนี้การแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 รุ่นคือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้ว ยังมีของรางวัลเช่น ทุนการศึกษาจากสถาบัน Net Design มูลค่า 100,000 บาท โดยได้รับเกียรติจากตัวเเทน UNICEF ประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวแสดงความยินดีและร่วมมอบรางวัลในครั้งนี้ด้วย
นางเบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์ ผอ.สำนัก การสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ และบริการสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สำหรับโรงเรียนที่ได้รับถ้วยรางวัลในการแข่งขันครั้งนี้ ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ในชื่อเรื่อง “ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต” ประกอบด้วย 1.นางกลิ่นสุคนธ์ จอมไพรศรี 2.ด.ช.นัฐพล ตุงคุณะ 3.ด.ช.อนรักษ์ อาจสี 4. ด.ช.อัษฏายุทธ แทนไธสง และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ในชื่อเรื่อง “การถ่ายทอดทางพันธุกรรม” ประกอบด้วย 1.นางสาวอรวรรณ ปิยะบุญ 2.นายธนพล จันทน์จรุง 3.นางสาวสรวีย์ ธัญญมาดา 4.นายพสิษฐ์ บูรณะกูล
นางเบญจมาภรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาสื่อการเรียนรู้ในอินเทอร์เน็ตมีไม่ครอบคลุม เยาวชนจึงไม่มีทางเลือก ทำให้เยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงมากกว่าหาความรู้ อีกทั้งเยาวชนใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตและรับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่าหนังสือ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2552 ในเด็กระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ที่พบว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเพียงปีละ 2 เล่ม ลดลงถึง 60% หากเปรียบเทียบกับปี 2548 ที่เด็กไทยอ่านหนังสือ ปีละ 5 เล่มต่อคน ต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ที่มีการอ่านหนังสือ 60 เล่มต่อคนต่อปี
นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้มีนักเรียนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แสดงว่าเยาวชนหันมาใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และผลิตผลงานที่สร้างสรรค์ในรูปแบบของบทเรียนช่วยสอน เว็บเพจสื่อการสอน บทความ บันทึก (บล็อก) สารคดีสั้น ในระบบอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคต ภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ จะให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาใช้กับระบบการศึกษาต่อไป
วันที่ 15 มกราคม ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเว็บไซต์ไทกู๊ดวิว ดอดคอม จัดพิธีรับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการประกวดสื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (Digital Learning contest 2) เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนใช้ความสามารถในการประกวดสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบเว็บไซต์ สื่อสารคดีประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า ในปี 2015 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า โลกจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเป็นทางการ ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของประชาคมโลก และสิ่งที่น่าสนใจคือการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัล ซึ่งไทยก็ต้องมีการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นโครงการประกวดสื่อฯครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทยในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมกับตัวเองในยุคที่ข้อมูลข่าวสารจะเข้ามาทุกช่องทาง
ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดอบรมเทคนิคในการใช้สื่อให้กับผู้เข้าร่วมประกวดมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้จัดทำเป็นซีดีการอบรม เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมอบให้โรงเรียนต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ ทั้งนี้การแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 รุ่นคือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้ว ยังมีของรางวัลเช่น ทุนการศึกษาจากสถาบัน Net Design มูลค่า 100,000 บาท โดยได้รับเกียรติจากตัวเเทน UNICEF ประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวแสดงความยินดีและร่วมมอบรางวัลในครั้งนี้ด้วย
นางเบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์ ผอ.สำนัก การสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ และบริการสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สำหรับโรงเรียนที่ได้รับถ้วยรางวัลในการแข่งขันครั้งนี้ ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ในชื่อเรื่อง “ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต” ประกอบด้วย 1.นางกลิ่นสุคนธ์ จอมไพรศรี 2.ด.ช.นัฐพล ตุงคุณะ 3.ด.ช.อนรักษ์ อาจสี 4. ด.ช.อัษฏายุทธ แทนไธสง และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ในชื่อเรื่อง “การถ่ายทอดทางพันธุกรรม” ประกอบด้วย 1.นางสาวอรวรรณ ปิยะบุญ 2.นายธนพล จันทน์จรุง 3.นางสาวสรวีย์ ธัญญมาดา 4.นายพสิษฐ์ บูรณะกูล
นางเบญจมาภรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาสื่อการเรียนรู้ในอินเทอร์เน็ตมีไม่ครอบคลุม เยาวชนจึงไม่มีทางเลือก ทำให้เยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงมากกว่าหาความรู้ อีกทั้งเยาวชนใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตและรับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่าหนังสือ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2552 ในเด็กระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ที่พบว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเพียงปีละ 2 เล่ม ลดลงถึง 60% หากเปรียบเทียบกับปี 2548 ที่เด็กไทยอ่านหนังสือ ปีละ 5 เล่มต่อคน ต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ที่มีการอ่านหนังสือ 60 เล่มต่อคนต่อปี
นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้มีนักเรียนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แสดงว่าเยาวชนหันมาใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และผลิตผลงานที่สร้างสรรค์ในรูปแบบของบทเรียนช่วยสอน เว็บเพจสื่อการสอน บทความ บันทึก (บล็อก) สารคดีสั้น ในระบบอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม คาดว่าในอนาคต ภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ จะให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาใช้กับระบบการศึกษาต่อไป