เผยเกณฑ์สอบคัดเลือกเข้าเรียน ม.4 ปีการศึกษา 2553 หลักสูตรความสามารถพิเศษคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย และโครงการ วมว.ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกาศรับพร้อมกันวันที่ 1-31 ส.ค.นี้ ทำการสอบเข้มสองรอบ
วันนี้ (16 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในการแถลงข่าวการรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีทิ่ 4 ประจำปีการศึกษา 2553 ในหลักสูตรผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย และโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (โครงการ วมว.) โดยกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อำนวยการ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ กล่าวว่า โรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษดังกล่าว เข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2544 โดยในปีการศึกษา 2553 นี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ได้มีข้อตกลงที่จะร่วมกันคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เข้าเป็นนักเรียนร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์และนัก เรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ซึ่งผู้สมัครต้องกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2552 โดยต้องมีผลการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีระดับคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาในชั้น ม.1 ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00 ระดับคะแนนเฉลี่ยรายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นม.1 ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00 โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2552นี้
ส่วนการสอบคัดเลือกนั้นจะมีขึ้น 2 รอบ โดยในรอบแรกจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 โดยสอบวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ ตามสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งจะมีการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกรอบแรกจำนวน 1,940 คน ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 สำหรับนักเรียนที่มีรายชื่อจะต้องเข้าสอบรอบสอง ณ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ หรือ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 9-10 มกราคม 2553 จากนั้นจะทำการประกาศผลสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2553 ของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 240 คน และห้องวิทยาศาสตร์ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง แห่งละ 24 คน รวมทั้งสิ้น 528 คน ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ทั้งนี้การประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกนั้นจะประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ http://www.mwit.ac.th ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ของแต่ละจังหวัด
“กลุ่ม ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ และ ร.ร.จุฬภรณราชวิทยาลัย ได้มีการปรับหลักสูตรใหม่ปี 52 หลักจากที่พบว่านักเรียนที่เข้าเรียนมีศักยภาพสูง มีการเรียนในหลักสูตรที่ล้ำลึกมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เคมี และคอมพิวเตอร์ ที่ปรับปรุงให้มีความเทียบเท่ากับหลักสูตรวิชาการโอลิมปิก และนอกจากจะเน้นในเรื่องของวิชาการที่เข้มข้นแล้ว ยังมีการส่งเสริมในส่วนของการมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม การสร้างจิตสำนึกแก่ผู้อื่น อีกทั้งการจะสร้างให้นักเรียนของเราเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพได้นั้นต้องผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของการเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพอีกด้วย” ผอ.ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์กล่าว
ด้าน ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวถึงโครงการ วมว.ว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ภูมิภาคมีโอกาสได้เรียนหลักสูตรคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ขั้นสูงโดยที่ไม่ต่องเดินทางเข้ายังเมืองหลวง โดยในแต่ละภูมิภาคได้มีการจับคู่โรงเรียนร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมมีการนำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับโรงเรียนดรุณสิกขาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามในปีนี้ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการส่งเสริมการเรียนลงไปสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงทำให้มีการขยายโครงการอีก 1 แห่งคือที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้เข้าโครงการเป็นปีแรกด้วย
ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2553 นั้น วท.และมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ได้มีข้อตกลงให้ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์เป็นผู้ดำเนินการรับสมัคร และคัดเลือกนักเรียนรอบแรก จากนักเรียนทั่วประเทศที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อสอบเดียวกันในการสอบคัดเลือกนักเรียนของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ และนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง โดยการสอบคัดเลือกรอบแรกจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 ก่อนที่จะประกาศผลสอบรอบแรกในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 จากนั้นจะทำการสอบรอบสองระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2553 โดยในการสอบรอบสองนี้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอง และจะทำการประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 ในโครงการซึ่งคัดจนเหลือจำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
สำหรับนักเรียนที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โรงเรียนที่กำลังศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ของแต่ละจังหวัด ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ หรือเว็บไซต์ http://www.mwit.ac.th และที่ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง
วันนี้ (16 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในการแถลงข่าวการรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีทิ่ 4 ประจำปีการศึกษา 2553 ในหลักสูตรผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย และโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (โครงการ วมว.) โดยกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อำนวยการ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ กล่าวว่า โรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษดังกล่าว เข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียน ตั้งแต่ปี 2544 โดยในปีการศึกษา 2553 นี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ได้มีข้อตกลงที่จะร่วมกันคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เข้าเป็นนักเรียนร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์และนัก เรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ซึ่งผู้สมัครต้องกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา 2552 โดยต้องมีผลการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีระดับคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาในชั้น ม.1 ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00 ระดับคะแนนเฉลี่ยรายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชั้นม.1 ม.2 ไม่ต่ำกว่า 3.00 โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2552นี้
ส่วนการสอบคัดเลือกนั้นจะมีขึ้น 2 รอบ โดยในรอบแรกจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 โดยสอบวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ ตามสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งจะมีการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกรอบแรกจำนวน 1,940 คน ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 สำหรับนักเรียนที่มีรายชื่อจะต้องเข้าสอบรอบสอง ณ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ หรือ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 9-10 มกราคม 2553 จากนั้นจะทำการประกาศผลสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2553 ของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 240 คน และห้องวิทยาศาสตร์ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง แห่งละ 24 คน รวมทั้งสิ้น 528 คน ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ทั้งนี้การประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกนั้นจะประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ http://www.mwit.ac.th ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ของแต่ละจังหวัด
“กลุ่ม ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ และ ร.ร.จุฬภรณราชวิทยาลัย ได้มีการปรับหลักสูตรใหม่ปี 52 หลักจากที่พบว่านักเรียนที่เข้าเรียนมีศักยภาพสูง มีการเรียนในหลักสูตรที่ล้ำลึกมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เคมี และคอมพิวเตอร์ ที่ปรับปรุงให้มีความเทียบเท่ากับหลักสูตรวิชาการโอลิมปิก และนอกจากจะเน้นในเรื่องของวิชาการที่เข้มข้นแล้ว ยังมีการส่งเสริมในส่วนของการมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม การสร้างจิตสำนึกแก่ผู้อื่น อีกทั้งการจะสร้างให้นักเรียนของเราเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพได้นั้นต้องผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของการเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพอีกด้วย” ผอ.ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์กล่าว
ด้าน ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวถึงโครงการ วมว.ว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ภูมิภาคมีโอกาสได้เรียนหลักสูตรคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ขั้นสูงโดยที่ไม่ต่องเดินทางเข้ายังเมืองหลวง โดยในแต่ละภูมิภาคได้มีการจับคู่โรงเรียนร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมมีการนำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับโรงเรียนดรุณสิกขาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กับโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามในปีนี้ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการส่งเสริมการเรียนลงไปสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงทำให้มีการขยายโครงการอีก 1 แห่งคือที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้เข้าโครงการเป็นปีแรกด้วย
ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2553 นั้น วท.และมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ได้มีข้อตกลงให้ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์เป็นผู้ดำเนินการรับสมัคร และคัดเลือกนักเรียนรอบแรก จากนักเรียนทั่วประเทศที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยใช้ข้อสอบเดียวกันในการสอบคัดเลือกนักเรียนของ ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ และนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ของ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง โดยการสอบคัดเลือกรอบแรกจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 ก่อนที่จะประกาศผลสอบรอบแรกในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 จากนั้นจะทำการสอบรอบสองระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม 2553 โดยในการสอบรอบสองนี้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกเอง และจะทำการประกาศผลการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 ในโครงการซึ่งคัดจนเหลือจำนวนรวมทั้งสิ้น 150 คน ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553
สำหรับนักเรียนที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โรงเรียนที่กำลังศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ของแต่ละจังหวัด ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ หรือเว็บไซต์ http://www.mwit.ac.th และที่ ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง