สพฉ.ชี้จุดอ่อนเหตุสารพิษรั่วในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะขาดการประสานงานที่ดี บอร์ด สพฉ.เตรียมประชุมด่วนจันทร์นี้หาทางรับมือทันท่วงที อุบัติเหตุปีใหม่ตั้งเป้าลดการเสียชีวิต-บาดเจ็บลงร้อยละ 5
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เปิดเผยถึงกรณีระยะนี้เกิดเหตุฉุกเฉินจากสารพิษรั่วในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นว่า การรับมือของ สพฉ.ทำได้ทันทีที่ได้รับแจ้งมา เช่นเมื่อคืนนี้ เมื่อเกิดเหตุโรงงานแจ้งมาที่ศูนย์ 1669 ขณะเดียวกันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ก็แจ้งมายังตน แต่จุดอ่อนของสถานการณ์เมื่อคืน อยู่ที่ขาดการประสานงานให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพเข้าถึงตัวผู้บาดเจ็บได้ทันท่วงที เพราะประตูโรงงานปิด ด้วยสาเหตุอาจเป็นการป้องกันอันตรายจากก๊าซรั่ว หรือเป็นกฎของบริษัท จึงทำให้ต้องใช้เวลานานในการส่งต่อผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล
"ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการจัดการปัญหานี้ น่าจะมีแม่งานระดับรองนายกรัฐมนตรีกำกับให้หน่วยงานต่างๆ มาแลกเปลี่ยนข้อมูลให้แก่กันมากขึ้น เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ต้องบอกที่ตั้งของโรงงานอันตรายทั่วประเทศ กระทรวงมหาดไทยต้องทบทวนข้อกฎหมายที่ใช้บังคับให้เจ้าหน้าที่ทราบ และนำไปปฏิบัติ โดยในวันจันทร์นี้ (21 ธ.ค.) บอร์ด สพฉ.จะนำกรณีก๊าซรั่วในโรงงานอุตสาหกรรม เข้าประชุมหารือเป็นวาระด่วน เพื่อการรับมืออย่างทันท่วงที"นพ.ชาตรีกล่าว
นพ.ชาตรีกล่าวต่อว่า สำหรับอุบัติเหตุทางถนนในช่วงปีใหม่ สพฉ. ตั้งเป้าลดการเสียชีวิต และบาดเจ็บลงร้อยละ 5 จากปีที่แล้วมียอดผู้เสียชีวิต 360 ราย ให้เหลือต่ำกว่า 350 ราย โดยได้เตรียมเจ้าหน้าที่กู้ชีพไว้ประจำโรงพยาบาลต่าง ๆ เน้นการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ และช่วยชีวิตให้รวดเร็ว ส่วนเหตุฉุกเฉินในช่วงปีใหม่ อย่างเช่นกรณีซานติก้า ผับ ที่เกิดขึ้นในเมือง ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากมูลนิธิเอกชน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นนอกเมือง
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เปิดเผยถึงกรณีระยะนี้เกิดเหตุฉุกเฉินจากสารพิษรั่วในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นว่า การรับมือของ สพฉ.ทำได้ทันทีที่ได้รับแจ้งมา เช่นเมื่อคืนนี้ เมื่อเกิดเหตุโรงงานแจ้งมาที่ศูนย์ 1669 ขณะเดียวกันสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ก็แจ้งมายังตน แต่จุดอ่อนของสถานการณ์เมื่อคืน อยู่ที่ขาดการประสานงานให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพเข้าถึงตัวผู้บาดเจ็บได้ทันท่วงที เพราะประตูโรงงานปิด ด้วยสาเหตุอาจเป็นการป้องกันอันตรายจากก๊าซรั่ว หรือเป็นกฎของบริษัท จึงทำให้ต้องใช้เวลานานในการส่งต่อผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาล
"ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าการจัดการปัญหานี้ น่าจะมีแม่งานระดับรองนายกรัฐมนตรีกำกับให้หน่วยงานต่างๆ มาแลกเปลี่ยนข้อมูลให้แก่กันมากขึ้น เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ต้องบอกที่ตั้งของโรงงานอันตรายทั่วประเทศ กระทรวงมหาดไทยต้องทบทวนข้อกฎหมายที่ใช้บังคับให้เจ้าหน้าที่ทราบ และนำไปปฏิบัติ โดยในวันจันทร์นี้ (21 ธ.ค.) บอร์ด สพฉ.จะนำกรณีก๊าซรั่วในโรงงานอุตสาหกรรม เข้าประชุมหารือเป็นวาระด่วน เพื่อการรับมืออย่างทันท่วงที"นพ.ชาตรีกล่าว
นพ.ชาตรีกล่าวต่อว่า สำหรับอุบัติเหตุทางถนนในช่วงปีใหม่ สพฉ. ตั้งเป้าลดการเสียชีวิต และบาดเจ็บลงร้อยละ 5 จากปีที่แล้วมียอดผู้เสียชีวิต 360 ราย ให้เหลือต่ำกว่า 350 ราย โดยได้เตรียมเจ้าหน้าที่กู้ชีพไว้ประจำโรงพยาบาลต่าง ๆ เน้นการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ และช่วยชีวิตให้รวดเร็ว ส่วนเหตุฉุกเฉินในช่วงปีใหม่ อย่างเช่นกรณีซานติก้า ผับ ที่เกิดขึ้นในเมือง ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากมูลนิธิเอกชน แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นนอกเมือง