สธ.เผยบ.เหล้า เบียร์ ฝ่าฝืนโฆษณาผิดกฎหมายเพียบ ระบุได้รับร้องเรียนมากถึง 506 กรณี เบียร์ 292 กรณี บ.สิงห์ ผิดเยอะสุด ไทยเบฟฯ อันดับ 2 เหล้า ไวน์ 214 คดี "หมอสมาน" ชื่นชม “ตั๊น” แสดงสปิริตลาออก ไม่ติดใจเอาฟ้องร้อง ถือเป็นกำลังใจให้คนแสดงความรับผิดชอบกับความผิด
วันที่ 18 ธันวาคม นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่าขณะนี้นิติกรของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถรวบรวมข้อร้องเรียนการฝ่าฝืนกฎหมายเรื่องการโฆษณาจากศูนย์ร้องเรียนทั่วประเทศ ได้ทั้งสิ้น 506 กรณี แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์เบียร์ 292 กรณี จากเบียร์ 9 ยี่ห้อ และผลิตภัณฑ์สุรา ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม(RTD) 214 กรณี จากผลิตภัณฑ์ 19 ยี่ห้อ ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต มือถือ และป้ายโฆษณาสื่อกลางแจ้ง
“ในกลุ่มเบียร์ที่ทำผิดกฎหมาย ถือว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดและบริษัทในเครือ ทำผิดกฎหมายมากที่สุด มีการร้องเรียนมากถึง 148 กรณี มากกว่า 50% ของข้อร้องเรียนในกลุ่มเบียร์ทั้งหมด รองลงมาคือผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มี 49 กรณี และบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด มี 38 กรณี ขณะที่การทำผิดของสุรา ไวน์ มีสุรานำเข้าฝ่าฝืนทำผิดมากที่สุด” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวด้วยว่า สำหรับในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ สธ. จะมีการประชุมร่วมกับทีมที่ปรึกษากฎหมาย 2 ชุด คือ อนุกรรมการด้านการร่างกฎหมายลูก ซึ่งมีศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธาน และอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤฎีกา ว่าด้วยกฎหมายด้านสาธารณสุข ซึ่งที่ประชุมจะสรุปผลการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้กระทำผิดพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นพ.สมาน กล่าวถึงกรณีที่บริษัทสิงห์ฯ ร้องเรียนผ่านสื่อถึงการกระทำความผิดฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายอื่นๆ ว่า ยืนยันว่า สธ. จะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษกับทุกบริษัทที่มีการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีหลายกรณีด้วยกัน ทั้งที่เป็นข่าวและที่ไม่ปรากฏเป็นข่าว โดยเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ทุกจังหวัด ได้รวบรวมข้อร้องเรียนและหลักฐานประกอบการกระทำผิดไว้หมดแล้ว
“ไม่ต้องห่วงว่าสธ. จะเลือกปฏิบัติ เอาผิดเฉพาะบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น เท่านั้น สธ. จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียมทุกบริษัท ซึ่งจากข้อร้องเรียนผ่านศูนย์ร้องเรียนของสธ. พบว่าบริษัทเหล้าแทบทุกบริษัทกระทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายทั้งสิ้น โดยเฉพาะการทำผิดเรื่องการโฆษณา ตามมาตรา 32 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการกระทำผิดมากที่สุด” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวว่า ส่วนกรณีของน.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ที่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีการนำปฏิทินไปแจกในทำเนียบรัฐบาลนั้น ต้องขอชื่นชมน.ส.จิตภัสร์ ที่แสดงสปิริตด้วยการลาออกทันทีที่รู้ว่าทำเรื่องไม่เหมาะสม ดังนั้น สธ. จะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีกับน.ส.จิตภัสร์อีก เพราะถือเป็นการให้กำลังใจกับผู้ที่แสดงความรับผิดชอบต่อความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งทำไปโดยไม่เจตนาจะทำความผิด และขอเป็นกำลังใจให้ทำความดีต่อไป
วันที่ 18 ธันวาคม นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่าขณะนี้นิติกรของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถรวบรวมข้อร้องเรียนการฝ่าฝืนกฎหมายเรื่องการโฆษณาจากศูนย์ร้องเรียนทั่วประเทศ ได้ทั้งสิ้น 506 กรณี แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์เบียร์ 292 กรณี จากเบียร์ 9 ยี่ห้อ และผลิตภัณฑ์สุรา ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม(RTD) 214 กรณี จากผลิตภัณฑ์ 19 ยี่ห้อ ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต มือถือ และป้ายโฆษณาสื่อกลางแจ้ง
“ในกลุ่มเบียร์ที่ทำผิดกฎหมาย ถือว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดและบริษัทในเครือ ทำผิดกฎหมายมากที่สุด มีการร้องเรียนมากถึง 148 กรณี มากกว่า 50% ของข้อร้องเรียนในกลุ่มเบียร์ทั้งหมด รองลงมาคือผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มี 49 กรณี และบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด มี 38 กรณี ขณะที่การทำผิดของสุรา ไวน์ มีสุรานำเข้าฝ่าฝืนทำผิดมากที่สุด” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวด้วยว่า สำหรับในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ สธ. จะมีการประชุมร่วมกับทีมที่ปรึกษากฎหมาย 2 ชุด คือ อนุกรรมการด้านการร่างกฎหมายลูก ซึ่งมีศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธาน และอนุกรรมการด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤฎีกา ว่าด้วยกฎหมายด้านสาธารณสุข ซึ่งที่ประชุมจะสรุปผลการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้กระทำผิดพ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นพ.สมาน กล่าวถึงกรณีที่บริษัทสิงห์ฯ ร้องเรียนผ่านสื่อถึงการกระทำความผิดฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายอื่นๆ ว่า ยืนยันว่า สธ. จะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษกับทุกบริษัทที่มีการฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีหลายกรณีด้วยกัน ทั้งที่เป็นข่าวและที่ไม่ปรากฏเป็นข่าว โดยเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ทุกจังหวัด ได้รวบรวมข้อร้องเรียนและหลักฐานประกอบการกระทำผิดไว้หมดแล้ว
“ไม่ต้องห่วงว่าสธ. จะเลือกปฏิบัติ เอาผิดเฉพาะบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น เท่านั้น สธ. จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียมทุกบริษัท ซึ่งจากข้อร้องเรียนผ่านศูนย์ร้องเรียนของสธ. พบว่าบริษัทเหล้าแทบทุกบริษัทกระทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายทั้งสิ้น โดยเฉพาะการทำผิดเรื่องการโฆษณา ตามมาตรา 32 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการกระทำผิดมากที่สุด” นพ.สมาน กล่าว
นพ.สมาน กล่าวว่า ส่วนกรณีของน.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ที่ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งทางการเมือง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีการนำปฏิทินไปแจกในทำเนียบรัฐบาลนั้น ต้องขอชื่นชมน.ส.จิตภัสร์ ที่แสดงสปิริตด้วยการลาออกทันทีที่รู้ว่าทำเรื่องไม่เหมาะสม ดังนั้น สธ. จะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีกับน.ส.จิตภัสร์อีก เพราะถือเป็นการให้กำลังใจกับผู้ที่แสดงความรับผิดชอบต่อความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งทำไปโดยไม่เจตนาจะทำความผิด และขอเป็นกำลังใจให้ทำความดีต่อไป