“คำนูณ” จี้รัฐ นำบทเรียน “ตั๊น” แจกปฏิทินฉาวมาชี้แจงต่อ ปชช.ให้เข้าใจเนื้อหา พ.ร.บ.คุมแอลกอฮอล์ หลังโดนสังคมวิจารณ์หนัก ชี้ “จิตภัสร์” ทำผิด กม.อาญา แจกปฏิทินมีโลโก้สินค้าเข้าข่ายโฆษณา ผิด ม.32 ด้าน “มาลีรัตน์” ร้อง “สาทิตย์” รับผิดชอบ หลังปล่อยข้าราชการทำอะไรไม่เหมาะสมในทำเนียบฯ
ชมรายการ คนในข่าว ช่วงที่ 1
ชมรายการ คนในข่าว ช่วงที่ 2
ชมรายการ คนในข่าว ช่วงที่ 3
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "คนในข่าว"
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 20.30-22.00 น. วันที่ 17 ธ.ค. มี น.ส.รัตน์ติกรณ์ จารุเกษตรวิทย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยวันนี้ได้เชิญ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และนางมาลีรัตน์ แก้วก่า แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 มาร่วมพูดคุยในรายการถึงประเด็นร้อนแรงอย่าง “ตั๊น” จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ทายาทเบียร์ยี่ห้อดัง ที่เปิดท้ายรถยนต์แจกปฏิทินฉาวภายในทำเนียบรัฐบาล
น.ส.รัตน์ติกรณ์ เริ่มต้นรายการด้วยการเปิดประเด็น ปฏิทิน 6 สาวบอดี้เพนต์ ซึ่งนายคำนูณ กล่าวประเด็นนี้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นสามารถแยกออกไปได้ 2 ประเด็น คือ 1.ต้องแยกระหว่างคำว่าศิลปะกับอนาจาร และ2.ต้องรู้ว่าการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นความผิดทางกฏหมาย ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ นอกจากห้ามโฆษณาหรือทำการตลาดหลายรูปแบบ กฏหมายฉบับดังกล่าว ยังจำกัดที่ขายที่ดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย
นายคำนูณกล่าวต่อว่า กรณี น.ส.จิตภัสร์ แจกปฏิทินฉาวสถานที่กระทำความผิดอยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล โดยเรื่องนี้ น่าสนใจตรงที่ น.ส.จิตภัสร์ ถือเป็นข้าราชการการเมือง ดั้งนั้น ตนอยากทราบว่ารัฐบาลจะจัดการหรือแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่ควรทำต้องทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยว่ากฏหมายฉบับดังกล่าว แท้จริงแล้วมีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร เพราะเวลานี้ หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ประชาชนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว
“สรุปแล้วการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปฏิทินเบียร์ยี่ห้อนี้ ติดปัญหาอยู่ตรงที่มีโลโก้สินค้าติดอยู่ในปฏิทิน รวมถึงติดอยู่ที่ตัวนางแบบ ดังนั้น ถือว่าเข้าข่ายผิด มาตรา 32 วรรคแรก ของพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงให้ผู้อื่นดื่มโดยตรง หรือโดยอ้อม จึงถือว่ากรณีนี้เป็นการกระทำความผิดทางกฏหมายในโทษอาญา” นายคำนูณกล่าว
นางมาลีรัตน์กล่าวประเด็นนี้ว่า ตนไม่โทษ น.ส.จิตภัสร์ แต่ฝ่ายที่สมควรตำหนิ คือ รัฐบาล ที่ปล่อยให้ น.ส.จิตภัสร์ กระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถึงอย่างไรเรื่องนี้ก็ต้องมีฝ่ายที่ออกมารับผิดชอบ โดยเฉพาะ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สำหรับตัว น.ส.จิตภัสร์ ตนแค่อยากเตือนว่า อยากให้เรียนรู้วัฒนธรรมสังคมมากกว่านี้ เนื่องจาก น.ส.จิตภัสร์ จบการศึกษาจากต่างประเทศ อาจทำให้ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่สิ่งที่ น.ส.จิตภัสร์ จะปฏิเสธไม่ได้ คือ ในฐานะที่เป็นข้าราชการการเมืองจะปัดว่าไม่รู้ทำผิดกฏหมายไม่ได้ อีกทั้ง ครอบครัว น.ส.จิตภัสร์ ยังทำธุรกิจด้านนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้เจตนา
น.ส.รัตน์ติกรณ์ กล่าวว่า สังคมไทยกำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ออกเป็นสองฝ่าย คือ ทั้งในแง่เห็นใจและไม่เห็นด้วย นายคำนูณ กล่าวประเด็นนี้ว่า สำหรับเรื่อง น.ส.จิตภัสร์ ตนอยากให้รัฐบาลนำบทเรียนครั้งนี้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนถึงข้อเท็จจริงของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ส่วนเรื่องสังคมโต้เถียงกันระหว่างเป็นภาพศิลปะหรืออนาจาร ตนว่าขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้เสพ เพราะใช่ว่าทุกคนจะมองไปในมุมเดียวกันหมด ย่อมมีความแตกต่างกัน แต่ถึงอย่างไร เรื่องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดหรือโฆษณาสามารถทำได้แค่ในกรอบกฏหมายเท่านั้น
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "คนในข่าว"
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 20.30-22.00 น. วันที่ 17 ธ.ค. มี น.ส.รัตน์ติกรณ์ จารุเกษตรวิทย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยวันนี้ได้เชิญ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และนางมาลีรัตน์ แก้วก่า แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 มาร่วมพูดคุยในรายการถึงประเด็นร้อนแรงอย่าง “ตั๊น” จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ทายาทเบียร์ยี่ห้อดัง ที่เปิดท้ายรถยนต์แจกปฏิทินฉาวภายในทำเนียบรัฐบาล
น.ส.รัตน์ติกรณ์ เริ่มต้นรายการด้วยการเปิดประเด็น ปฏิทิน 6 สาวบอดี้เพนต์ ซึ่งนายคำนูณ กล่าวประเด็นนี้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นสามารถแยกออกไปได้ 2 ประเด็น คือ 1.ต้องแยกระหว่างคำว่าศิลปะกับอนาจาร และ2.ต้องรู้ว่าการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นความผิดทางกฏหมาย ซึ่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ นอกจากห้ามโฆษณาหรือทำการตลาดหลายรูปแบบ กฏหมายฉบับดังกล่าว ยังจำกัดที่ขายที่ดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย
นายคำนูณกล่าวต่อว่า กรณี น.ส.จิตภัสร์ แจกปฏิทินฉาวสถานที่กระทำความผิดอยู่ภายในทำเนียบรัฐบาล โดยเรื่องนี้ น่าสนใจตรงที่ น.ส.จิตภัสร์ ถือเป็นข้าราชการการเมือง ดั้งนั้น ตนอยากทราบว่ารัฐบาลจะจัดการหรือแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่ควรทำต้องทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยว่ากฏหมายฉบับดังกล่าว แท้จริงแล้วมีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร เพราะเวลานี้ หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ประชาชนไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว
“สรุปแล้วการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปฏิทินเบียร์ยี่ห้อนี้ ติดปัญหาอยู่ตรงที่มีโลโก้สินค้าติดอยู่ในปฏิทิน รวมถึงติดอยู่ที่ตัวนางแบบ ดังนั้น ถือว่าเข้าข่ายผิด มาตรา 32 วรรคแรก ของพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อ หรือเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงให้ผู้อื่นดื่มโดยตรง หรือโดยอ้อม จึงถือว่ากรณีนี้เป็นการกระทำความผิดทางกฏหมายในโทษอาญา” นายคำนูณกล่าว
นางมาลีรัตน์กล่าวประเด็นนี้ว่า ตนไม่โทษ น.ส.จิตภัสร์ แต่ฝ่ายที่สมควรตำหนิ คือ รัฐบาล ที่ปล่อยให้ น.ส.จิตภัสร์ กระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถึงอย่างไรเรื่องนี้ก็ต้องมีฝ่ายที่ออกมารับผิดชอบ โดยเฉพาะ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สำหรับตัว น.ส.จิตภัสร์ ตนแค่อยากเตือนว่า อยากให้เรียนรู้วัฒนธรรมสังคมมากกว่านี้ เนื่องจาก น.ส.จิตภัสร์ จบการศึกษาจากต่างประเทศ อาจทำให้ไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่สิ่งที่ น.ส.จิตภัสร์ จะปฏิเสธไม่ได้ คือ ในฐานะที่เป็นข้าราชการการเมืองจะปัดว่าไม่รู้ทำผิดกฏหมายไม่ได้ อีกทั้ง ครอบครัว น.ส.จิตภัสร์ ยังทำธุรกิจด้านนี้ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้เจตนา
น.ส.รัตน์ติกรณ์ กล่าวว่า สังคมไทยกำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ออกเป็นสองฝ่าย คือ ทั้งในแง่เห็นใจและไม่เห็นด้วย นายคำนูณ กล่าวประเด็นนี้ว่า สำหรับเรื่อง น.ส.จิตภัสร์ ตนอยากให้รัฐบาลนำบทเรียนครั้งนี้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนถึงข้อเท็จจริงของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ส่วนเรื่องสังคมโต้เถียงกันระหว่างเป็นภาพศิลปะหรืออนาจาร ตนว่าขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้เสพ เพราะใช่ว่าทุกคนจะมองไปในมุมเดียวกันหมด ย่อมมีความแตกต่างกัน แต่ถึงอย่างไร เรื่องทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดหรือโฆษณาสามารถทำได้แค่ในกรอบกฏหมายเท่านั้น