บีอาร์ทียังอืด กทม.ยังไม่เรียกเคทีมาเซ็นสัญญาบริหารโครงการ ขณะที่เหลือเวลาเพียง 5 เดือนก็จะเปิดให้บริการเดือนพฤษภาคม 2553
รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งการดำเนินโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีว่า ร่างเงื่อนไขการกำหนดคุณลักษณะ (TOR) เกี่ยวกับงานประกอบใช้ในโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที ทั้งอู่จอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง การปรับพื้นผิวจราจร ขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่นางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัด กทม. ซึ่งหากผ่านการเห็นชอบก็จะส่งต่อให้นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.พิจารณาอนุมัติตามลำดับ จากนั้นเปิดประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการดำเนินจนแล้วเสร็จหากจัดหาผู้รับจ้างได้แล้ว ซึ่งจะแล้วเสร็จเป็นบางส่วนเท่านั้น แต่คาดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาหาก กทม.เปิดให้ทดลองใช้บริการวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ส่วนการบริหารจัดการระบบ (System manager) ที่ กทม.จะให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ดำเนินการนั้นก็ยังไม่มีการลงนามว่าจ้างแต่อย่างใดซึ่งขณะนี้เหลือเวลาเพียง 5 เดือนก็จะเปิดให้ใช้บริการแล้ว แต่ยังไม่มีการว่าจ้างเคทีเข้ามาเป็นผู้บริหารโครงการ แต่คาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาเดือนธันวาคมนี้ โดยสัญญาว่าจ้างจะมีมูลค่า 1,990 ล้านบาท แบ่งเป็น การบริหารจัดการสถานี, การจัดการเดินรถ และการจัดหาพร้อมติดตั้งระบบตั๋วโดยสารอัจฉริยะ (Automatic fare collection : AFC) โดยส่วนนี้มีมูลค่า 384 ล้านบาท ส่วนงบประมาณนอกเหนือจากนี้จะอยู่ในส่วนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงค่าเงินเดือนพนักงาน พนักงานรักษาความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ทุกอย่าง บ.กรุงเทพธนาคม จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ทั้งนี้ กทม.จะแบ่งจ่ายเงินให้เคทีเป็นงวดละประมาณ 200 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 7 ปีตามสัญญาว่าจ้าง
รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งการดำเนินโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีว่า ร่างเงื่อนไขการกำหนดคุณลักษณะ (TOR) เกี่ยวกับงานประกอบใช้ในโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที ทั้งอู่จอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง การปรับพื้นผิวจราจร ขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่นางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัด กทม. ซึ่งหากผ่านการเห็นชอบก็จะส่งต่อให้นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.พิจารณาอนุมัติตามลำดับ จากนั้นเปิดประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการดำเนินจนแล้วเสร็จหากจัดหาผู้รับจ้างได้แล้ว ซึ่งจะแล้วเสร็จเป็นบางส่วนเท่านั้น แต่คาดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาหาก กทม.เปิดให้ทดลองใช้บริการวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ส่วนการบริหารจัดการระบบ (System manager) ที่ กทม.จะให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ดำเนินการนั้นก็ยังไม่มีการลงนามว่าจ้างแต่อย่างใดซึ่งขณะนี้เหลือเวลาเพียง 5 เดือนก็จะเปิดให้ใช้บริการแล้ว แต่ยังไม่มีการว่าจ้างเคทีเข้ามาเป็นผู้บริหารโครงการ แต่คาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาเดือนธันวาคมนี้ โดยสัญญาว่าจ้างจะมีมูลค่า 1,990 ล้านบาท แบ่งเป็น การบริหารจัดการสถานี, การจัดการเดินรถ และการจัดหาพร้อมติดตั้งระบบตั๋วโดยสารอัจฉริยะ (Automatic fare collection : AFC) โดยส่วนนี้มีมูลค่า 384 ล้านบาท ส่วนงบประมาณนอกเหนือจากนี้จะอยู่ในส่วนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงค่าเงินเดือนพนักงาน พนักงานรักษาความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ทุกอย่าง บ.กรุงเทพธนาคม จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ทั้งนี้ กทม.จะแบ่งจ่ายเงินให้เคทีเป็นงวดละประมาณ 200 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 7 ปีตามสัญญาว่าจ้าง