กทม.เตรียมของบไทยเข้มแข็ง ทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดียว คาดประเดิมเส้นทางหน้าสนามกีฬาฯ พระราม 1 มุ่งหน้าพระราม 4 เชื่อมรถไฟฟ้า และเส้นทางเพชรบุรี-ดินแดง
คณะผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด นำคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสื่อมวลชนดูระบบขนส่งมวลชนของมาเลเซีย ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.กล่าวระหว่างเยี่ยมชมการเดินรถระบบรถไฟฟ้ารางเดียว หรือโมโนเรล ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่า จะนำระบบรถไฟโมโนเรลมาใช้ใน กทม.เนื่องจากเหมาะสมกับข้อจำกัดต่างๆ ของ กทม.โดยจะเสนอของบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง มาทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดียวใน กทม.และคาดว่า จะได้รับการก่อสร้างได้ในปีหน้า ซึ่งจากการรับฟังข้อมูลจากเจ้าของเทคโนโลยีรถไฟโมโนเรล มีต้นทุนการก่อสร้าง 1,300 ล้านบาทต่อกิโลเมตร (กม.) จากการศึกษาใน กทม.พบว่า มี 2 เส้นทางที่จะก่อสร้างได้ก่อน คือ เส้นทางหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระราม 1 มุ่งหน้าถนนพระราม 4 เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า และเส้นทางถนนเพชรบุรี-ดินแดง ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลาว่าการ กทม.แห่งที่ 2 ที่จะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในต้นปี 2554
ด้าน นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า จากการศึกษามี 7 พื้นที่ใน กทม.ที่จำเป็นต้องเพิ่มระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ย่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากด้านถนนพระราม 1 เข้าถนนบรรทัดทอง ถึงถนนพระราม 4 เพื่อให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือสีน้ำเงิน ย่านดินแดง จากเส้นยมราช ผ่านเส้นเพชรบุรี เส้นบางนาไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น สำหรับประเทศมาเลเซีย มีระบบขนส่ง 5 ประเภท คือ รถไฟชานเมือง รถไฟลอยฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟรางเดี่ยว และรถไฟด่วนสายสนามบิน
คณะผู้บริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด นำคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสื่อมวลชนดูระบบขนส่งมวลชนของมาเลเซีย ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.กล่าวระหว่างเยี่ยมชมการเดินรถระบบรถไฟฟ้ารางเดียว หรือโมโนเรล ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่า จะนำระบบรถไฟโมโนเรลมาใช้ใน กทม.เนื่องจากเหมาะสมกับข้อจำกัดต่างๆ ของ กทม.โดยจะเสนอของบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง มาทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดียวใน กทม.และคาดว่า จะได้รับการก่อสร้างได้ในปีหน้า ซึ่งจากการรับฟังข้อมูลจากเจ้าของเทคโนโลยีรถไฟโมโนเรล มีต้นทุนการก่อสร้าง 1,300 ล้านบาทต่อกิโลเมตร (กม.) จากการศึกษาใน กทม.พบว่า มี 2 เส้นทางที่จะก่อสร้างได้ก่อน คือ เส้นทางหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระราม 1 มุ่งหน้าถนนพระราม 4 เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า และเส้นทางถนนเพชรบุรี-ดินแดง ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลาว่าการ กทม.แห่งที่ 2 ที่จะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในต้นปี 2554
ด้าน นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า จากการศึกษามี 7 พื้นที่ใน กทม.ที่จำเป็นต้องเพิ่มระบบขนส่งสาธารณะ เช่น ย่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากด้านถนนพระราม 1 เข้าถนนบรรทัดทอง ถึงถนนพระราม 4 เพื่อให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือสีน้ำเงิน ย่านดินแดง จากเส้นยมราช ผ่านเส้นเพชรบุรี เส้นบางนาไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นต้น สำหรับประเทศมาเลเซีย มีระบบขนส่ง 5 ประเภท คือ รถไฟชานเมือง รถไฟลอยฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟรางเดี่ยว และรถไฟด่วนสายสนามบิน