วงเสวนาพร้อมพัฒนาระบบ “ฮอตโอเอ็กซ์-ฮอตเอ็กซ์พี” เชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่าง รพ.แก้ปัญหาคนไข้เบื่อหมอ ต้องรอนาน ขณะที่ สสส.หนุนใช้ระบบเอสเอ็มเอส แก้ปัญหาผู้ป่วยห่างไกล รพ.ด้านแพทยสภา แนะศึกษา พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนดึงเทคโนโลยีมาใช้
ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ เครือข่ายคนไทยไร้พุง (สสส.) และชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดเสวนาหัวข้อ เวชระเบียนออนไลน์ “พบหมอไม่ต้องรอนาน ย้ายโรงพยาบาลไม่ปวดหัว” นพ.ฆนัท ครุธกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมทาบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดี และกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาของผู้ป่วยที่เข้ารับการักษาในโรงพยาบาลที่พบมากที่สุดคือ การรอพบแพทย์ตามหมายนัด จากสถิติของโรงพยาบาลต่างๆ ผู้ป่วย 1 รายใช้เวลารอพบแพทย์นานถึง 2 ชั่วโมง และในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีผู้ป่วยจำนวนมากอาจต้องรอพบแพทย์ และรอรับยาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง หรือใช้เวลาตลอดทั้งวัน ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์เข้ามาช่วยในการทำประวัติและการนัดหมาย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา ซึ่งข้อดีของ การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้ศึกษาขึ้น โดยการใช้โปรแกรม “ฮอตโอเอ็กซ์” และ “ฮอตเอ็กซ์พี” ซึ่งจะเป็นโปรแกรมที่สามารถช่วยแพทย์ในการไม่ต้องค้นหาแฟ้มประวัติผู้ป่วย แล้วก็สามารถเติมข้อมูลเข้าไปให้ถูกต้อง รวมถึงสามารถรู้สถิติสารสนเทศได้เร็วขึ้น อาทิ จำนวนผู้ป่วย ประสิทธิภาพของยา การเบิกจ่ายยา ราคายา รวมทั้งสามารถติดตามโรคต่างๆได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การศึกษาวิจัยการใช้โปรแกรม “ฮอตโอเอ็กซ์” และ “ฮอตเอ็กซ์พี” ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็ก และได้ศึกษาโดยใช้มาตรฐาน HL7 เวอร์ชั่น 3.0 เนื่องจากเป็นการส่งข้อมูลที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกโดยจำลองโรงพยาบาลต้นแบบขึ้นมา 2 แห่ง ซึ่งมีการจำลองข้อมูลผู้ป่วย 20 ราย การทดลองปรากฏว่า ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถส่งข้อมูลของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลหนึ่งไปยังอีกโรงพยาบาลหนึ่งใน เวลาที่รวดเร็ว อีกทั้งไม่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขในระบบซอฟต์แวร์ของทั้ง 2 โรง พยาบาล โดยข้อมูลส่วนนี้ยังสามารถปรับใช้ให้เข้ากับระบบประกันสังคมและระบบหลัก ประกันสุขภาพอีกด้วย อย่างไรก็ดี ระบบนี้คงต้องมีการพัฒนาและต่อยอดให้เข้ากับระบบโรงพยาบาลในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้โรงพยาบาลรามาธิบดีให้ความ สนใจ และอยู่ระหว่างการการศึกษาขั้นตอน เพื่อพัฒนาไปสู่การใช้งานได้จริง คาดว่า อีกไม่นานโรงพยาบาลรามาธิบดีจะเป็นโรงพยาบาลต้นแบบในการนำร่องใช้ระบบดังกล่าว
นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทย์สภา กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์จำเป็นต้องดูแลกลุ่มผู้สูงอายุเป็นพิเศษ ดังนั้นการพัฒนาระบบให้เม่นยำและสะดวกรวดเร็วจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะขณะนี้ผู้สูงอายุมีมากกว่า 6 ล้านคน หรือประมาณ 10% เฉลี่ยแล้วผู้สูงอายุเข้ารับการรักษามากกว่า 24 ครั้งต่อปี อย่างไรก็ตาม หากจะนำระบบเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ต้องศึกษา พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลเพราะข้อมูลผู้ป่วยไม่สามารถเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ได้
นายไกลก้อง ไวยากร รองผู้จัดการแผนงานไอซีทีเพื่อสุขภาวะออนไลน์และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า จากการนำร่องที่จังหวัดมุกดาหารโดยใช้ระบบเอสเอ็มเอส (SMS) ส่งผลตรวจผู้ป่วยและรายงานมาที่สาธารณสุขจังหวัด ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการรับรู้ข้อมูล หากนำระบบเอสเอ็มเอส มาปรับใช้ในทางการแพทย์ อาทิ การนัดพบแพทย์ แจ้งผลตรวจการติดตามเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง การให้ความรู้ผ่านระบบเอสเอ็มเอส โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังสามารถนำระบบเอสเอ็มเอสมาเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลผู้ป่วย จะทำให้ประหยัดเวลาประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเชื่อว่าระบบเอสเอ็มเอส จะมีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล
ด้านนพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์ของประเทศไทย สมาคมเวชสารสนเทศไทยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ (TMI) ร่วม กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันจัดประชุมประจำปีของสมาคมเวชสารสนเทศไทยขึ้นในวันที่ 18-20 พ.ย. 2552 ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ และในวันที่ 21-22 พ.ย. 2552 จะมีการจัดการประชุมระดับชาติด้านสารสนเทศทางกาแพทย์ ตามมาตรฐาน HL 7 “HL7 Standard for Health Information System” ที่ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมทั้งในวันที่ 23-25 พ.ย.2552 จะมีการจัดโครงการอบรมมาตรฐาน HL7 เชิงปฏิบัติการนานาชาติ : กลยุทธ์ ก้าวกระโดดสำหรับประเทศไทย ที่ ห้องประชุมชั้น 21 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย อาคารวิทยาลัยการจัดการมหิดล โดยการประชุมครั้งนี้จะมีการอ้างอิงข้อมูลของมาตรฐาน HL7 เพื่อนำไปพัฒนาเชื่อมต่อฐานข้อมูลของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-201-2211 ต่อ 237 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.hl7thailand.com
ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ เครือข่ายคนไทยไร้พุง (สสส.) และชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดเสวนาหัวข้อ เวชระเบียนออนไลน์ “พบหมอไม่ต้องรอนาน ย้ายโรงพยาบาลไม่ปวดหัว” นพ.ฆนัท ครุธกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมทาบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดี และกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาของผู้ป่วยที่เข้ารับการักษาในโรงพยาบาลที่พบมากที่สุดคือ การรอพบแพทย์ตามหมายนัด จากสถิติของโรงพยาบาลต่างๆ ผู้ป่วย 1 รายใช้เวลารอพบแพทย์นานถึง 2 ชั่วโมง และในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีผู้ป่วยจำนวนมากอาจต้องรอพบแพทย์ และรอรับยาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง หรือใช้เวลาตลอดทั้งวัน ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์เข้ามาช่วยในการทำประวัติและการนัดหมาย เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา ซึ่งข้อดีของ การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้ศึกษาขึ้น โดยการใช้โปรแกรม “ฮอตโอเอ็กซ์” และ “ฮอตเอ็กซ์พี” ซึ่งจะเป็นโปรแกรมที่สามารถช่วยแพทย์ในการไม่ต้องค้นหาแฟ้มประวัติผู้ป่วย แล้วก็สามารถเติมข้อมูลเข้าไปให้ถูกต้อง รวมถึงสามารถรู้สถิติสารสนเทศได้เร็วขึ้น อาทิ จำนวนผู้ป่วย ประสิทธิภาพของยา การเบิกจ่ายยา ราคายา รวมทั้งสามารถติดตามโรคต่างๆได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การศึกษาวิจัยการใช้โปรแกรม “ฮอตโอเอ็กซ์” และ “ฮอตเอ็กซ์พี” ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็ก และได้ศึกษาโดยใช้มาตรฐาน HL7 เวอร์ชั่น 3.0 เนื่องจากเป็นการส่งข้อมูลที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกโดยจำลองโรงพยาบาลต้นแบบขึ้นมา 2 แห่ง ซึ่งมีการจำลองข้อมูลผู้ป่วย 20 ราย การทดลองปรากฏว่า ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถส่งข้อมูลของผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลหนึ่งไปยังอีกโรงพยาบาลหนึ่งใน เวลาที่รวดเร็ว อีกทั้งไม่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขในระบบซอฟต์แวร์ของทั้ง 2 โรง พยาบาล โดยข้อมูลส่วนนี้ยังสามารถปรับใช้ให้เข้ากับระบบประกันสังคมและระบบหลัก ประกันสุขภาพอีกด้วย อย่างไรก็ดี ระบบนี้คงต้องมีการพัฒนาและต่อยอดให้เข้ากับระบบโรงพยาบาลในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้โรงพยาบาลรามาธิบดีให้ความ สนใจ และอยู่ระหว่างการการศึกษาขั้นตอน เพื่อพัฒนาไปสู่การใช้งานได้จริง คาดว่า อีกไม่นานโรงพยาบาลรามาธิบดีจะเป็นโรงพยาบาลต้นแบบในการนำร่องใช้ระบบดังกล่าว
นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทย์สภา กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์จำเป็นต้องดูแลกลุ่มผู้สูงอายุเป็นพิเศษ ดังนั้นการพัฒนาระบบให้เม่นยำและสะดวกรวดเร็วจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะขณะนี้ผู้สูงอายุมีมากกว่า 6 ล้านคน หรือประมาณ 10% เฉลี่ยแล้วผู้สูงอายุเข้ารับการรักษามากกว่า 24 ครั้งต่อปี อย่างไรก็ตาม หากจะนำระบบเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ต้องศึกษา พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลเพราะข้อมูลผู้ป่วยไม่สามารถเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ได้
นายไกลก้อง ไวยากร รองผู้จัดการแผนงานไอซีทีเพื่อสุขภาวะออนไลน์และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า จากการนำร่องที่จังหวัดมุกดาหารโดยใช้ระบบเอสเอ็มเอส (SMS) ส่งผลตรวจผู้ป่วยและรายงานมาที่สาธารณสุขจังหวัด ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการรับรู้ข้อมูล หากนำระบบเอสเอ็มเอส มาปรับใช้ในทางการแพทย์ อาทิ การนัดพบแพทย์ แจ้งผลตรวจการติดตามเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง การให้ความรู้ผ่านระบบเอสเอ็มเอส โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังสามารถนำระบบเอสเอ็มเอสมาเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลผู้ป่วย จะทำให้ประหยัดเวลาประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเชื่อว่าระบบเอสเอ็มเอส จะมีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล
ด้านนพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์ของประเทศไทย สมาคมเวชสารสนเทศไทยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ (TMI) ร่วม กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันจัดประชุมประจำปีของสมาคมเวชสารสนเทศไทยขึ้นในวันที่ 18-20 พ.ย. 2552 ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ และในวันที่ 21-22 พ.ย. 2552 จะมีการจัดการประชุมระดับชาติด้านสารสนเทศทางกาแพทย์ ตามมาตรฐาน HL 7 “HL7 Standard for Health Information System” ที่ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมทั้งในวันที่ 23-25 พ.ย.2552 จะมีการจัดโครงการอบรมมาตรฐาน HL7 เชิงปฏิบัติการนานาชาติ : กลยุทธ์ ก้าวกระโดดสำหรับประเทศไทย ที่ ห้องประชุมชั้น 21 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย อาคารวิทยาลัยการจัดการมหิดล โดยการประชุมครั้งนี้จะมีการอ้างอิงข้อมูลของมาตรฐาน HL7 เพื่อนำไปพัฒนาเชื่อมต่อฐานข้อมูลของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-201-2211 ต่อ 237 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.hl7thailand.com