กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าโครงการฟันเทียมพระราชทาน ตั้งเป้าปี 2552-2554 ใส่ฟันเทียมให้ผู้สูงวัย 90,000 ราย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคล 84 พรรษา พร้อมพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุซึ่งเป็นภาคประชาชนอย่างน้อย 1 อำเภอ 1 ชมรม ให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเองของสมาชิก
วันนี้ (5 พ.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมถ่ายทอดโครงการ “ฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องประชุมบอลรูม 1 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุมีทั้งโรคในช่องปากที่มีความชุกและความรุนแรงสูง ไปจนถึงการสูญเสียฟัน ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การเคี้ยวอาหาร การกลืน ความมั่นในในการเข้าสังคมการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายใส่ฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุปีละกว่า 30,000 รายส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมแล้วทั้งสิ้นจำนวน 160,000 ราย ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมร้อยละ 50 มีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ในปี 2550 ยังคงพบผู้สูงอายุที่ควรได้รับบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากเพื่อการเคี้ยวอาหารร้อยละ 4 หรือประมาณ 250,000 ราย อีกทั้งยังพบโรคในช่องปากที่มีโอกาสนำไปสู่การสูญเสียฟัน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานต่อเนื่อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคล 84 พรรษาในปี 2554 โดยจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุภายใต้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2554 ตั้งเป้า 90,000 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 30,000 ราย รวมทั้งลดการสูญเสียฟันโดยพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุซึ่งเป็นภาคประชาชนอย่างน้อย 1 อำเภอ 1 ชมรม ให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเองของสมาชิก และพึ่งพาบริการส่งเสริมป้องกันตามความจำเป็นร่วมกับการจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการจัดบริการและสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสังคมทั้งครอบครัว ชุมชน ภาครัฐและเอกชน และ นำภาคท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
“โดยเฉพาะภาครัฐได้เริ่มบูรณาการบริการจากปฐมภูมิโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่บริการตติยภูมิโดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และศูนย์แพทย์เฉพาะทางตามโครงการไทยเข้มแข็ง ที่ต้องการให้กลุ่มปกติได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากกลุ่มเสียงได้รับการป้องกัน กลุ่มที่พบโรคได้รับบบริการรักษา และผู้ที่สูญเสีย ฟันก็ได้รับการฟื้นฟูสภาพช่องปากซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ต่อเนื่องและเป็นธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวในตอนท้ายว่าการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ นอกจากจะดำเนินการโครงการฟันเทียมพระราชทานแล้ว กระทรวงสาธารณสุขยังได้เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยจัดประชุมถ่ายทอดโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในครั้งนี้ขึ้น เพื่อหวังให้ทันตบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานตามโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมายและตรงตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
อีกทั้งยังเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีมาตั้งแต่เด็กส่งผลให้มีฟันดีในวัย 80 ปี โดยจัดประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี และมอบรางวัลให้แก่ผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมครั้งนี้ด้วย
วันนี้ (5 พ.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมถ่ายทอดโครงการ “ฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องประชุมบอลรูม 1 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุมีทั้งโรคในช่องปากที่มีความชุกและความรุนแรงสูง ไปจนถึงการสูญเสียฟัน ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การเคี้ยวอาหาร การกลืน ความมั่นในในการเข้าสังคมการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานขึ้นตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายใส่ฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุปีละกว่า 30,000 รายส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมแล้วทั้งสิ้นจำนวน 160,000 ราย ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมร้อยละ 50 มีฟันใช้เคี้ยวอาหารได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ในปี 2550 ยังคงพบผู้สูงอายุที่ควรได้รับบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากเพื่อการเคี้ยวอาหารร้อยละ 4 หรือประมาณ 250,000 ราย อีกทั้งยังพบโรคในช่องปากที่มีโอกาสนำไปสู่การสูญเสียฟัน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยจึงได้ดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานต่อเนื่อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคล 84 พรรษาในปี 2554 โดยจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุภายใต้ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2554 ตั้งเป้า 90,000 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 30,000 ราย รวมทั้งลดการสูญเสียฟันโดยพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุซึ่งเป็นภาคประชาชนอย่างน้อย 1 อำเภอ 1 ชมรม ให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลอนามัยช่องปากด้วยตนเองของสมาชิก และพึ่งพาบริการส่งเสริมป้องกันตามความจำเป็นร่วมกับการจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการจัดบริการและสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสังคมทั้งครอบครัว ชุมชน ภาครัฐและเอกชน และ นำภาคท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
“โดยเฉพาะภาครัฐได้เริ่มบูรณาการบริการจากปฐมภูมิโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่บริการตติยภูมิโดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และศูนย์แพทย์เฉพาะทางตามโครงการไทยเข้มแข็ง ที่ต้องการให้กลุ่มปกติได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากกลุ่มเสียงได้รับการป้องกัน กลุ่มที่พบโรคได้รับบบริการรักษา และผู้ที่สูญเสีย ฟันก็ได้รับการฟื้นฟูสภาพช่องปากซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ต่อเนื่องและเป็นธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวในตอนท้ายว่าการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ นอกจากจะดำเนินการโครงการฟันเทียมพระราชทานแล้ว กระทรวงสาธารณสุขยังได้เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยจัดประชุมถ่ายทอดโครงการฟันเทียมพระราชทาน และการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในครั้งนี้ขึ้น เพื่อหวังให้ทันตบุคลากรผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานตามโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุได้ตามเป้าหมายและตรงตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
อีกทั้งยังเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีมาตั้งแต่เด็กส่งผลให้มีฟันดีในวัย 80 ปี โดยจัดประกวด 10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี และมอบรางวัลให้แก่ผู้สูงอายุที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมครั้งนี้ด้วย