โพล 2 สำนัก เผย ประชาชนพร้อมใจตั้งจิตอธิษฐานขอพรวันลอยกระทงขอให้ “ในหลวง” ทรงหายจากพระอาการประชวร รองลงมา ขอให้ครอบครัวมีความสุข คนไทยรักกันไม่แตกแยก ขณะที่ส่วนใหญ่กังวลอุบัติเหตุ ภัยจากพลุ ดอกไม้ไฟ ทะเลาะวิวาท การโจรกรรม ลูกหลาน เยาวชนเสียตัวมากที่สุด ด้าน “ดุสิตโพล” ระบุ คนเบื่อนักการเมืองไม่อยากลอยกระทงด้วย เผย อยากลอยกระทงกับ “มาร์ค” เพียงร้อยละ 24.64 กรี๊ด!! “พี่เคน” อยากลอยกระทงด้วยมากสุด
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” เรื่องการรับรู้และแรงอธิษฐานของประชาชนในวันลอยกระทง ศึกษาตัวอย่างครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อยุธยา ชลบุรี สมุทรสงคราม อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ยโสธร มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร สงขลา และ นครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 1,145 ครัวเรือน วันที่ 31 ตุลาคม 2552 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 ทราบว่า วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน และส่วนใหญ่ร้อยละ 96.6 เข้าใจว่า เป็นการขอบคุณแม่น้ำที่ทำประโยชน์ต่างๆ ให้มนุษย์ เข้าใจว่า เป็นการขอขมาแม่น้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในน้ำ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.0 ตั้งใจจะไปลอยกระทง ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ไม่ไป เพราะไม่ใช่วันหยุด ต้องทำงาน มีธุระ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่ชอบ กลัวดอกไม้ไฟ กลัวเสียงดัง เป็นต้น
นายนพดล กล่าวอีกว่า ที่น่าพิจารณา คือ ถึงแม้ประชาชนกำลังประสบปัญหาเดือดร้อนเรื่องปากท้อง และสภาวะเศรษฐกิจในเวลานี้ แต่ผลสำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือ ร้อยละ 94.7 ต้องการอธิษฐานขอให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวร ทรงพระเจริญ ในขณะที่อันดับสอง หรือร้อยละ 94.6 ขอให้ครอบครัวมีความสุข อันดับสาม หรือร้อยละ 88.9 ขอให้คนไทยรักกันไม่แตกแยก อันดับสี่ หรือร้อยละ 88.5 ขอให้หมดทุกข์หมดโศก อันดับห้า หรือร้อยละ 85.3 อธิษฐานเรื่องสุขภาพ ในขณะที่เรื่องเงินๆ ทองๆ กลับมาอยู่ในอันดับที่หก คือ ร้อยละ 72.5 อธิษฐานเรื่องเงินทอง อันดับเจ็ด หรือร้อยละ 67.7 อธิษฐานเรื่องงาน และร้อยละ 38.8 อธิษฐานเรื่องเรียน
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ในกลุ่มคนที่ไปลอยกระทง ร้อยละ 27.8 จะไปสังสรรค์ต่อ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ลอยกระทงแล้วกลับบ้านเลย เพราะวันรุ่งขึ้นต้องทำงาน ช่วงนี้เศรษฐกิจยังไม่ดี กลัวอันตรายต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ กลุ่มแก๊งซิ่ง พวกมิจฉาชีพต่างๆ เป็นต้น
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ พบสิ่งที่น่าสนใจ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 81.6 กลับให้ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มอาสาสมัคร หน่วยกู้ภัยต่างๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 76.7 เชื่อมั่นตำรวจ และร้อยละ 74.9 เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น กทม.จังหวัด อำเภอ แกนนำชุมชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 90.7 เห็นว่า ตำรวจจำเป็นต้องตั้งด่านตรวจตามถนนสายหลัก
แต่สิ่งที่ประชาชนกังวลในคืนวันลอยกระทงอันดับแรก หรือร้อยละ 86.4 กังวลอุบัติเหตุ อันดับสอง หรือร้อยละ 78.1 กังวลอันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟ ร้อยละ 76.7 กังวลการทะเลาะวิวาท ร้อยละ 72.7 กังวลพฤติกรรมแก๊งซิ่ง ร้อยละ 72.1 กังวลการโจรกรรมทรัพย์สิน ร้อยละ 71.6 กังวลการลักลอบมีเพศสัมพันธ์ของเด็ก/เยาวชนก่อนวัยอันควร ร้อยละ 68.8 กังวลการเสพยาเสพติด เช่น กัญชา ยาบ้า ยาไอซ์ และร้อยละ 66.3 กังวลปัญหาการลวนลามทางเพศ ตามลำดับ
นอกจากนี้ สิ่งที่ประชาชนกังวลในวันหลังคืนวันลอยกระทง พบว่า ร้อยละ 80.8 ระบุความสกปรกของแม่น้ำ ลำคลอง ร้อยละ 73.2 ตื่นขึ้นมาเจอข่าวร้าย เช่น อุบัติเหตุ ไฟไหม้ ฆาตกรรม แก๊งซิ่ง ข่มขืน อาชญากรรมต่างๆ ร้อยละ 50.8 กังวลเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 50.0 ลูกหลานจะเสียเนื้อเสียตัว รวมถึงตัวเองด้วย ร้อยละ 43.3 กังวลปัญหาทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.3 กังวลว่าเงินจะหมด และร้อยละ 33.8 กังวลปัญหาครอบครัว
ขณะที่ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อเทศกาลวันลอยกระทงในปีนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2,494 คน ระหว่างวันที่ 28-31 ตุลาคม 2552 โดยเปรียบเทียบการไปเที่ยวงานของประชาชนปี 2551 และ ปี 2552 จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปี 2551 ร้อยละ 56.43 ไปลอยกระทง ขณะที่ปี 2552 จะไปลอยกระทงร้อยละ 42.25 ถือว่าเป็นตัวเลขที่ลดลงร้อยละ 14.09 ระบุว่า เพราะเศรษฐกิจไม่ดี สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย บ้านเมืองวุ่นวาย ใจคอหดหู่
อย่างไรก็ตาม พบว่า คนส่วนใหญ่ร้อยละ 50.54 ต้องการอธิษฐานขอให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวร ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง รองลงไปร้อยละ 16.48 ขอให้ครอบครัวมีความสุข ความเจริญ ลูกหลานเป็นเด็กดี ร้อยละ 14.36 ขอให้ตนเองมีความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวยมีเงินทอง ร้อยละ 12.33 ขอให้บ้านเมืองสงบสุข และร้อยละ 6.29 ขออภัยและขอขมาพระแม่คงคาหากทำสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร
ส่วน “นักการเมือง” ที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุด ปรากฏว่า ร้อยละ 44.83 ตอบว่า ไม่มีนักการเมืองคนใดที่ประชาชนอยากไปด้วย รองลงมาร้อยละ 24.64 ตอบว่า อยากไปลอยกระทงกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 18.27 ตอบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 6.46 ตอบว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอื่นๆ อีกร้อยละ 5.80 เช่น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับ “ดารา” ที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุดอันดับ 1 ร้อยละ 45.19 “เคน” ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ อันดับ 2 ร้อยละ 28.55 อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ อันดับ 3 ร้อยละ 19.52 อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ และอื่นๆ ร้อยละ 6.74 เช่น แพนเค้ก, คริส หอวัง, พลอย เฌอมาลย์, โดม, มาริโอ, กอล์ฟ-ไมค์, ชาคริต, เพชรา เชาวราษฎร์ ฯลฯ
ด้าน “นักกีฬา” ที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุดอันดับ 1 ร้อยละ 36.81 แทมมารีน ธนสุกาญจน์ อันดับ 2 ร้อยละ 31.22 ลีซอ อันดับ 3 ร้อยละ 20.27 ฟิล์ม-รัฐภาคย์ อื่นๆ อีกร้อยละ 11.70 เช่น ซิโก้, สืบศักดิ์ ผันสืบ, ดนัย อุดมโชค, ธงชัย ใจดี, น้องนก, น้องวิว ฯลฯ
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” เรื่องการรับรู้และแรงอธิษฐานของประชาชนในวันลอยกระทง ศึกษาตัวอย่างครัวเรือนใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อยุธยา ชลบุรี สมุทรสงคราม อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ยโสธร มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ชุมพร สงขลา และ นครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 1,145 ครัวเรือน วันที่ 31 ตุลาคม 2552 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.9 ทราบว่า วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน และส่วนใหญ่ร้อยละ 96.6 เข้าใจว่า เป็นการขอบคุณแม่น้ำที่ทำประโยชน์ต่างๆ ให้มนุษย์ เข้าใจว่า เป็นการขอขมาแม่น้ำที่มนุษย์ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในน้ำ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.0 ตั้งใจจะไปลอยกระทง ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ไม่ไป เพราะไม่ใช่วันหยุด ต้องทำงาน มีธุระ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่ชอบ กลัวดอกไม้ไฟ กลัวเสียงดัง เป็นต้น
นายนพดล กล่าวอีกว่า ที่น่าพิจารณา คือ ถึงแม้ประชาชนกำลังประสบปัญหาเดือดร้อนเรื่องปากท้อง และสภาวะเศรษฐกิจในเวลานี้ แต่ผลสำรวจพบว่า อันดับหนึ่งหรือ ร้อยละ 94.7 ต้องการอธิษฐานขอให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวร ทรงพระเจริญ ในขณะที่อันดับสอง หรือร้อยละ 94.6 ขอให้ครอบครัวมีความสุข อันดับสาม หรือร้อยละ 88.9 ขอให้คนไทยรักกันไม่แตกแยก อันดับสี่ หรือร้อยละ 88.5 ขอให้หมดทุกข์หมดโศก อันดับห้า หรือร้อยละ 85.3 อธิษฐานเรื่องสุขภาพ ในขณะที่เรื่องเงินๆ ทองๆ กลับมาอยู่ในอันดับที่หก คือ ร้อยละ 72.5 อธิษฐานเรื่องเงินทอง อันดับเจ็ด หรือร้อยละ 67.7 อธิษฐานเรื่องงาน และร้อยละ 38.8 อธิษฐานเรื่องเรียน
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ในกลุ่มคนที่ไปลอยกระทง ร้อยละ 27.8 จะไปสังสรรค์ต่อ ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ลอยกระทงแล้วกลับบ้านเลย เพราะวันรุ่งขึ้นต้องทำงาน ช่วงนี้เศรษฐกิจยังไม่ดี กลัวอันตรายต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ กลุ่มแก๊งซิ่ง พวกมิจฉาชีพต่างๆ เป็นต้น
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ พบสิ่งที่น่าสนใจ คือ ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 81.6 กลับให้ความเชื่อมั่นต่อกลุ่มอาสาสมัคร หน่วยกู้ภัยต่างๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 76.7 เชื่อมั่นตำรวจ และร้อยละ 74.9 เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เช่น กทม.จังหวัด อำเภอ แกนนำชุมชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 90.7 เห็นว่า ตำรวจจำเป็นต้องตั้งด่านตรวจตามถนนสายหลัก
แต่สิ่งที่ประชาชนกังวลในคืนวันลอยกระทงอันดับแรก หรือร้อยละ 86.4 กังวลอุบัติเหตุ อันดับสอง หรือร้อยละ 78.1 กังวลอันตรายจากการเล่นดอกไม้ไฟ ร้อยละ 76.7 กังวลการทะเลาะวิวาท ร้อยละ 72.7 กังวลพฤติกรรมแก๊งซิ่ง ร้อยละ 72.1 กังวลการโจรกรรมทรัพย์สิน ร้อยละ 71.6 กังวลการลักลอบมีเพศสัมพันธ์ของเด็ก/เยาวชนก่อนวัยอันควร ร้อยละ 68.8 กังวลการเสพยาเสพติด เช่น กัญชา ยาบ้า ยาไอซ์ และร้อยละ 66.3 กังวลปัญหาการลวนลามทางเพศ ตามลำดับ
นอกจากนี้ สิ่งที่ประชาชนกังวลในวันหลังคืนวันลอยกระทง พบว่า ร้อยละ 80.8 ระบุความสกปรกของแม่น้ำ ลำคลอง ร้อยละ 73.2 ตื่นขึ้นมาเจอข่าวร้าย เช่น อุบัติเหตุ ไฟไหม้ ฆาตกรรม แก๊งซิ่ง ข่มขืน อาชญากรรมต่างๆ ร้อยละ 50.8 กังวลเศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 50.0 ลูกหลานจะเสียเนื้อเสียตัว รวมถึงตัวเองด้วย ร้อยละ 43.3 กังวลปัญหาทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.3 กังวลว่าเงินจะหมด และร้อยละ 33.8 กังวลปัญหาครอบครัว
ขณะที่ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อเทศกาลวันลอยกระทงในปีนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2,494 คน ระหว่างวันที่ 28-31 ตุลาคม 2552 โดยเปรียบเทียบการไปเที่ยวงานของประชาชนปี 2551 และ ปี 2552 จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปี 2551 ร้อยละ 56.43 ไปลอยกระทง ขณะที่ปี 2552 จะไปลอยกระทงร้อยละ 42.25 ถือว่าเป็นตัวเลขที่ลดลงร้อยละ 14.09 ระบุว่า เพราะเศรษฐกิจไม่ดี สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย บ้านเมืองวุ่นวาย ใจคอหดหู่
อย่างไรก็ตาม พบว่า คนส่วนใหญ่ร้อยละ 50.54 ต้องการอธิษฐานขอให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวร ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง รองลงไปร้อยละ 16.48 ขอให้ครอบครัวมีความสุข ความเจริญ ลูกหลานเป็นเด็กดี ร้อยละ 14.36 ขอให้ตนเองมีความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวยมีเงินทอง ร้อยละ 12.33 ขอให้บ้านเมืองสงบสุข และร้อยละ 6.29 ขออภัยและขอขมาพระแม่คงคาหากทำสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร
ส่วน “นักการเมือง” ที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุด ปรากฏว่า ร้อยละ 44.83 ตอบว่า ไม่มีนักการเมืองคนใดที่ประชาชนอยากไปด้วย รองลงมาร้อยละ 24.64 ตอบว่า อยากไปลอยกระทงกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 18.27 ตอบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 6.46 ตอบว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอื่นๆ อีกร้อยละ 5.80 เช่น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับ “ดารา” ที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุดอันดับ 1 ร้อยละ 45.19 “เคน” ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ อันดับ 2 ร้อยละ 28.55 อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ อันดับ 3 ร้อยละ 19.52 อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ และอื่นๆ ร้อยละ 6.74 เช่น แพนเค้ก, คริส หอวัง, พลอย เฌอมาลย์, โดม, มาริโอ, กอล์ฟ-ไมค์, ชาคริต, เพชรา เชาวราษฎร์ ฯลฯ
ด้าน “นักกีฬา” ที่ประชาชนอยากไปลอยกระทงด้วยมากที่สุดอันดับ 1 ร้อยละ 36.81 แทมมารีน ธนสุกาญจน์ อันดับ 2 ร้อยละ 31.22 ลีซอ อันดับ 3 ร้อยละ 20.27 ฟิล์ม-รัฐภาคย์ อื่นๆ อีกร้อยละ 11.70 เช่น ซิโก้, สืบศักดิ์ ผันสืบ, ดนัย อุดมโชค, ธงชัย ใจดี, น้องนก, น้องวิว ฯลฯ