ประเดิม “พีแอล ลอว์” ผู้บริโภคร้องพบตะกอนในน้ำอัดลม พบ 1 ปีมีผู้ร้องเรียนแล้ว 5 พันราย
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า หลังจากกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือพีแอลลอว์ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 ก.พ.52 มีผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องความไม่ปลอดภัยของสินค้าเพียง 1 รายการ โดยพบตะกอนก้นขวดในน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ซึ่งพบว่าไม่เข้าข่ายการทำให้เกิดความเสียหายในร่างกายแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเพียงข้อพิพาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น และ สคบ.ได้เจรจาไกล่เกลี่ยเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การนำกฎหมายพีแอลมาใช้ในไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้บริโภคจะได้รับสิทธิคุ้มครองหากได้รับความเสียหายในสินค้าที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงผู้บริโภคไม่ต้องมีการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้น ด้านผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบในตัวสินค้ามากขึ้น และมีความสุจริตในการประกอบธุรกิจ ทั้งในเรื่องของกระบวนการผลิต ตลอดจนการรวจสอบมาตรฐานสินค้า
ส่วนสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคตั้งแต่ ต.ค.51-31 ส.ค.52 มีการร้องเรียน 5,814 ราย แยกเป็นการร้องเรียนด้านโฆษณาสินค้าหรือบริการ 869 ราย สินค้าและบริการไม่ได้คุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน 2,295 ราย บ้าน อาคารชุด ที่ดิน 2,580 ราย ส่วนการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับบ้านมีเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามาเป็นอันดับต้นๆ เช่น ชำรุดหลังปลูกสร้าง ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามที่กำหนด ขอให้ตรวจสอบโครงการ ผู้บริโภคกู้ไม่ผ่านถูกโครงการยึดเงินดาวน์ เป็นต้น
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า หลังจากกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือพีแอลลอว์ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 ก.พ.52 มีผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องความไม่ปลอดภัยของสินค้าเพียง 1 รายการ โดยพบตะกอนก้นขวดในน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ซึ่งพบว่าไม่เข้าข่ายการทำให้เกิดความเสียหายในร่างกายแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเพียงข้อพิพาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น และ สคบ.ได้เจรจาไกล่เกลี่ยเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การนำกฎหมายพีแอลมาใช้ในไทยถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้บริโภคจะได้รับสิทธิคุ้มครองหากได้รับความเสียหายในสินค้าที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงผู้บริโภคไม่ต้องมีการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้น ด้านผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบในตัวสินค้ามากขึ้น และมีความสุจริตในการประกอบธุรกิจ ทั้งในเรื่องของกระบวนการผลิต ตลอดจนการรวจสอบมาตรฐานสินค้า
ส่วนสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคตั้งแต่ ต.ค.51-31 ส.ค.52 มีการร้องเรียน 5,814 ราย แยกเป็นการร้องเรียนด้านโฆษณาสินค้าหรือบริการ 869 ราย สินค้าและบริการไม่ได้คุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน 2,295 ราย บ้าน อาคารชุด ที่ดิน 2,580 ราย ส่วนการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับบ้านมีเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามาเป็นอันดับต้นๆ เช่น ชำรุดหลังปลูกสร้าง ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามที่กำหนด ขอให้ตรวจสอบโครงการ ผู้บริโภคกู้ไม่ผ่านถูกโครงการยึดเงินดาวน์ เป็นต้น