สธ.สั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบเส้นลวดอยู่ในยาแก้ปวดพาราเซตามอล ที่จังหวัดแพร่ ลั่น อภ.เร่งตรวจสอบบริษัทที่รับผลิตให้องค์การฯ พร้อมให้เก็บยารุ่นผลิตล็อตเดียวกันออกจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ร้านขายของชำทุกหมู่บ้านแล้ว
จากกรณีที่นางแสงเดือน บ่อคำ อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121 หมู่ 1 ต.เหมืองหม้อ อ.เมือง จ.แพร่ ได้ร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่า พบเส้นลวดอยู่ในยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ที่ซื้อมาจากร้านขายยาในหมู่บ้าน ซึ่งยาดังกล่าวบรรจุอยู่ในซองยา โดยระบุว่า พารา จีพีโอ (PARA GPO) องค์การเภสัชกรรม นั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในเบื้องต้น นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร็วที่สุด เนื่องจากยาดังกล่าวเป็นยาพื้นฐานที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดลดไข้ ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายในระดับหมู่บ้าน และสั่งการให้องค์การเภสัชกรรมตรวจสอบบริษัทที่รับผลิต และเร่งเก็บยาดังกล่าวที่ผลิตในล็อตเดียวกันออกจากท้องตลาดและสถานพยาบาลที่ใช้ทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ด้าน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วันนี้ (25 ตุลาคม 2552) ได้เรียกประชุมผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องขององค์การเภสัชกรรมเป็นการด่วน โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปที่จังหวัดแพร่ เพื่อเยี่ยมครอบครัวผู้เสียหาย และเก็บตัวอย่างยาที่พบลวดมาแล้ว จากนั้นได้เดินทางไปเก็บยาพาราเซตามอลที่ร้านขายยาในหมู่บ้านต้นตอ เพื่อนำมาตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ยาพาราเซตามอล องค์การเภสัชกรรมได้ระดมเจ้าหน้าที่ทุกจังหวัดออกเก็บยาพาราเซตามอล ออกจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา รวมทั้งร้านชำต่างๆทั้งหมดทั่วประเทศ
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ยาพาราเซาตามอลชนิดเม็ดที่บรรจุแผงสำเร็จรูปนี้ องค์การเภสัชกรรมได้จ้างบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีมาตรฐานจีเอ็มพีเป็นผู้ผลิต ในวันพรุ่งนี้จะหารือกับผู้บริหารบริษัท และตรวจเยี่ยมโรงงานผู้ผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกและสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
จากกรณีที่นางแสงเดือน บ่อคำ อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121 หมู่ 1 ต.เหมืองหม้อ อ.เมือง จ.แพร่ ได้ร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่า พบเส้นลวดอยู่ในยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ที่ซื้อมาจากร้านขายยาในหมู่บ้าน ซึ่งยาดังกล่าวบรรจุอยู่ในซองยา โดยระบุว่า พารา จีพีโอ (PARA GPO) องค์การเภสัชกรรม นั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในเบื้องต้น นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร็วที่สุด เนื่องจากยาดังกล่าวเป็นยาพื้นฐานที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดลดไข้ ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายในระดับหมู่บ้าน และสั่งการให้องค์การเภสัชกรรมตรวจสอบบริษัทที่รับผลิต และเร่งเก็บยาดังกล่าวที่ผลิตในล็อตเดียวกันออกจากท้องตลาดและสถานพยาบาลที่ใช้ทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ด้าน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วันนี้ (25 ตุลาคม 2552) ได้เรียกประชุมผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องขององค์การเภสัชกรรมเป็นการด่วน โดยได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปที่จังหวัดแพร่ เพื่อเยี่ยมครอบครัวผู้เสียหาย และเก็บตัวอย่างยาที่พบลวดมาแล้ว จากนั้นได้เดินทางไปเก็บยาพาราเซตามอลที่ร้านขายยาในหมู่บ้านต้นตอ เพื่อนำมาตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ยาพาราเซตามอล องค์การเภสัชกรรมได้ระดมเจ้าหน้าที่ทุกจังหวัดออกเก็บยาพาราเซตามอล ออกจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา รวมทั้งร้านชำต่างๆทั้งหมดทั่วประเทศ
นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ยาพาราเซาตามอลชนิดเม็ดที่บรรจุแผงสำเร็จรูปนี้ องค์การเภสัชกรรมได้จ้างบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีมาตรฐานจีเอ็มพีเป็นผู้ผลิต ในวันพรุ่งนี้จะหารือกับผู้บริหารบริษัท และตรวจเยี่ยมโรงงานผู้ผลิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกและสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน