บอร์ด สพฉ.เล็งผลิตแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเพิ่มอีก 20 คนต่อปี เหตุขาดแคลนทั่วประเทศมีเพียง 130 คน ตั้งเป้ามีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป แห่งละ 3 คน พร้อมประสาน ม.รังสิต ผลิตพาราเมดดิก ร่วมในชุดปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลด้วย
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า มติการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (บอร์ด สพฉ.) อนุมัติให้มีการผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินเพิ่มอีก 20 ตำแหน่ง จากเดิมที่มีการผลิตแพทย์ในสาขานี้เพียงปีละ 27 คน จะทำให้ในแต่ละปีมีแพทย์ที่จบการศึกษาในสาขาดังกล่าว 47คนต่อปี ทั้งนี้ มีการตั้งเป้าให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อยแห่งละ 3 คน ภายในปี พ.ศ.2553 ซึ่งปัจจุบันมีแพทย์เฉลี่ยเพียง 1.5 คน
“ขณะนี้แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินซึ่งจะปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล มีไม่เพียงพอ ทั่วประเทศมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินประมาณ 130 คน กระจายอยู่ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน สำหรับหลักสูตรแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินศึกษาต่อ 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับไปโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปที่มีความขาดแคลนจำเป็นต้องมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน”นพ.ชาตรี กล่าว
ด้าน นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวเสริมว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและมีผู้ประสพภัยฉุกเฉินรวมทั้งมีผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยกะทันหันเกิดขึ้น ในอดีตญาตินำส่งเองหรืออาสาสมัครมูลนิธิเป็นผู้นำส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้น การรักษาพยาบาลจึงเริ่มต้นในโรงพยาบาลนั้น ปัจจุบันนี้มีระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตั้งแต่จุดเกิดเหตุ รักษาพยาบาลระหว่างนำส่งโรงพยาบาล จนกระทั่งถึงโรงพยาบาล เมื่อมีการเรียกใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 จะมีการส่งทีมปฏิบัติการไปถึงที่เกิดเหตุภายในเวลา 10 นาที ซึ่งประกอบด้วยรถพยาบาลและบุคลากรด้านต่างๆ ที่จะเข้าทำงานเป็นทีมประสานสอดคล้องกัน ที่เรียกว่าผู้ปฏิบัติการ ซึ่งอาจประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลกู้ชีพ ตลอดจนบรรดาเวชกรฉุกเฉินประเภทต่างๆซึ่งจะต้องผ่านการอบรมศึกษาเป็นอย่างดี ให้มีมาตรฐาน
นพ.ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนี้ สพฉ.ได้จัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1.ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ซึ่งเป็นอาสาสมัครกู้ชีพจะต้องผ่านการอบรม 16 และ 40 ชั่วโมง 2.เวชกรฉุกเฉินระดับต้น (EMT-B) จะต้องผ่านการศึกษาอบรม 110 ชั่วโมง 3.เวชกรฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-I) ซึ่งจะเป็นระดับวิชาชีพ ต้องมีการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จากสถาบันที่ได้รับการรับรอง และ 4.เวชกรฉุกเฉินระดับสูง (EMT-P) หรือพาราเมดิก จะต้องผ่านการศึกษาหลักสูตร 4 ปี จากสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐาน
“ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรอบรมพาราเมดิกโดยเฉพาะ จึงได้ประสานมหาวิทยาลัยรังสิตในการเตรียมร่างหลักสูตรดังกล่าว ที่ผ่านมา เราใช้พยาบาลห้องฉุกเฉินที่คุ้นเคยกับงานช่วยเหลือคนไข้ฉุกเฉินในโรงพยาบาลอยู่ก่อนแล้ว มาอบรมเพิ่มเติม 4-6 เดือน และใช้ชื่อเรียกเป็น พยาบาลกู้ชีพ (Pre Hospital Emergency Nurse) เพื่อออกปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ ให้ได้เทียบเท่า พาราเมดิก ในต่างประเทศ
นพ.ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า นอกจากแพทย์แล้วบุคลากรอื่นๆ ที่กล่าวมา มีความสำคัญมากพอๆกัน เพราะจะต้องร่วมทำงานเป็นทีม การปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องรวดเร็วและต้องแบ่งหน้าที่กันทำงานเป็นอย่างดี เพื่อให้การปฏิบัติการฉุกเฉินก่อนที่ผู้ป่วยจะไปถึงโรงพยาบาลนั้นประสบความสำเร็จช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินและสามารถลดความพิการได้มากขึ้น
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า มติการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (บอร์ด สพฉ.) อนุมัติให้มีการผลิตแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินเพิ่มอีก 20 ตำแหน่ง จากเดิมที่มีการผลิตแพทย์ในสาขานี้เพียงปีละ 27 คน จะทำให้ในแต่ละปีมีแพทย์ที่จบการศึกษาในสาขาดังกล่าว 47คนต่อปี ทั้งนี้ มีการตั้งเป้าให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปอย่างน้อยแห่งละ 3 คน ภายในปี พ.ศ.2553 ซึ่งปัจจุบันมีแพทย์เฉลี่ยเพียง 1.5 คน
“ขณะนี้แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินซึ่งจะปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล มีไม่เพียงพอ ทั่วประเทศมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินประมาณ 130 คน กระจายอยู่ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน สำหรับหลักสูตรแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินศึกษาต่อ 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับไปโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปที่มีความขาดแคลนจำเป็นต้องมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน”นพ.ชาตรี กล่าว
ด้าน นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวเสริมว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและมีผู้ประสพภัยฉุกเฉินรวมทั้งมีผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยกะทันหันเกิดขึ้น ในอดีตญาตินำส่งเองหรืออาสาสมัครมูลนิธิเป็นผู้นำส่งโรงพยาบาล หลังจากนั้น การรักษาพยาบาลจึงเริ่มต้นในโรงพยาบาลนั้น ปัจจุบันนี้มีระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตั้งแต่จุดเกิดเหตุ รักษาพยาบาลระหว่างนำส่งโรงพยาบาล จนกระทั่งถึงโรงพยาบาล เมื่อมีการเรียกใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 จะมีการส่งทีมปฏิบัติการไปถึงที่เกิดเหตุภายในเวลา 10 นาที ซึ่งประกอบด้วยรถพยาบาลและบุคลากรด้านต่างๆ ที่จะเข้าทำงานเป็นทีมประสานสอดคล้องกัน ที่เรียกว่าผู้ปฏิบัติการ ซึ่งอาจประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลกู้ชีพ ตลอดจนบรรดาเวชกรฉุกเฉินประเภทต่างๆซึ่งจะต้องผ่านการอบรมศึกษาเป็นอย่างดี ให้มีมาตรฐาน
นพ.ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนี้ สพฉ.ได้จัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉินแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ 1.ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ซึ่งเป็นอาสาสมัครกู้ชีพจะต้องผ่านการอบรม 16 และ 40 ชั่วโมง 2.เวชกรฉุกเฉินระดับต้น (EMT-B) จะต้องผ่านการศึกษาอบรม 110 ชั่วโมง 3.เวชกรฉุกเฉินระดับกลาง (EMT-I) ซึ่งจะเป็นระดับวิชาชีพ ต้องมีการศึกษาหลักสูตร 2 ปี จากสถาบันที่ได้รับการรับรอง และ 4.เวชกรฉุกเฉินระดับสูง (EMT-P) หรือพาราเมดิก จะต้องผ่านการศึกษาหลักสูตร 4 ปี จากสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐาน
“ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรอบรมพาราเมดิกโดยเฉพาะ จึงได้ประสานมหาวิทยาลัยรังสิตในการเตรียมร่างหลักสูตรดังกล่าว ที่ผ่านมา เราใช้พยาบาลห้องฉุกเฉินที่คุ้นเคยกับงานช่วยเหลือคนไข้ฉุกเฉินในโรงพยาบาลอยู่ก่อนแล้ว มาอบรมเพิ่มเติม 4-6 เดือน และใช้ชื่อเรียกเป็น พยาบาลกู้ชีพ (Pre Hospital Emergency Nurse) เพื่อออกปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ ให้ได้เทียบเท่า พาราเมดิก ในต่างประเทศ
นพ.ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า นอกจากแพทย์แล้วบุคลากรอื่นๆ ที่กล่าวมา มีความสำคัญมากพอๆกัน เพราะจะต้องร่วมทำงานเป็นทีม การปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องรวดเร็วและต้องแบ่งหน้าที่กันทำงานเป็นอย่างดี เพื่อให้การปฏิบัติการฉุกเฉินก่อนที่ผู้ป่วยจะไปถึงโรงพยาบาลนั้นประสบความสำเร็จช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินและสามารถลดความพิการได้มากขึ้น