รายงานพิเศษ//รอยเตอร์
24 ก.ย.52 มวลมนุษยชาติต่างชื่นชนกับความสำเร็จของโครงการศึกษาวัคซีนทดลองเอดส์ระยะที่ 3 ในไทย เพราะถึงแม้จะมีประสิทธิภาพแค่ 31.2% แต่ถือเป็น “ครั้งแรกของโลก” ที่พบว่าวัคซีนช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไวอี
อย่างไรก็ตาม กว่าที่จะมาถึงวันนี้ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโครงการนี้เคยถูกคัดค้านอย่างหนักจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่า วัคซีนนี้จะไม่ได้ผลอะไร ดังนั้น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก
ในปี ค.ศ.2004 ดร.รอเบิร์ต แกลโล แห่งสถาบันไวรัสวิทยามนุษย์ (Institute of Human Virology) ในเมืองบัลติมอร์ ผู้มีบทบาทช่วยค้นพบเชื้อไวรัสโรคเอดส์ พร้อมพรรคพวกอีก 22 คน ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่งกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯ ว่าเสียเงินงบประมาณเปล่าๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์จากการให้ทุนสนับสนุนโครงการทดลองนี้
ทว่า พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของไทย และพวกผู้ร่วมงานในสหรัฐฯ ณ สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health) และสถาบันวิจัยกองทัพบก วอลเตอร์ รีด (Walter Reed Army Institute of Research) ยังคงเดินหน้าให้มีการทดลองกับอาสาสมัครชาวไทยราว 16,000 คน
“มันเป็นการตัดสินใจที่ลำบากมาก ผมดีใจที่เราทำการทดลองกันจนได้” ดร.แอนโธนี ฟาวซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ หนึ่งในผู้ที่ไม่ฟังเสียงวิจารณ์และให้เดินหน้าการทดลองต่อไปกล่าว
ทั้งนี้ วัคซีนที่ใช้ในการทดลองคราวนี้ เป็นการผสมผสานวัคซีน 2 ชนิดที่เคยทดลองและประสบความล้มเหลวไปก่อนแล้ว ได้แก่ วัคซีน ALVAC canary pox/HIV ของบริษัทซาโนฟี-ปาสเตอร์ และวัคซีน AIDSVAX ที่ทำขึ้นโดยบริษัทในซานฟรานซิสโกซึ่งมีชื่อว่า แวกซ์เจน และบัดนี้ตกเป็นขององค์กรไม่หวังผลกำไรที่ใช้ชื่อว่า Global Solutions for Infectious Disease
“การทดลองคราวนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ในปี 2004 พวกนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของสหรัฐฯได้เขียนจดหมายไปถึงวารสารไซน์ส (Science)ว่าไม่ควรทดลองเพราะวัคซีนเหล่านี้ได้รับการทดลอบมาก่อนว่าไม่ได้กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันชนิดที่ถูกต้องเหมาะสมเลย” โดนัลด์ เบิร์ก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก เล่า
“แต่เมื่อคำนึงถึงความสำคัญของโรคเอดส์ จึงมีการตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อไปโดยไม่สนใจกับเสียงวิจารณ์ มันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ” เบิร์กกล่าวต่อ
เบิร์กเคยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยโรคเอดส์ที่วอลเตอร์ รีด ก่อนจะเกษียณอายุในปี 1997 โดยเบิร์กได้แยกเชื้อไวรัสเอดส์ ที่นำมาจากทหารหนุ่มไทยคนหนึ่งที่ติดเชื้อเอชไอวีในปี 1989 ภายหลังที่คณะแพทย์ทหารของไทยพบว่ามีการระบาดของเชื้อเอชไอวีในหมู่ทหารเกณฑ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างไวรัสดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในไวรัสพื้นฐานของวัคซีนทดลอง
“ถ้าผมจะยกย่องให้เครดิตแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงกลุ่มเดียวแล้ว ก็จะต้องเป็นกระทรวงสาธารณสุขของไทย เพราะมันเป็นการทดลองในประชาชนคนไทย” เขากล่าว
โครงการทดลองมูลค่า 105 ล้านดอลลาร์นี้ อุปถัมภ์โดยรัฐบาลสหรัฐฯ และผลลัพธ์ที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า วัคซีนผสมนี้สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ 31.2% จากการทดลองกับอาสาสมัคร 16,402 คนในช่วงเวลา 3 ปี
“ต้องยกย่องคนไทยที่สามารถสร้างผลงานอันโดดเด่นในเรื่องนี้” ดร.อีริก ชูเมกเกอร์ แพทย์ใหญ่แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว “พวกเขาทำงานอันโดดเด่นในการหาอาสาสมัคร และในการดำเนินการทดลองคราวนี้อย่างแทบไม่มีข้อบกพร่องเลย”
ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า ผลลัพธ์อันน่าประหลาดใจจากการทดลองคราวนี้ ถือเป็นชัยชนะอีกครั้งหนึ่งสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้ต่อสู้กับโรคร้ายที่เคยทำท่าคุกคามจะระบาดใหญ่จนควบคุมไม่อยู่เมื่อราว 20 ปีมาแล้ว
24 ก.ย.52 มวลมนุษยชาติต่างชื่นชนกับความสำเร็จของโครงการศึกษาวัคซีนทดลองเอดส์ระยะที่ 3 ในไทย เพราะถึงแม้จะมีประสิทธิภาพแค่ 31.2% แต่ถือเป็น “ครั้งแรกของโลก” ที่พบว่าวัคซีนช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไวอี
อย่างไรก็ตาม กว่าที่จะมาถึงวันนี้ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะโครงการนี้เคยถูกคัดค้านอย่างหนักจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่า วัคซีนนี้จะไม่ได้ผลอะไร ดังนั้น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงได้รับการชื่นชมจากทั่วโลก
ในปี ค.ศ.2004 ดร.รอเบิร์ต แกลโล แห่งสถาบันไวรัสวิทยามนุษย์ (Institute of Human Virology) ในเมืองบัลติมอร์ ผู้มีบทบาทช่วยค้นพบเชื้อไวรัสโรคเอดส์ พร้อมพรรคพวกอีก 22 คน ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่งกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯ ว่าเสียเงินงบประมาณเปล่าๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์จากการให้ทุนสนับสนุนโครงการทดลองนี้
ทว่า พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของไทย และพวกผู้ร่วมงานในสหรัฐฯ ณ สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health) และสถาบันวิจัยกองทัพบก วอลเตอร์ รีด (Walter Reed Army Institute of Research) ยังคงเดินหน้าให้มีการทดลองกับอาสาสมัครชาวไทยราว 16,000 คน
“มันเป็นการตัดสินใจที่ลำบากมาก ผมดีใจที่เราทำการทดลองกันจนได้” ดร.แอนโธนี ฟาวซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ หนึ่งในผู้ที่ไม่ฟังเสียงวิจารณ์และให้เดินหน้าการทดลองต่อไปกล่าว
ทั้งนี้ วัคซีนที่ใช้ในการทดลองคราวนี้ เป็นการผสมผสานวัคซีน 2 ชนิดที่เคยทดลองและประสบความล้มเหลวไปก่อนแล้ว ได้แก่ วัคซีน ALVAC canary pox/HIV ของบริษัทซาโนฟี-ปาสเตอร์ และวัคซีน AIDSVAX ที่ทำขึ้นโดยบริษัทในซานฟรานซิสโกซึ่งมีชื่อว่า แวกซ์เจน และบัดนี้ตกเป็นขององค์กรไม่หวังผลกำไรที่ใช้ชื่อว่า Global Solutions for Infectious Disease
“การทดลองคราวนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ในปี 2004 พวกนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของสหรัฐฯได้เขียนจดหมายไปถึงวารสารไซน์ส (Science)ว่าไม่ควรทดลองเพราะวัคซีนเหล่านี้ได้รับการทดลอบมาก่อนว่าไม่ได้กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันชนิดที่ถูกต้องเหมาะสมเลย” โดนัลด์ เบิร์ก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก เล่า
“แต่เมื่อคำนึงถึงความสำคัญของโรคเอดส์ จึงมีการตัดสินใจที่จะเดินหน้าต่อไปโดยไม่สนใจกับเสียงวิจารณ์ มันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ก็เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ” เบิร์กกล่าวต่อ
เบิร์กเคยเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยโรคเอดส์ที่วอลเตอร์ รีด ก่อนจะเกษียณอายุในปี 1997 โดยเบิร์กได้แยกเชื้อไวรัสเอดส์ ที่นำมาจากทหารหนุ่มไทยคนหนึ่งที่ติดเชื้อเอชไอวีในปี 1989 ภายหลังที่คณะแพทย์ทหารของไทยพบว่ามีการระบาดของเชื้อเอชไอวีในหมู่ทหารเกณฑ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างไวรัสดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในไวรัสพื้นฐานของวัคซีนทดลอง
“ถ้าผมจะยกย่องให้เครดิตแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงกลุ่มเดียวแล้ว ก็จะต้องเป็นกระทรวงสาธารณสุขของไทย เพราะมันเป็นการทดลองในประชาชนคนไทย” เขากล่าว
โครงการทดลองมูลค่า 105 ล้านดอลลาร์นี้ อุปถัมภ์โดยรัฐบาลสหรัฐฯ และผลลัพธ์ที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า วัคซีนผสมนี้สามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ 31.2% จากการทดลองกับอาสาสมัคร 16,402 คนในช่วงเวลา 3 ปี
“ต้องยกย่องคนไทยที่สามารถสร้างผลงานอันโดดเด่นในเรื่องนี้” ดร.อีริก ชูเมกเกอร์ แพทย์ใหญ่แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว “พวกเขาทำงานอันโดดเด่นในการหาอาสาสมัคร และในการดำเนินการทดลองคราวนี้อย่างแทบไม่มีข้อบกพร่องเลย”
ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า ผลลัพธ์อันน่าประหลาดใจจากการทดลองคราวนี้ ถือเป็นชัยชนะอีกครั้งหนึ่งสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้ต่อสู้กับโรคร้ายที่เคยทำท่าคุกคามจะระบาดใหญ่จนควบคุมไม่อยู่เมื่อราว 20 ปีมาแล้ว