เผยเบื้องลึกโครงการศึกษาวัคซีนทดลองเอดส์ของทีมนักวิจัยไทย-สหรัฐฯ จนกระทั่งกลายเป็นครั้งแรกของโลกที่พบว่าช่วยมนุษย์ป้องกันเชื้อเอชไอวี ได้เคยถูกคัดค้านหนักจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง และต้องเดินหน้าไปท่ามกลางเสียงโต้แย้งอย่างรุนแรง โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การที่โครงการประสบความสำเร็จจนได้ในที่สุดนั้น ต้องยกเครดิตให้แก่ฝ่ายไทยกันเต็มๆ
การทดลองคราวนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของสหรัฐฯจำนวนถึง 22 คนเมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่า วัคซีนนี้จะไม่ได้ผลอะไร
นักวิทยาศาสตร์ดังๆ ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ คนหนึ่งได้แก่ ดร.รอเบิร์ต แกลโล แห่งสถาบันไวรัสวิทยามนุษย์ (Institute of Human Virology) ในเมืองบัลติมอร์ ผู้มีบทบาทช่วยค้นพบเชื้อไวรัสโรคเอดส์ พวกเขา 22 คน ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อความกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯว่าเสียเงินงบประมาณเปล่าๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ จากการให้ทุนสนับสนุนโครงการทดลองนี้
ทว่าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของไทย และพวกผู้ร่วมงานในสหรัฐฯ ณ สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health) และสถาบันวิจัยกองทัพบก วอลเตอร์ รีด (Walter Reed Army Institute of Research) ยังคงเดินหน้าให้มีการทดลอง ซึ่งใช้อาสาสมัครชาวไทยราว 16,000 คน
“มันเป็นการตัดสินใจที่ลำบากมาก ผมดีใจที่เราทำการทดลองกันจนได้” ดร.แอนโธนี ฟาวซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ บอกกับผู้สื่อข่าว เขาเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ฟังเสียงวิจารณ์และให้เดินหน้าการทดลองต่อไป
การทดลองคราวนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของสหรัฐฯจำนวนถึง 22 คนเมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากเป็นที่คาดหมายกันอย่างกว้างขวางว่า วัคซีนนี้จะไม่ได้ผลอะไร
นักวิทยาศาสตร์ดังๆ ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ คนหนึ่งได้แก่ ดร.รอเบิร์ต แกลโล แห่งสถาบันไวรัสวิทยามนุษย์ (Institute of Human Virology) ในเมืองบัลติมอร์ ผู้มีบทบาทช่วยค้นพบเชื้อไวรัสโรคเอดส์ พวกเขา 22 คน ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อความกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯว่าเสียเงินงบประมาณเปล่าๆ มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ จากการให้ทุนสนับสนุนโครงการทดลองนี้
ทว่าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของไทย และพวกผู้ร่วมงานในสหรัฐฯ ณ สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (National Institutes of Health) และสถาบันวิจัยกองทัพบก วอลเตอร์ รีด (Walter Reed Army Institute of Research) ยังคงเดินหน้าให้มีการทดลอง ซึ่งใช้อาสาสมัครชาวไทยราว 16,000 คน
“มันเป็นการตัดสินใจที่ลำบากมาก ผมดีใจที่เราทำการทดลองกันจนได้” ดร.แอนโธนี ฟาวซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ บอกกับผู้สื่อข่าว เขาเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ฟังเสียงวิจารณ์และให้เดินหน้าการทดลองต่อไป