สภาพัฒน์รายงานภาวะสังคมไตรมาสสอง ชี้ปัญหาการว่างงานพ้นจากภาวะวิกฤตแล้ว การจ้างงานขยายตัวมากขึ้นในระดับที่น่าพอใจ แต่ห่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคต่างๆ จากผลกระทบภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 ที่มีแนวโน้มเพิ่มและรุนแรงมากขึ้น
นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2552 ว่า ปัญหาการว่างงานพ้นจากภาวะวิกฤติแล้ว พบการจ้างงานในภาพรวมขยายตัวร้อยละ 2.3 มีการขยายตัว ทั้งภาคเกษตร และการจ้างงานนอกภาคเกษตร ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิตที่จ้างงานลดลงร้อยละ 3.2 อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 1.8 ในไตรมาสนี้ อัตราการบรรจุงานปรับตัวดีขึ้นจากการเริ่มฟื้นตัวในบางสาขาการผลิต และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 68,142 คน จากตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 103,028 อัตรา หรือคิดเป็นการบรรจุงานร้อยละ 66.1 ของตำแหน่งที่เปิดรับ ดังนั้นเชื่อว่า การว่างงานมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งตัวเลขล่าสุดในเดือน ก.ค. 2552 พบว่า มีผู้ว่างงานประมาณ 500,000 คน ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขการว่างงานทั้งปี 2552 จนถึงสิ้นปี ไม่น่าเกินร้อยละ 2 ถือเป็นระดับที่น่าพอใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจะช่วยเพิ่มตลาดแรงงานและลดการว่างงานได้มากขึ้น
สำหรับปัญหาสุขภาพของคนไทย พบว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำให้โรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา มีการแพร่ระบาดมากขึ้น และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในไตรมาสสอง 21,357 ราย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสหนึ่งร้อยละ 58 ขณะที่ไข้เลือดออกก็พบผู้ป่วยในไตรมาสสองเพิ่มมากขึ้นกว่าไตรมาสแรก ส่วนสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ช่วงไตรมาสสอง พบว่า คนไทยป่วยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลมากถึง 21,119 คน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบลดลงจากไตรมาสแรกถึงร้อยละ 55.3 เพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาก่อน
นางสุวรรณี กล่าวอีกว่า ในส่วนของความมั่นคงทางสังคม พบว่า อาชญากรรมลดน้อยลง ทั้งคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดียาเสพติด และคดีความผิดของเด็กและเยาวชน แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ คดีขว้างหินใส่รถยนต์เป็นพฤติกรรมการลอกเลียนแบบของเด็กและเยาวชน แพร่ระบาดไปในหลายพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลคดีที่เกิดขึ้นและการจับกุมในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.2552 พบว่า ผู้ก่อเหตุส่วนมากเป็นเด็กและเยาวชน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความคึกคะนอง และบางส่วนทดลองเลียนแบบข่าวนำเสนอ และแม้ถูกจับได้ก็มักได้รับการลดหย่อนโทษ เพราะเป็นเด็กจึงทำให้ไม่กลัวความผิดที่กระทำ
รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2552 ยังพบว่า การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตส่งผลให้การบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง แต่การบริโภคแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชนขยายตัวอย่างน่าเป็นห่วง เพราะร้านจำหน่ายอยู่ใกล้สถานศึกษา ส่วนปัญหาการร้องเรียนของผู้บริโภคภาพรวมลดลง แต่พบแนวโน้มการร้องเรียนสินค้าประเภทยาและเครื่องสำอางมีเพิ่มขึ้น โดยส่วนมากเกิดจากโฆษณาเกินจริง และค่านิยมการใช้บริการเสริมความงามในรูปแบบต่างๆ เช่นดึงหน้า กรีดไขมันถุงใต้ตา จนมีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนและปัญหาที่ตามมาภายหลัง นอกจากนี้ยังพบว่ายอดขายสินค้าไอทีขยายตัวเร็วกว่าจำนวนผู้ใช้จริง สะท้อนกระแสบริโภคนิยมที่อาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า
รองเลขาธิการ สศช.กล่าวอีกว่า สศช.ยังได้ทำการสำรวจเรื่อง “ภาวะโลกร้อนกับสังคมไทย” ในช่วงระหว่างวันที่ 4-11 สิงหาคม 2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 4,012 ราย จาก 10 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ร้อยละ 30 ยังเข้าใจน้อยและส่งผลให้ไม่ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าการแยกขยะช่วยลดภาวะโลกร้อน ส่วนพฤติกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนและมีผู้ปฏิบัติมาก ได้แก่ การดับเครื่องเมื่อจอดรถ การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประหยัด แต่เมื่อสอบถามลึกลงไป ได้คำตอบว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อประหยัดเงินเป็นหลัก ไม่ได้คิดถึงเพื่อลดภาวะโลกร้อน รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญและมีมาตรการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง
นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2552 ว่า ปัญหาการว่างงานพ้นจากภาวะวิกฤติแล้ว พบการจ้างงานในภาพรวมขยายตัวร้อยละ 2.3 มีการขยายตัว ทั้งภาคเกษตร และการจ้างงานนอกภาคเกษตร ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิตที่จ้างงานลดลงร้อยละ 3.2 อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 2.1 ในไตรมาสแรก เป็นร้อยละ 1.8 ในไตรมาสนี้ อัตราการบรรจุงานปรับตัวดีขึ้นจากการเริ่มฟื้นตัวในบางสาขาการผลิต และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 68,142 คน จากตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 103,028 อัตรา หรือคิดเป็นการบรรจุงานร้อยละ 66.1 ของตำแหน่งที่เปิดรับ ดังนั้นเชื่อว่า การว่างงานมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งตัวเลขล่าสุดในเดือน ก.ค. 2552 พบว่า มีผู้ว่างงานประมาณ 500,000 คน ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขการว่างงานทั้งปี 2552 จนถึงสิ้นปี ไม่น่าเกินร้อยละ 2 ถือเป็นระดับที่น่าพอใจในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งจะช่วยเพิ่มตลาดแรงงานและลดการว่างงานได้มากขึ้น
สำหรับปัญหาสุขภาพของคนไทย พบว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำให้โรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา มีการแพร่ระบาดมากขึ้น และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาในไตรมาสสอง 21,357 ราย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสหนึ่งร้อยละ 58 ขณะที่ไข้เลือดออกก็พบผู้ป่วยในไตรมาสสองเพิ่มมากขึ้นกว่าไตรมาสแรก ส่วนสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ช่วงไตรมาสสอง พบว่า คนไทยป่วยเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลมากถึง 21,119 คน ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบลดลงจากไตรมาสแรกถึงร้อยละ 55.3 เพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาก่อน
นางสุวรรณี กล่าวอีกว่า ในส่วนของความมั่นคงทางสังคม พบว่า อาชญากรรมลดน้อยลง ทั้งคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดียาเสพติด และคดีความผิดของเด็กและเยาวชน แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ คดีขว้างหินใส่รถยนต์เป็นพฤติกรรมการลอกเลียนแบบของเด็กและเยาวชน แพร่ระบาดไปในหลายพื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลคดีที่เกิดขึ้นและการจับกุมในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.2552 พบว่า ผู้ก่อเหตุส่วนมากเป็นเด็กและเยาวชน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความคึกคะนอง และบางส่วนทดลองเลียนแบบข่าวนำเสนอ และแม้ถูกจับได้ก็มักได้รับการลดหย่อนโทษ เพราะเป็นเด็กจึงทำให้ไม่กลัวความผิดที่กระทำ
รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2552 ยังพบว่า การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตส่งผลให้การบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง แต่การบริโภคแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชนขยายตัวอย่างน่าเป็นห่วง เพราะร้านจำหน่ายอยู่ใกล้สถานศึกษา ส่วนปัญหาการร้องเรียนของผู้บริโภคภาพรวมลดลง แต่พบแนวโน้มการร้องเรียนสินค้าประเภทยาและเครื่องสำอางมีเพิ่มขึ้น โดยส่วนมากเกิดจากโฆษณาเกินจริง และค่านิยมการใช้บริการเสริมความงามในรูปแบบต่างๆ เช่นดึงหน้า กรีดไขมันถุงใต้ตา จนมีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนและปัญหาที่ตามมาภายหลัง นอกจากนี้ยังพบว่ายอดขายสินค้าไอทีขยายตัวเร็วกว่าจำนวนผู้ใช้จริง สะท้อนกระแสบริโภคนิยมที่อาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า
รองเลขาธิการ สศช.กล่าวอีกว่า สศช.ยังได้ทำการสำรวจเรื่อง “ภาวะโลกร้อนกับสังคมไทย” ในช่วงระหว่างวันที่ 4-11 สิงหาคม 2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 4,012 ราย จาก 10 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ร้อยละ 30 ยังเข้าใจน้อยและส่งผลให้ไม่ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าการแยกขยะช่วยลดภาวะโลกร้อน ส่วนพฤติกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนและมีผู้ปฏิบัติมาก ได้แก่ การดับเครื่องเมื่อจอดรถ การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอดประหยัด แต่เมื่อสอบถามลึกลงไป ได้คำตอบว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อประหยัดเงินเป็นหลัก ไม่ได้คิดถึงเพื่อลดภาวะโลกร้อน รัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญและมีมาตรการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง