สธ.เผยผู้เสียชีวิตรอบสัปดาห์ตายเพิ่ม 8 ราย สะสม 119 ราย แนวโน้มแพร่ระบาดชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในกทม.และปริมณฑล แต่เพิ่มในเขตชนบท จับตาระบาดรอบใหม่ยุโรป อเมริกา ขณะที่อภ.ยันหัวเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ไม่กระทบการผลิตวัคซีนเดินหน้าทดลองต่อ ระบุทำไปตามขั้นตอนตามที่ฮูแนะนำ
วันที่ 26 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ตังแต่วันที่ 16-22 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย เป็นชาย 4 ราย หญิง 4 ราย ร้อยละ 50 อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง สรุปยอดเสียชีวิตสะสม 119 ราย สำหรับแนวโน้มการแพร่ระบาดพบว่า การระบาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และขยายตัวไปสู่ต่างจังหวัด แนวโน้มกระจายลงสู่เขตชนบท โดยพบผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่พบมากขึ้นในกลุ่มวัยแรงงานอายุ 31-45 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและเกษตรกร และพบมีการแพร่ระบาดในสถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมากหรือมีกิจกรรมที่ต้องอยู่ร่วมกัน เช่น โรงเรียน เรือนจำ ค่ายเยาวชน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ช่วงที่ผ่านมาการติดเชื้อไวรัสไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนมีภูมิต้านทานครบถ้วนแต่สามารถชะลอการระบาดลงได้เพราะมีการดูแลสุขภาพและรู้จักวิธีป้องกันรักษาตนเองและสื่อมวลชนให้ความสำคัญเรื่องนี้ทำให้ประชาชนตื่นตัว อย่างไรก็ตามขณะนี้เริ่มมีสัญญาณอาจจะมีการระบาดรอบใหม่ของทางยุโรปหรืออเมริกาหรือไม่ ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีข้อสรุปให้ยังคงมาตรการ 2 ลด 3 เร่งอย่างเข็มข้นต่อไป ซึ่งถือเป็นโอกาสทองที่ต้องเร่งมาตรฐานต่างๆ เพื่อรองรับการระบาดรอบ2 แม้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่เป็นช่วงที่ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
“สำหรับนการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ของสธ.ขณะนี้ได้กระจายยาไปยังทุกจังหวัด 6,677,341 เม็ด และสำรองไว้ส่วนกลางทั้งหมด 5,999,410 เม็ด จนถึงขณะนี้มีการใช้ยาไปแล้ว 1.8 ล้านเม็ด ซึ่งจากการประเมินการเข้าถึงยาต้านไวรัส พบว่าผู้ป่วยเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง”นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สธ.จะเป็นผู้ประสานกับทางคณะแพทย์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดค่ายกองทัพสุขภาพช่วงปิดภาคการศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม –ธันวาคม เพื่อให้รู้จักกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยให้นักศึกษาเป็นผู้นำสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องกับประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วย
นพ.วิฑิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ขณะนี้วัคซีนล็อตแรกบรรจุลงขวดเก็บไว้ในห้องรักษาอุณหภูมิ เตรียมพร้อมส่ง ให้กับแล็ปของคณะสัตวแพทย์ศาตร์ ม.มหิดลตรวจสอบความปราศจากเชื้อ ในวันนี้ ( 26 สิงหาคม) โดยใช้เวลา 10- 14 วัน แต่จะใช้เวลามากสุดในการตรวจสอบคือ14 วัน ส่วนการเพาะเชื้อไวรัสในไข่ไก่ปลอดเชื้อจะทราบผลปริมาณวัคซีนที่เก็บเกี่ยวได้ในวันที่ 28 สิงหาคม นี้
“ได้หารือกับทางม.มหิดล ในการเฝ้าระวังตัวเชื้อตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อติดตามดูการกลายพันธุ์ ซึ่งขณะนี้พบว่าส่วนที่กลายพันธุ์เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 5จุดสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่ควบคุมคุณสมบัติความปลอดภัย การต้านทาน ความดุร้าย ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมทั้งสิ้น ดังนั้น ยืนยันว่าการทดลองมีความปอดภัย ดังนั้น จุดอื่นที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นสาระสำคัญที่ให้ต้องหยุดการผลิตวัคซีน”นพ.วิทิตกล่าว
เมื่อถามว่า การทดลองความปลอดภัยในสัตว์ทั้งประเภทของสัตว์ทดลองและเวลาที่ใช้ทดลองน้อยไปหรือไม่ นพ.วิทิต กล่าวว่า การทดลองเป็นไปตามขั้นตอนมาตรฐานที่ได้ประสานกับผู้เชี่ยวชาญองคการอนามัยโลก (WHO) ในการผลิตวัคซีนทุกวัน ทั้งการสอบถามผ่านทางอีเมล์ และประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งทั้งสัตว์ทดลองและเวลาในการทดลององค์การอนามัยโลกเป็นวางกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณอาจารย์หลายท่านที่มีความเป็นห่วง แต่ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด
วันที่ 26 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ตังแต่วันที่ 16-22 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย เป็นชาย 4 ราย หญิง 4 ราย ร้อยละ 50 อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง สรุปยอดเสียชีวิตสะสม 119 ราย สำหรับแนวโน้มการแพร่ระบาดพบว่า การระบาดในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และขยายตัวไปสู่ต่างจังหวัด แนวโน้มกระจายลงสู่เขตชนบท โดยพบผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่พบมากขึ้นในกลุ่มวัยแรงงานอายุ 31-45 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและเกษตรกร และพบมีการแพร่ระบาดในสถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมากหรือมีกิจกรรมที่ต้องอยู่ร่วมกัน เช่น โรงเรียน เรือนจำ ค่ายเยาวชน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ช่วงที่ผ่านมาการติดเชื้อไวรัสไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนมีภูมิต้านทานครบถ้วนแต่สามารถชะลอการระบาดลงได้เพราะมีการดูแลสุขภาพและรู้จักวิธีป้องกันรักษาตนเองและสื่อมวลชนให้ความสำคัญเรื่องนี้ทำให้ประชาชนตื่นตัว อย่างไรก็ตามขณะนี้เริ่มมีสัญญาณอาจจะมีการระบาดรอบใหม่ของทางยุโรปหรืออเมริกาหรือไม่ ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีข้อสรุปให้ยังคงมาตรการ 2 ลด 3 เร่งอย่างเข็มข้นต่อไป ซึ่งถือเป็นโอกาสทองที่ต้องเร่งมาตรฐานต่างๆ เพื่อรองรับการระบาดรอบ2 แม้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้แต่เป็นช่วงที่ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
“สำหรับนการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ของสธ.ขณะนี้ได้กระจายยาไปยังทุกจังหวัด 6,677,341 เม็ด และสำรองไว้ส่วนกลางทั้งหมด 5,999,410 เม็ด จนถึงขณะนี้มีการใช้ยาไปแล้ว 1.8 ล้านเม็ด ซึ่งจากการประเมินการเข้าถึงยาต้านไวรัส พบว่าผู้ป่วยเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง”นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สธ.จะเป็นผู้ประสานกับทางคณะแพทย์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดค่ายกองทัพสุขภาพช่วงปิดภาคการศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม –ธันวาคม เพื่อให้รู้จักกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยให้นักศึกษาเป็นผู้นำสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องกับประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วย
นพ.วิฑิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ขณะนี้วัคซีนล็อตแรกบรรจุลงขวดเก็บไว้ในห้องรักษาอุณหภูมิ เตรียมพร้อมส่ง ให้กับแล็ปของคณะสัตวแพทย์ศาตร์ ม.มหิดลตรวจสอบความปราศจากเชื้อ ในวันนี้ ( 26 สิงหาคม) โดยใช้เวลา 10- 14 วัน แต่จะใช้เวลามากสุดในการตรวจสอบคือ14 วัน ส่วนการเพาะเชื้อไวรัสในไข่ไก่ปลอดเชื้อจะทราบผลปริมาณวัคซีนที่เก็บเกี่ยวได้ในวันที่ 28 สิงหาคม นี้
“ได้หารือกับทางม.มหิดล ในการเฝ้าระวังตัวเชื้อตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อติดตามดูการกลายพันธุ์ ซึ่งขณะนี้พบว่าส่วนที่กลายพันธุ์เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 5จุดสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่ควบคุมคุณสมบัติความปลอดภัย การต้านทาน ความดุร้าย ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมทั้งสิ้น ดังนั้น ยืนยันว่าการทดลองมีความปอดภัย ดังนั้น จุดอื่นที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นสาระสำคัญที่ให้ต้องหยุดการผลิตวัคซีน”นพ.วิทิตกล่าว
เมื่อถามว่า การทดลองความปลอดภัยในสัตว์ทั้งประเภทของสัตว์ทดลองและเวลาที่ใช้ทดลองน้อยไปหรือไม่ นพ.วิทิต กล่าวว่า การทดลองเป็นไปตามขั้นตอนมาตรฐานที่ได้ประสานกับผู้เชี่ยวชาญองคการอนามัยโลก (WHO) ในการผลิตวัคซีนทุกวัน ทั้งการสอบถามผ่านทางอีเมล์ และประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งทั้งสัตว์ทดลองและเวลาในการทดลององค์การอนามัยโลกเป็นวางกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณอาจารย์หลายท่านที่มีความเป็นห่วง แต่ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด