กรมการแพทย์แก้ปัญหาหมอไม่อ่านคู่มือรักษาหวัด 2009 ใช้วิธีส่ง SMS เป็นชุดๆ แทน เผย ยอดเสียชีวิตรอบสัปดาห์เพิ่มแค่ 12 ราย หวั่นขาลงเตรียมเข้าสู่การระบาดรอบ 2 ระบุผู้ป่วยที่อาการหนัก ต้องให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่กับซานามิเวียร์ ควบคู่กัน
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากปัญหาที่แพทย์ไม่ไม่เวลาอ่านคู่มือแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตามที่สธ.ได้จัดพิมพ์และส่งให้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหา กรมการแพทย์ จึงได้ประสานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัทพ์ทุกค่าย ให้ส่งข้อความสั้น (SMS) ให้กับแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุกสังกัด รวมถึงคลินิกเอกชนทุกคนทั่วประเทศประมาณ 20,000 คน เพื่อให้เข้าใจแนวทางการรักษาของ สธ.ซึ่งจะทยอยส่งข้อความสั้นเป็นชุดๆ เช่น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ เด็กเล็ก หากป่วยไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส ไอ หอบ ให้รีบให้ยาต้านไวรัสทันที หรือ ผู้ป่วยทั่วไป หากเกิน 48 ชั่วโมง แล้วไข้ไม่ลดต้องให้ยาต้านไวรัสทันที เป็นต้น ทั้งนี้ ได้เริ่มทยอยส่งตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา
ยอดผู้ตายหวัด 2009 รอบสัปดาห์เพิ่มแค่ 12 ราย
แหล่งข่าวระดับสูง กล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-5 ส.ค.ที่จะแถลงในวันนี้มีเพิ่มขึ้นจำนวน 12 ราย จากเดิม 65 ราย ผู้ป่วย 8,879 ราย รวมเป็นเสียชีวิต 77 ราย ซึ่งการป่วยเป็นอัตราเพิ่มที่ลดลง เฉลี่ยวันละ 200 คน
“เหตุที่ผู้เสียชีวิตมีอัตราการเพิ่มลดลง จากเดิมประมาณวันละ 3 ราย เพราะสถานการณ์การระบาดของโรคกำลังอยู่ในช่วงขาลงเพื่อเข้าสู่การระบาดระลอก 2 ซึ่งจะลดลงและจะมีผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกครั้งและมากกว่าเดิม”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สธ.มีมติให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ให้กลับมาดำเนินการประเมินสถานการณ์การระบาดของโรคทุกวัน อาทิ ยอดผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต การดื้อยา การรักษา ฯลฯ จากเดิมที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรายวัน แต่เป็นรายสัปดาห์มาประมาณ 1 เดือนกว่าแล้ว โดยปลัดสธ.จะแต่งตั้งประธาน ซึ่งมี นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นที่ปรึกษา
แจงต้องใช้ยา 2 ขนานควบคู่ในผู้ป่วยรุนแรง
ด้าน นพ.วีรศักดิ์ เกียรติผดุงกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ด้านการแพทย์ กล่าวว่า การที่แพทย์ตัดสินใจให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่กับซานามิเวียร์ควบคู่กันในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม หายใจติดขัด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นดุลพินิจของแพทย์ที่พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อความปลอดภัยของคนไข้และต้องการให้การรักษาพยาบาลได้ผลดี เมื่อมีอาวุธในการช่วยชีวิตมากกว่า 1 อย่างก็ต้องใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
นพ.วีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา แพทย์โรงพยาบาลมหาราชฯ ได้ตัดสินใจให้ยาแพทย์ตัดสินใจให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่ซานามิเวียร์ ในผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่มีอาการรุนแรง ปอดบวม ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู 2 ราย รายแรกเป็นชาย อายุ 47 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และหญิง วัย 74 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ปรากฎว่าวันนี้(4ส.ค.)ผู้ป่วยทั้ง 2 รายอาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้ออกจากห้องไอซียูมารักษาตัวในห้องปกติได้แล้ว
“ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู และหายใจได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดภาวะหายใจล้อมเหลวภายใน 24 ชั่วโมง นโยบายของโรงพยาบาลจึงให้แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยสงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่และมีอาการรุนแรงอยู่ในห้องไอซียู แพทย์ต้องให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่กับซานามิเวียร์ เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ซึ่งถือเป็นกรณีเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยที่ผ่านมา รพ.ได้เตรียมการสั่งซื้อยาซานามิเวียร์มาสำรองไว้เองจำนวนหนึ่งตั้งแต่โรคยังไม่ระบาด เพราะเข้าใจว่าเมื่อโรคระบาดยาจะหายาก” นพ.วีรศักดิ์ กล่าว
นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากปัญหาที่แพทย์ไม่ไม่เวลาอ่านคู่มือแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตามที่สธ.ได้จัดพิมพ์และส่งให้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหา กรมการแพทย์ จึงได้ประสานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัทพ์ทุกค่าย ให้ส่งข้อความสั้น (SMS) ให้กับแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุกสังกัด รวมถึงคลินิกเอกชนทุกคนทั่วประเทศประมาณ 20,000 คน เพื่อให้เข้าใจแนวทางการรักษาของ สธ.ซึ่งจะทยอยส่งข้อความสั้นเป็นชุดๆ เช่น ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ เด็กเล็ก หากป่วยไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส ไอ หอบ ให้รีบให้ยาต้านไวรัสทันที หรือ ผู้ป่วยทั่วไป หากเกิน 48 ชั่วโมง แล้วไข้ไม่ลดต้องให้ยาต้านไวรัสทันที เป็นต้น ทั้งนี้ ได้เริ่มทยอยส่งตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา
ยอดผู้ตายหวัด 2009 รอบสัปดาห์เพิ่มแค่ 12 ราย
แหล่งข่าวระดับสูง กล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-5 ส.ค.ที่จะแถลงในวันนี้มีเพิ่มขึ้นจำนวน 12 ราย จากเดิม 65 ราย ผู้ป่วย 8,879 ราย รวมเป็นเสียชีวิต 77 ราย ซึ่งการป่วยเป็นอัตราเพิ่มที่ลดลง เฉลี่ยวันละ 200 คน
“เหตุที่ผู้เสียชีวิตมีอัตราการเพิ่มลดลง จากเดิมประมาณวันละ 3 ราย เพราะสถานการณ์การระบาดของโรคกำลังอยู่ในช่วงขาลงเพื่อเข้าสู่การระบาดระลอก 2 ซึ่งจะลดลงและจะมีผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกครั้งและมากกว่าเดิม”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สธ.มีมติให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ให้กลับมาดำเนินการประเมินสถานการณ์การระบาดของโรคทุกวัน อาทิ ยอดผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต การดื้อยา การรักษา ฯลฯ จากเดิมที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรายวัน แต่เป็นรายสัปดาห์มาประมาณ 1 เดือนกว่าแล้ว โดยปลัดสธ.จะแต่งตั้งประธาน ซึ่งมี นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อดีตอธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นที่ปรึกษา
แจงต้องใช้ยา 2 ขนานควบคู่ในผู้ป่วยรุนแรง
ด้าน นพ.วีรศักดิ์ เกียรติผดุงกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ด้านการแพทย์ กล่าวว่า การที่แพทย์ตัดสินใจให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่กับซานามิเวียร์ควบคู่กันในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม หายใจติดขัด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นดุลพินิจของแพทย์ที่พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อความปลอดภัยของคนไข้และต้องการให้การรักษาพยาบาลได้ผลดี เมื่อมีอาวุธในการช่วยชีวิตมากกว่า 1 อย่างก็ต้องใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
นพ.วีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา แพทย์โรงพยาบาลมหาราชฯ ได้ตัดสินใจให้ยาแพทย์ตัดสินใจให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่ซานามิเวียร์ ในผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่มีอาการรุนแรง ปอดบวม ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู 2 ราย รายแรกเป็นชาย อายุ 47 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และหญิง วัย 74 ปี เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ปรากฎว่าวันนี้(4ส.ค.)ผู้ป่วยทั้ง 2 รายอาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้ออกจากห้องไอซียูมารักษาตัวในห้องปกติได้แล้ว
“ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องเข้ารักษาตัวในห้องไอซียู และหายใจได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดภาวะหายใจล้อมเหลวภายใน 24 ชั่วโมง นโยบายของโรงพยาบาลจึงให้แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยสงสัยเป็นไข้หวัดใหญ่และมีอาการรุนแรงอยู่ในห้องไอซียู แพทย์ต้องให้ยาโอเซลทามิเวียร์ควบคู่กับซานามิเวียร์ เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ซึ่งถือเป็นกรณีเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยที่ผ่านมา รพ.ได้เตรียมการสั่งซื้อยาซานามิเวียร์มาสำรองไว้เองจำนวนหนึ่งตั้งแต่โรคยังไม่ระบาด เพราะเข้าใจว่าเมื่อโรคระบาดยาจะหายาก” นพ.วีรศักดิ์ กล่าว