สพฉ.ย้ำเจ็บป่วยฉุกเฉินโทรเรียก 1669 ยกกรณีเด็กเม็ดเงาะติดคอ มาช้ามีสิทธิ์เดี้ยง ใช้บริการ 1669 สะดวก รวดเร็ว มีเจ้าหน้าที่ผ่านการอบรมช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เร่งเผยแพร่ความรู้การช่วยชีวิตเบื้องต้นทั้งตนเองและบุคคลอื่น
วันที่ 14 สิงหาคม ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี ด.ญ.พรรษา สายสิงห์ หรือน้องสา อายุ 9 ขวบ เม็ดเงาะติดบริเวณหลอดลมหายใจไม่ออกและหมดสติ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งล่าสุดอาการปลอดภัยแล้วว่า กรณีเด็กหญิงรายนี้ มารดาได้พาเด็กเดินทางด้วยรถแท็กซี่จากบ้านพักเข้ารับการรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลพระราม 2 โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น หากมาช้าไม่ทันเวลาผู้ป่วยขาดอากาศหายใจ อาจเสียชีวิตได้ใน 10-15 นาที ซึ่งการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 มีชุดปฏิบัติการที่ผ่านการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นนำสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นบริเวณทางเดินหายใจออกมาอย่างถูกวิธีและเลือกนำส่งโรงพยาบาลที่สามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วสามารถที่จะช่วยชีวิตของผู้ป่วยได้ทันท่วงที
นพ.ประจักษ์วิช กล่าวว่า สำหรับการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นภาวะทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม โดยทั่วไปใช้วิธีการกดกระตุกท้องเหนือสะดื้อใต้ลิ้นปี่ ในท่ายืน ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างอ้อมมากดทางด้านหน้า วิธีนี้จะใช้ในเด็กโตอายุ 8 ปีขึ้นไป หากผู้ป่วยหมดสติจะทำในท่านอนหงายอาจใช้มือเปิดปากผู้ป่วย ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมใช้นิ้วล้วงเข้าไปในปากขับสิ่งแปลกปลอมออกมา กรณีนี้ต้องทราบแน่ชัดว่าสิ่งแปลกปลอมอยู่บริเวณใด หากอยู่ลึกจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ ทั้งนี้ วิธีการจัดท่าทางที่ถูกต้องช่วยเพิ่มแรงดันขับสิ่งที่แปลกปลอมออกมา ซึ่งแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุ และผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ด้วย
“การช่วยเหลือเบื้องต้นจะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งพนักงานขับแท็กซี่หรือบุคคลทั่วไปอาจไม่มีทักษะเหล่านี้ ความรู้ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นยังไม่แพร่หลาย ยังจำกัดอยู่ในตำรา อย่างไรก็ตาม ทักษะการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่ง สพฉ.พยายามที่จะเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว ให้กับบุคลทั่วไป เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและดูแลช่วยเหลือบุคคลอื่นได้” นพ.ประจักษ์วิชกล่าว
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับ สพฉ.มีเครือข่ายศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดละ 1 แห่งทั่วประเทศ เมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยโทร.1669 จะไปติดที่ศูนย์สั่งการจังหวัดนั้นๆ ศูนย์สั่งการจะสั่งไปยังโรงพยาบาลหรือมูลนิธิเพื่อส่งชุดปฏิบัติการที่เหมาะสมไปช่วยผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุทันที จะทำการรักษาเบื้องต้นไปพร้อมๆกับการลำเลียงผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ศูนย์สั่งการประสานให้เตรียมพร้อมรับการช่วยเหลือแล้ว
“หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (BLS) และหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ที่สามารถให้การช่วยชีวิตด้วยวิธีดังกล่าวได้ซึ่งจะสั่งการโดยศูนย์สั่งการในการประสานหน่วยปฏิบัติไปยังพื้นที่ที่ได้รับการติดต่อผ่านหมายเลข 1669 พร้อมทั้งประสานโรงพยาบาลแจ้งอาการของผู้ป่วยล่วงหน้าเพื่อเตรียมพร้อมการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว รวมถึงเชื่อมประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรด้วย” นพ.ไพโรจน์กล่าว
วันที่ 14 สิงหาคม ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี ด.ญ.พรรษา สายสิงห์ หรือน้องสา อายุ 9 ขวบ เม็ดเงาะติดบริเวณหลอดลมหายใจไม่ออกและหมดสติ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งล่าสุดอาการปลอดภัยแล้วว่า กรณีเด็กหญิงรายนี้ มารดาได้พาเด็กเดินทางด้วยรถแท็กซี่จากบ้านพักเข้ารับการรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลพระราม 2 โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น หากมาช้าไม่ทันเวลาผู้ป่วยขาดอากาศหายใจ อาจเสียชีวิตได้ใน 10-15 นาที ซึ่งการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 มีชุดปฏิบัติการที่ผ่านการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นนำสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นบริเวณทางเดินหายใจออกมาอย่างถูกวิธีและเลือกนำส่งโรงพยาบาลที่สามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วสามารถที่จะช่วยชีวิตของผู้ป่วยได้ทันท่วงที
นพ.ประจักษ์วิช กล่าวว่า สำหรับการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นภาวะทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม โดยทั่วไปใช้วิธีการกดกระตุกท้องเหนือสะดื้อใต้ลิ้นปี่ ในท่ายืน ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังผู้ป่วยใช้มือทั้งสองข้างอ้อมมากดทางด้านหน้า วิธีนี้จะใช้ในเด็กโตอายุ 8 ปีขึ้นไป หากผู้ป่วยหมดสติจะทำในท่านอนหงายอาจใช้มือเปิดปากผู้ป่วย ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมใช้นิ้วล้วงเข้าไปในปากขับสิ่งแปลกปลอมออกมา กรณีนี้ต้องทราบแน่ชัดว่าสิ่งแปลกปลอมอยู่บริเวณใด หากอยู่ลึกจะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ ทั้งนี้ วิธีการจัดท่าทางที่ถูกต้องช่วยเพิ่มแรงดันขับสิ่งที่แปลกปลอมออกมา ซึ่งแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุ และผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ด้วย
“การช่วยเหลือเบื้องต้นจะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งพนักงานขับแท็กซี่หรือบุคคลทั่วไปอาจไม่มีทักษะเหล่านี้ ความรู้ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นยังไม่แพร่หลาย ยังจำกัดอยู่ในตำรา อย่างไรก็ตาม ทักษะการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ซึ่ง สพฉ.พยายามที่จะเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว ให้กับบุคลทั่วไป เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและดูแลช่วยเหลือบุคคลอื่นได้” นพ.ประจักษ์วิชกล่าว
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับ สพฉ.มีเครือข่ายศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดละ 1 แห่งทั่วประเทศ เมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยโทร.1669 จะไปติดที่ศูนย์สั่งการจังหวัดนั้นๆ ศูนย์สั่งการจะสั่งไปยังโรงพยาบาลหรือมูลนิธิเพื่อส่งชุดปฏิบัติการที่เหมาะสมไปช่วยผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุทันที จะทำการรักษาเบื้องต้นไปพร้อมๆกับการลำเลียงผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่ศูนย์สั่งการประสานให้เตรียมพร้อมรับการช่วยเหลือแล้ว
“หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (BLS) และหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ที่สามารถให้การช่วยชีวิตด้วยวิธีดังกล่าวได้ซึ่งจะสั่งการโดยศูนย์สั่งการในการประสานหน่วยปฏิบัติไปยังพื้นที่ที่ได้รับการติดต่อผ่านหมายเลข 1669 พร้อมทั้งประสานโรงพยาบาลแจ้งอาการของผู้ป่วยล่วงหน้าเพื่อเตรียมพร้อมการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว รวมถึงเชื่อมประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรด้วย” นพ.ไพโรจน์กล่าว