ก.ค.ศ.ทุ่ม 200 ล.จัดทำประวัติข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา (ก.พ.7) อิเล็กทรอนิกส์ เดินหน้าอบรม ทำความเข้าใจเจ้าหน้าที่ สพท.นำร่อง 20 เขต ก่อนขยายผลต่อไป
วันนี้ (10 ส.ค.) นายประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ที่ประชุม ก.ค.ศ.เห็นชอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดทำประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.พ.7) อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อปรับปรุงรูปแบบทะเบียนประวัติของข้าราชการครูให้ทันสมัยมากขึ้น โดยใช้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาทในการดำเนินการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) โดยคัดเลือดจาก สพท.ที่มีระดับความสำเร็จของการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบในปี 2551 เป็นอย่างดี มาร่วมฟังการชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการบันทึกข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำกลับไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 20 เขต คือ สพท.ขอนแก่น เขต 1, 5 เชียงราย เขต 1 ตาก เขต 1,2 ลำพูน เขต 1 พิจิตร เขต 1 อุดรธานี เขต 1 กาญจนบุรี เขต 2, 3 ชุมพร เขต 2 นครสวรรค์ เขต 2 นครปฐม เขต 2 นครพนม เขต 2 พิษณุโลก เขต 2 เพชรบูรณ์ เขต 2 ราชบุรี เขต 2 ศรีสะเกษ เขต 3 สุพรรณบุรี เขต 3 และ อุบลราชธานี เขต 5
นายประเสริฐกล่าวด้วยว่า หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เมื่อกลับไปปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ทั้ง 20 เขต จะสามารถใช้ระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี สามารถเข้าถึงข้อมูล รายงานการสืบค้นข้อมูล ตลอดจนตรวจสอบและรับรองข้อมูลรายบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ก.ค.ศ. และ สพท.ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะดำเนินการขยายผลและพัฒนาไปสู่เขตพื้นที่ต่างๆ ต่อไป
วันนี้ (10 ส.ค.) นายประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ที่ประชุม ก.ค.ศ.เห็นชอบให้สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดทำประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.พ.7) อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อปรับปรุงรูปแบบทะเบียนประวัติของข้าราชการครูให้ทันสมัยมากขึ้น โดยใช้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาทในการดำเนินการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) โดยคัดเลือดจาก สพท.ที่มีระดับความสำเร็จของการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบในปี 2551 เป็นอย่างดี มาร่วมฟังการชี้แจงและทำความเข้าใจขั้นตอน วิธีการบันทึกข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำกลับไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 20 เขต คือ สพท.ขอนแก่น เขต 1, 5 เชียงราย เขต 1 ตาก เขต 1,2 ลำพูน เขต 1 พิจิตร เขต 1 อุดรธานี เขต 1 กาญจนบุรี เขต 2, 3 ชุมพร เขต 2 นครสวรรค์ เขต 2 นครปฐม เขต 2 นครพนม เขต 2 พิษณุโลก เขต 2 เพชรบูรณ์ เขต 2 ราชบุรี เขต 2 ศรีสะเกษ เขต 3 สุพรรณบุรี เขต 3 และ อุบลราชธานี เขต 5
นายประเสริฐกล่าวด้วยว่า หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เมื่อกลับไปปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ทั้ง 20 เขต จะสามารถใช้ระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นอย่างดี สามารถเข้าถึงข้อมูล รายงานการสืบค้นข้อมูล ตลอดจนตรวจสอบและรับรองข้อมูลรายบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างรวดเร็ว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ก.ค.ศ. และ สพท.ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะดำเนินการขยายผลและพัฒนาไปสู่เขตพื้นที่ต่างๆ ต่อไป