ก.ค.ศ.เผย คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ รอง ผอ. และ ผอ.กศน.จังหวัด ถือเป็นผู้บริหารนอกสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในระดับ สพท.ส่วนผู้บริหารการศึกษาของท้องถิ่นไม่ถือเป็นผู้บริหารการศึกษา
นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า ตามที่คุรุสภาได้ทำหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นว่า ผู้บริหารการศึกษาตามความหมายใน พ.ร.บ.สภาครูฯ จะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ 1.เป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษา และปฏิบัติงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมถึงส่วนราชการที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่มีภารกิจในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดียวกับ สพท.และ 2.ผู้บริหารการศึกษาในมาตรา 38 ข.(3) และ (4) ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ รอง ผอ.สพท.และ ผอ.สพท.เป็นตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มีใน สพท. จึงถือเป็นผู้บริหารนอกสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในระดับ สพท.ตามคำนิยามของผู้บริหารการศึกษา มาตรา 4 พ.ร.บ.สภาครู
เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า จากการตีความดังกล่าว ส่งผลให้ตำแหน่งรอง ผอ.และ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัด และ สำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 มีฐานะเป็นผู้บริหารที่ปฎิบัติงานนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามคำนิยามของคำว่า ผู้บริหารการศึกษา ตามมาตรา 4 เช่นกัน เนื่องจากถือได้ว่า สำนักงาน กศน.จังหวัด และ สำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน สพท.ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาตามประกาศเกี่ยวกับตำแหน่งวิทยฐานะพนักงานครูแลบุคลากรทางการศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ องค์การบริหารส่วนตำบล ไม่ถือเป็นผู้บริหารการศึกษา ตามคำนิยามดังกล่าว เนื่องจากเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเสริมการบริหารและจัดการศึกษาของ สพท.
“วัตถุประสงค์ของการตีความดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการสรรหาผู้แทนผู้บริหารการศึกษาในคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เนื่องจากที่ผ่านมาจะมีการร้องเรียนกันมากถึงความหมายของผู้บริหารการศึกษา” นายองค์กร กล่าว
นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า ตามที่คุรุสภาได้ทำหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นว่า ผู้บริหารการศึกษาตามความหมายใน พ.ร.บ.สภาครูฯ จะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ 1.เป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษา และปฏิบัติงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยรวมถึงส่วนราชการที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่มีภารกิจในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดียวกับ สพท.และ 2.ผู้บริหารการศึกษาในมาตรา 38 ข.(3) และ (4) ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ รอง ผอ.สพท.และ ผอ.สพท.เป็นตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มีใน สพท. จึงถือเป็นผู้บริหารนอกสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในระดับ สพท.ตามคำนิยามของผู้บริหารการศึกษา มาตรา 4 พ.ร.บ.สภาครู
เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า จากการตีความดังกล่าว ส่งผลให้ตำแหน่งรอง ผอ.และ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัด และ สำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 มีฐานะเป็นผู้บริหารที่ปฎิบัติงานนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามคำนิยามของคำว่า ผู้บริหารการศึกษา ตามมาตรา 4 เช่นกัน เนื่องจากถือได้ว่า สำนักงาน กศน.จังหวัด และ สำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน สพท.ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาตามประกาศเกี่ยวกับตำแหน่งวิทยฐานะพนักงานครูแลบุคลากรทางการศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ องค์การบริหารส่วนตำบล ไม่ถือเป็นผู้บริหารการศึกษา ตามคำนิยามดังกล่าว เนื่องจากเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเสริมการบริหารและจัดการศึกษาของ สพท.
“วัตถุประสงค์ของการตีความดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการสรรหาผู้แทนผู้บริหารการศึกษาในคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา เนื่องจากที่ผ่านมาจะมีการร้องเรียนกันมากถึงความหมายของผู้บริหารการศึกษา” นายองค์กร กล่าว