“คุณหญิงกษมา” นำข้อเสนอ ทปอ.ให้ใช้โอเน็ตแทนการสอบปลายภาคระดับชั้น ม.6 เข้าที่ประชุม กพฐ. วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย เพราะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนควบคู่ และควรเสนอทางเลือกอื่นประกอบด้วย เพราะผลสอบเด็ก ม.6 ไม่มีโอกาสแก้ตัว
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานห รือโอเน็ต มาใช้แทนการสอบปลายภาค ม.6 และให้นำผลไปรวมกับคะแนนเก็บที่สะสมมาประมาณ 80% เพื่อออกมาเป็นผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ม.ปลายตลอดหลักสูตร หรือ GPAX ว่า เรื่องดังกล่าวมีการนำเสนอมานานแล้ว และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะอนุกรรมการ กพฐ.ในวันที่ 13 สิงหาคม นี้ เพื่อจะดูว่ามีผลกระทบข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ศึกษาตัวเลขและผลกระทบมาแล้ว คาดว่าคงจะมีความคิดเห็นประกอบการพิจารณาด้วย โดยตนเห็นว่าน่าจะมีทางเลือกอื่นๆ ประกอบด้วย เนื่องจากจะมีผลต่อการสอบได้ และสอบตกของนักเรียนค่อนข้างสูง และหากมีการสอบได้สอบตกในระดับชั้น ม.6 เด็กจะไม่มีโอกาสแก้ตัว ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอทางเลือกอื่นร่วมประกอบการพิจารณา
ต่อข้อถามว่าที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนการสอบของนักเรียนได้ คุณหญิงกษมากล่าวว่า ตนเห็นว่าเรื่องนี้ก็ยังมีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ข้อสอบในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับควบคู่ไปด้วย และเรื่องนี้ก็เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ กพฐ.พิจารณาอยู่ จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานห รือโอเน็ต มาใช้แทนการสอบปลายภาค ม.6 และให้นำผลไปรวมกับคะแนนเก็บที่สะสมมาประมาณ 80% เพื่อออกมาเป็นผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ม.ปลายตลอดหลักสูตร หรือ GPAX ว่า เรื่องดังกล่าวมีการนำเสนอมานานแล้ว และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะอนุกรรมการ กพฐ.ในวันที่ 13 สิงหาคม นี้ เพื่อจะดูว่ามีผลกระทบข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ศึกษาตัวเลขและผลกระทบมาแล้ว คาดว่าคงจะมีความคิดเห็นประกอบการพิจารณาด้วย โดยตนเห็นว่าน่าจะมีทางเลือกอื่นๆ ประกอบด้วย เนื่องจากจะมีผลต่อการสอบได้ และสอบตกของนักเรียนค่อนข้างสูง และหากมีการสอบได้สอบตกในระดับชั้น ม.6 เด็กจะไม่มีโอกาสแก้ตัว ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอทางเลือกอื่นร่วมประกอบการพิจารณา
ต่อข้อถามว่าที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนการสอบของนักเรียนได้ คุณหญิงกษมากล่าวว่า ตนเห็นว่าเรื่องนี้ก็ยังมีนักเรียนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ข้อสอบในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับควบคู่ไปด้วย และเรื่องนี้ก็เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ กพฐ.พิจารณาอยู่ จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด