ศธ.เตรียมชง ครม.ส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ให้ 2 เม.ย.เป็นวันรักการอ่าน ให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ด้าน “ว.วชิรเมธี” เสนอกำหนดทศวรรษการอ่านเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลจะต้องสานต่อ ระบุอ่านหนังสือดี สำคัญกว่าภาษาวิบัติ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวว่า จากการประชุมได้สรุปว่า จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยจะกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาคติ กำหนดให้วันที่ 2 เม.ย. เป็นวันรักการอ่าน และกำหนดให้ปี 2552 ถึง 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นายจุรินทร์กล่าวว่า ถัดจากนี้ไปจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการออกเป็น 3.ส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 1.เพิ่มขีดความสามารถทางด้านการอ่าน 2.ยุทธศาสตร์สร้างนิสัยรักการอ่าน 3.ยุทธศาสตร์เป็นการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งส่งเสริมการอ่าน ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์จะมีรายละเอียดและแผนการปฎิบัติออกมาในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนให้ความสนใจการอ่านเรื่องใกล้ตัว “ส่งเสริมการอ่านเพื่อชีวิต” เช่น การอ่านฉลากสินค้า อุปโภคบริโภค เป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องสำคัญ การรณรงค์ให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนสนใจเรื่องการอ่านมากขึ้นช่วงปิดภาคเรียน ภายใต้โครงการ Summer read โดยให้เด็กอ่านหนังสือตามความชอบ
ส่วนเป้าหมายสำคัญเราต้องการมุ่งเน้นส่งเสริมให้คนไทยได้เริ่มอ่านหนังสือแต่วัยเด็ก เพราะผลการสำรวจวิจัยพบว่าถ้ารักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวไปตลอดชีวิต แต่ประเด็นสำคัญจะต้องคิดค้นหาวิธีจูงใจว่าจะทำอย่างไรให้เด็กหันอ่านหนังสือมากขึ้น มุ่งเน้นอ่านหนังสือที่เด็กชอบและตามความสนใจของแต่ละบุคคลพร้อมกันนี้ควรมีการสร้างแรงจูงใจ มีรางวัล หากอ่านได้ในระดับ ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้ ถ้าหากเด็กไทยหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศในทิศทางที่ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะ 10 ปีที่เราส่งเสริมให้เป็นทศวรรษในการอ่าน
นอกจากพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุด 3 ดีสัญจร การพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพ เช่นหนังสือดี หนังสือมีคุณภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการสร้างส่วนร่วมและมีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่นชุมชนรักการอ่าน ชมรมรักการอ่าน ชุมชนนักอ่าน ภาคีเครือข่าย HOPE หรือ (HOME, OFFICE,PUBLIC,EDUCATIONAL INSTITUTION) คือ บ้าน ที่ทำงาน ที่สาธารณะ และสถานศึกษา ที่จะต้องสร้างบรรยากาศส่งเสริมรักการอ่าน และร่วมมือกัน สำหรับงบประมาณจะมีทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะขอความร่วมมือจากภาคเอกชน เพราะต้องรณรงค์ในวงกว้าง ไม่เช่นนั้นจะเป็นวาระแห่งชาติไม่ได้
นายจุรินทร์กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการรู้หนังสือของคนไทย อยู่ในระดับที่ไม่ได้ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น อัตราการรู้หนังสือของไทย 92.64% และอัตราการเข้าเรียนต่อถือว่าใช้ได้ แต่ประเด็นปัญหาคนไทย อ่านหนังสือน้อย
ด้าน พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี ) กล่าวว่า อาตมาเสนอต่อที่ประชุมให้รัฐบาลส่งเสริมให้เกิดทศวรรษแห่งการอ่าน เพื่อทำให้ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็ง เดิมมีการส่งเสริมเป็นวาระแห่งชาติ หรือปีแห่งการอ่าน พอเปลี่ยนรัฐบาลทีไรก็ไม่มีใครสนใจ จึงเสนอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้เป็นวาระผูกพัน ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล จะต้องทำการอ่านของคนไทยให้เป็นวัฒนธรรมให้ได้
“หากคนไทยรักการอ่าน ความสามารถในการใช้ภาษาไทยจะเพิ่มพูนขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่ออ่านหนังสือหลายประเภท ก็จะเรียนรู้วิธีใช้ภาษาไทยให้ไพเราะ แต่ต้องอ่านหนังสือที่ใช้ภาษาไทยได้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่าภาษามีวิวัฒนาการ เช่น คำว่า “ชู้” พัฒนาเป็น “กิ๊ก” เป็น “กั๊ก” และก็เห็นว่าพัฒนาเป็น “ควิก” อย่าเพิ่งตกใจถ้าภาษาจะวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ การอ่านหนังสือที่ดี สำคัญยิ่งกว่าการเป็นห่วงว่าภาษาไทยจะวิบัติ อย่าลืมว่าภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร ถ้าสื่อสารสัมฤทธิผลแสดงว่าใช้ได้”พระมหาวุฒิชัย กล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวว่า จากการประชุมได้สรุปว่า จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยจะกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาคติ กำหนดให้วันที่ 2 เม.ย. เป็นวันรักการอ่าน และกำหนดให้ปี 2552 ถึง 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นายจุรินทร์กล่าวว่า ถัดจากนี้ไปจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการออกเป็น 3.ส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 1.เพิ่มขีดความสามารถทางด้านการอ่าน 2.ยุทธศาสตร์สร้างนิสัยรักการอ่าน 3.ยุทธศาสตร์เป็นการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งส่งเสริมการอ่าน ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์จะมีรายละเอียดและแผนการปฎิบัติออกมาในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น โครงการรณรงค์ให้ประชาชนให้ความสนใจการอ่านเรื่องใกล้ตัว “ส่งเสริมการอ่านเพื่อชีวิต” เช่น การอ่านฉลากสินค้า อุปโภคบริโภค เป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นเรื่องสำคัญ การรณรงค์ให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนสนใจเรื่องการอ่านมากขึ้นช่วงปิดภาคเรียน ภายใต้โครงการ Summer read โดยให้เด็กอ่านหนังสือตามความชอบ
ส่วนเป้าหมายสำคัญเราต้องการมุ่งเน้นส่งเสริมให้คนไทยได้เริ่มอ่านหนังสือแต่วัยเด็ก เพราะผลการสำรวจวิจัยพบว่าถ้ารักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นพฤติกรรมที่ติดตัวไปตลอดชีวิต แต่ประเด็นสำคัญจะต้องคิดค้นหาวิธีจูงใจว่าจะทำอย่างไรให้เด็กหันอ่านหนังสือมากขึ้น มุ่งเน้นอ่านหนังสือที่เด็กชอบและตามความสนใจของแต่ละบุคคลพร้อมกันนี้ควรมีการสร้างแรงจูงใจ มีรางวัล หากอ่านได้ในระดับ ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้ ถ้าหากเด็กไทยหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศในทิศทางที่ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในอนาคต โดยเฉพาะ 10 ปีที่เราส่งเสริมให้เป็นทศวรรษในการอ่าน
นอกจากพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด 3 ดี ห้องสมุด 3 ดีสัญจร การพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพ เช่นหนังสือดี หนังสือมีคุณภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการสร้างส่วนร่วมและมีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เช่นชุมชนรักการอ่าน ชมรมรักการอ่าน ชุมชนนักอ่าน ภาคีเครือข่าย HOPE หรือ (HOME, OFFICE,PUBLIC,EDUCATIONAL INSTITUTION) คือ บ้าน ที่ทำงาน ที่สาธารณะ และสถานศึกษา ที่จะต้องสร้างบรรยากาศส่งเสริมรักการอ่าน และร่วมมือกัน สำหรับงบประมาณจะมีทั้งกระทรวงศึกษาธิการ และงบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะขอความร่วมมือจากภาคเอกชน เพราะต้องรณรงค์ในวงกว้าง ไม่เช่นนั้นจะเป็นวาระแห่งชาติไม่ได้
นายจุรินทร์กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการรู้หนังสือของคนไทย อยู่ในระดับที่ไม่ได้ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น อัตราการรู้หนังสือของไทย 92.64% และอัตราการเข้าเรียนต่อถือว่าใช้ได้ แต่ประเด็นปัญหาคนไทย อ่านหนังสือน้อย
ด้าน พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี ) กล่าวว่า อาตมาเสนอต่อที่ประชุมให้รัฐบาลส่งเสริมให้เกิดทศวรรษแห่งการอ่าน เพื่อทำให้ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็ง เดิมมีการส่งเสริมเป็นวาระแห่งชาติ หรือปีแห่งการอ่าน พอเปลี่ยนรัฐบาลทีไรก็ไม่มีใครสนใจ จึงเสนอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้เป็นวาระผูกพัน ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล จะต้องทำการอ่านของคนไทยให้เป็นวัฒนธรรมให้ได้
“หากคนไทยรักการอ่าน ความสามารถในการใช้ภาษาไทยจะเพิ่มพูนขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่ออ่านหนังสือหลายประเภท ก็จะเรียนรู้วิธีใช้ภาษาไทยให้ไพเราะ แต่ต้องอ่านหนังสือที่ใช้ภาษาไทยได้ดีด้วย อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่าภาษามีวิวัฒนาการ เช่น คำว่า “ชู้” พัฒนาเป็น “กิ๊ก” เป็น “กั๊ก” และก็เห็นว่าพัฒนาเป็น “ควิก” อย่าเพิ่งตกใจถ้าภาษาจะวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ การอ่านหนังสือที่ดี สำคัญยิ่งกว่าการเป็นห่วงว่าภาษาไทยจะวิบัติ อย่าลืมว่าภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร ถ้าสื่อสารสัมฤทธิผลแสดงว่าใช้ได้”พระมหาวุฒิชัย กล่าว