ทำเอาพุทธศาสนิกชนผู้เคร่งครัดและศรัทธาทั่วประเทศ “อึ้ง ทึ่ง เสียว” กันไปตามๆ กันเลยทีเดียว กับการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้กลายสภาพมาเป็น “นักโทษชาย” และหลบหนีอาญาบ้านเมืองอยู่ในขณะนี้ประกาศว่าจะเกิดขึ้นในงานวันฉลองครบรอบอายุ 60 ปีของเขาที่วัดแก้วฟ้า ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันที่ 26 กรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ หนี่งในบิ๊กเซอร์ไพร์สที่แง้มออกมาให้รู้ชัดกันทั้งประเทศ เปิดเผยออกมาจากปากพระครูปลัดไพศาล กิตฺติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าว่า จะมีการทำพิธี “หงายบาตร-ตัดกรรม” ให้พ.ต.ท.ทักษิณ โดยพิธีดังกล่าวเป็นการแก้กรรมให้แก่ผู้ที่มีความเดือดร้อนทุกข์ใจ ซึ่งใช้เวลาในการทำพิธีราว 2 ช.ม.ครึ่ง
พิธีดังกล่าวทำให้พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปเกิดความกังขาว่า ในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้น มีการหงายบาตร-ตัดกรรมได้จริงหรือ?
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ “ว.วชิรเมธี” ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัยและพระนักเทศน์ชื่อดัง อธิบายเรื่องการคว่ำบาตร-หงายบาตร ตามหลักวิชาการว่า การคว่ำบาตรเป็นมาตรการหนึ่งของคณะสงฆ์ที่ใช้กับคฤหัสถ์ที่มุ่งติเตียนว่าร้ายภิกษุสงฆ์ด้วยจิตไม่ดี วิธีการคว่ำบาตรก็คือ คณะสงฆ์จะไม่คบค้าสมาคมคฤหัสถ์ผู้นั้น ไม่รับบาตรตลอดจนไม่รับกิจนิมนต์
“การคว่ำบาตรไม่ใช่การกระทำเพื่อประสงค์ร้าย เตือนสติคนผู้นั้นให้สำนึกว่าทำไม่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อหากคนผู้นั้นสำนึกผิดและรู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นผิด ยอมรับผิดและขอโทษ ทางคณะสงฆ์ก็จะหงายบาตร คือกลับมาคบค้าสมาคม รับบาตร และรับกิจนิมนต์เหมือนเดิม ซึ่งการคว่ำบาตรนี้ เป็นประเด็นทางธรรม ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง
ส่วนการตัดกรรมก็คือ การตัดพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเองออกไป เช่น หากเป็นคนคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วเลิกคิดชั่ว เลิกพูดชั่ว เลิกทำชั่ว อันนี้สิตัดกรรม แต่การตัดกรรมด้วยการบนบานศาลกล่าว ตัดกรรมด้วยการติดสินบนเทวดานั้น ไม่ใช่การตัดกรรมในทางพุทธศาสนา ซึ่งหากเขาจะเรียกวิธีการนี้ว่าการตัดกรรมจริงๆ ก็คงเรียกได้ แต่เนื่องจากไม่ใช่วิธีการตัดกรรมแบบพุทธ ก็อยากให้เรียกเพิ่มไปสักหน่อยว่าเป็นการตัดกรรมแบบของใคร เพราะหากใช้วิธีทางไสยศาสตร์ ไสยเวทย์ แล้วมาเรียกว่าเป็นการตัดกรรม จะเป็นการนำคำสอนนอกรีตนอกรอยมาใส่ลงในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาปนเปื้อน ทำให้ชาวพุทธสับสน”
พระมหาวุฒิชัยให้ความรู้ต่อไปอีกว่า “กรรม” คือการกระทำอันเป็นปัจเจกของบุคคลใด บุคคลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนเอาไว้ว่า ความบริสุทธิ์หรือไม่เป็นเรื่องของปัจเจก
“พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ตนทำชั่วเอง จิตก็จะเศร้าหมองเอง ตนทำดีเอง จิตก็จะบริสุทธิ์เอง คนอื่นจะมีช่วยทำพิธี อธิษฐานตัดกรรมแทนกันหาได้ไม่ การที่ทำชั่วเองแล้วจะให้คนอื่นมาตัดให้ไม่ใช่แนวของศาสนาพุทธอย่างสิ้นเชิง ที่คิดจะทำกันไม่ใช่เรื่องของพุทธ แต่เป็นเรื่องของทางไสยศาสตร์”
“ที่สำคัญการหงายบาตรการตัดกรรมไม่ควรจะเป็นเรื่องของการเมือง การหงายบาตรเป็นมาตรการของสงฆ์ในการเตือนให้คนทำผิดสำนึกผิด การตัดกรรมเป็นเรื่องของการสั่งสอนให้คนทำผิดทำชั่วเลิกทำผิดทำชั่ว เปลี่ยนพฤติกรรม ตัดความชั่วออกไป นั่นคือการตัดกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา”
ในประเด็นสุดท้ายที่ชาวพุทธหลายๆ คนอยากรู้ คือการที่วัดออกมาทำพิธีที่ดูแล้วออกจะไม่ใช่แก่นแท้ทางศาสนา แต่หนักไปในทางไสยศาสตร์เช่นนี้ จะถือเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรมหรือไม่นั้น พระมหาวุฒิชัยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยกล่าวเพียงว่า ให้ข้อมูลในเชิงวิชาการ ตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ที่เหลือก็อยากให้ประชาชนพิจารณากันเองด้วยปัญญา
“ส่วนที่โยมถามเรื่องการหงายบาตร-ตัดกรรมอย่างที่เป็นข่าวนั้น อาตมาไม่ขอพูด แต่ขอให้เป็นหลักการอย่างที่กล่าวมา ที่อธิบายให้ฟังมาในเชิงวิชาการ ก็อยากให้ประชาชนนำไปขบคิดพิจารณาหาคำตอบว่า พุทธหรือไม่พุทธ ใช่ตามหลักศาสนาหรือไม่ใช่...อาตมาขอเจริญพร” พระมหาวุฒิชัยทิ้งท้าย
ทั้งนี้ หนี่งในบิ๊กเซอร์ไพร์สที่แง้มออกมาให้รู้ชัดกันทั้งประเทศ เปิดเผยออกมาจากปากพระครูปลัดไพศาล กิตฺติภทฺโท เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าว่า จะมีการทำพิธี “หงายบาตร-ตัดกรรม” ให้พ.ต.ท.ทักษิณ โดยพิธีดังกล่าวเป็นการแก้กรรมให้แก่ผู้ที่มีความเดือดร้อนทุกข์ใจ ซึ่งใช้เวลาในการทำพิธีราว 2 ช.ม.ครึ่ง
พิธีดังกล่าวทำให้พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปเกิดความกังขาว่า ในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้น มีการหงายบาตร-ตัดกรรมได้จริงหรือ?
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ “ว.วชิรเมธี” ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัยและพระนักเทศน์ชื่อดัง อธิบายเรื่องการคว่ำบาตร-หงายบาตร ตามหลักวิชาการว่า การคว่ำบาตรเป็นมาตรการหนึ่งของคณะสงฆ์ที่ใช้กับคฤหัสถ์ที่มุ่งติเตียนว่าร้ายภิกษุสงฆ์ด้วยจิตไม่ดี วิธีการคว่ำบาตรก็คือ คณะสงฆ์จะไม่คบค้าสมาคมคฤหัสถ์ผู้นั้น ไม่รับบาตรตลอดจนไม่รับกิจนิมนต์
“การคว่ำบาตรไม่ใช่การกระทำเพื่อประสงค์ร้าย เตือนสติคนผู้นั้นให้สำนึกว่าทำไม่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อหากคนผู้นั้นสำนึกผิดและรู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นผิด ยอมรับผิดและขอโทษ ทางคณะสงฆ์ก็จะหงายบาตร คือกลับมาคบค้าสมาคม รับบาตร และรับกิจนิมนต์เหมือนเดิม ซึ่งการคว่ำบาตรนี้ เป็นประเด็นทางธรรม ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง
ส่วนการตัดกรรมก็คือ การตัดพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเองออกไป เช่น หากเป็นคนคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วเลิกคิดชั่ว เลิกพูดชั่ว เลิกทำชั่ว อันนี้สิตัดกรรม แต่การตัดกรรมด้วยการบนบานศาลกล่าว ตัดกรรมด้วยการติดสินบนเทวดานั้น ไม่ใช่การตัดกรรมในทางพุทธศาสนา ซึ่งหากเขาจะเรียกวิธีการนี้ว่าการตัดกรรมจริงๆ ก็คงเรียกได้ แต่เนื่องจากไม่ใช่วิธีการตัดกรรมแบบพุทธ ก็อยากให้เรียกเพิ่มไปสักหน่อยว่าเป็นการตัดกรรมแบบของใคร เพราะหากใช้วิธีทางไสยศาสตร์ ไสยเวทย์ แล้วมาเรียกว่าเป็นการตัดกรรม จะเป็นการนำคำสอนนอกรีตนอกรอยมาใส่ลงในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาปนเปื้อน ทำให้ชาวพุทธสับสน”
พระมหาวุฒิชัยให้ความรู้ต่อไปอีกว่า “กรรม” คือการกระทำอันเป็นปัจเจกของบุคคลใด บุคคลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนเอาไว้ว่า ความบริสุทธิ์หรือไม่เป็นเรื่องของปัจเจก
“พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ตนทำชั่วเอง จิตก็จะเศร้าหมองเอง ตนทำดีเอง จิตก็จะบริสุทธิ์เอง คนอื่นจะมีช่วยทำพิธี อธิษฐานตัดกรรมแทนกันหาได้ไม่ การที่ทำชั่วเองแล้วจะให้คนอื่นมาตัดให้ไม่ใช่แนวของศาสนาพุทธอย่างสิ้นเชิง ที่คิดจะทำกันไม่ใช่เรื่องของพุทธ แต่เป็นเรื่องของทางไสยศาสตร์”
“ที่สำคัญการหงายบาตรการตัดกรรมไม่ควรจะเป็นเรื่องของการเมือง การหงายบาตรเป็นมาตรการของสงฆ์ในการเตือนให้คนทำผิดสำนึกผิด การตัดกรรมเป็นเรื่องของการสั่งสอนให้คนทำผิดทำชั่วเลิกทำผิดทำชั่ว เปลี่ยนพฤติกรรม ตัดความชั่วออกไป นั่นคือการตัดกรรมตามหลักของพระพุทธศาสนา”
ในประเด็นสุดท้ายที่ชาวพุทธหลายๆ คนอยากรู้ คือการที่วัดออกมาทำพิธีที่ดูแล้วออกจะไม่ใช่แก่นแท้ทางศาสนา แต่หนักไปในทางไสยศาสตร์เช่นนี้ จะถือเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรมหรือไม่นั้น พระมหาวุฒิชัยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โดยกล่าวเพียงว่า ให้ข้อมูลในเชิงวิชาการ ตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ที่เหลือก็อยากให้ประชาชนพิจารณากันเองด้วยปัญญา
“ส่วนที่โยมถามเรื่องการหงายบาตร-ตัดกรรมอย่างที่เป็นข่าวนั้น อาตมาไม่ขอพูด แต่ขอให้เป็นหลักการอย่างที่กล่าวมา ที่อธิบายให้ฟังมาในเชิงวิชาการ ก็อยากให้ประชาชนนำไปขบคิดพิจารณาหาคำตอบว่า พุทธหรือไม่พุทธ ใช่ตามหลักศาสนาหรือไม่ใช่...อาตมาขอเจริญพร” พระมหาวุฒิชัยทิ้งท้าย