“วิทยา” ยอมรับ สธ.บกพร่องทำให้เด็ก 4 ขวบ รับเลือดจากโรงพยาบาลแล้วติดเอดส์ สั่งผู้ตรวจราชการ สธ.สอบข้อเท็จจริง ศูนย์สันติวิธีดำเนินการไกล่เกลี่ย “หมอปราชญ์” มั่นใจระบบตรวจสอบเลือดได้มาตรฐานสากล
วันที่ 24 ก.ค. นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีเด็กแฝดผู้น้องวัย 4 ขวบ ติดเชื้อเอชไอวีจากการรับเลือดที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จ.ยะลา ว่า ถือเป็นความบกพร่องของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องรับผิดชอบผู้ป่วยอย่างเต็มที่ โดยเบื้องต้นได้สั่งการให้ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหาย รวมถึงมอบหมายให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เด็กรายดังกล่าวเป็นเด็กแฝดคนน้อง น้ำหนักแรกคลอดเพียง 1,350 กรัม ทั้งที่โดยปกติน้ำหนักแรกคลอดควรจะอยู่ที่ 3,000 กรัม หากน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ถือว่ามีความเสี่ยงสูง ที่สำคัญ เด็กมีอาการหอบหืด ท้องเสียบ่อยครั้ง ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง บางครั้งมีอาการป่วยที่แพทย์ต้องพิจารณาให้เลือดเพื่อช่วยเหลือชีวิตเด็ก ต่อมามีการตรวจเลือดเด็กที่ รพ.ศูนย์ยะลา รพ.ในมหาวิทยาลัย ผลไม่พบว่าติดเชื้อเอชไอวี กระทั่งผ่านไป 1-2 สัปดาห์ มีการตรวจเลือดอีกครั้ง จึงพบว่าเลือดเป็นบวก ติดเชื้อเอชไอวี เบื้องต้น รพ.ศูนย์ยะลา ได้รับผิดชอบด้วยการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฟรีตลอดชีวิต
นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับขั้นตอนในการให้เลือดกับผู้ป่วยมี 3 ขั้นตอน คือ 1.ตรวจดูกรุ๊ปเลือดของผู้ป่วย 2.พิจารณากรุ๊ปเลือดที่จะนำมาให้กับผู้ป่วยซึ่งต้องเป็นกรุ๊ปเลือดเดียวกัน และ 3.นำเลือดมาให้ผู้ป่วย ส่วนการตรวจสอบเลือดก่อนนำมาให้กับผู้ป่วยจะดำเนินการตามหลักสากล โดยพิจารณา 2 หลักใหญ่ ได้แก่ ให้เลือดไม่ผิดกรุ๊ปและให้เลือด
วันที่ 24 ก.ค. นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีเด็กแฝดผู้น้องวัย 4 ขวบ ติดเชื้อเอชไอวีจากการรับเลือดที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จ.ยะลา ว่า ถือเป็นความบกพร่องของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องรับผิดชอบผู้ป่วยอย่างเต็มที่ โดยเบื้องต้นได้สั่งการให้ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกับผู้เสียหาย รวมถึงมอบหมายให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เด็กรายดังกล่าวเป็นเด็กแฝดคนน้อง น้ำหนักแรกคลอดเพียง 1,350 กรัม ทั้งที่โดยปกติน้ำหนักแรกคลอดควรจะอยู่ที่ 3,000 กรัม หากน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ถือว่ามีความเสี่ยงสูง ที่สำคัญ เด็กมีอาการหอบหืด ท้องเสียบ่อยครั้ง ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง บางครั้งมีอาการป่วยที่แพทย์ต้องพิจารณาให้เลือดเพื่อช่วยเหลือชีวิตเด็ก ต่อมามีการตรวจเลือดเด็กที่ รพ.ศูนย์ยะลา รพ.ในมหาวิทยาลัย ผลไม่พบว่าติดเชื้อเอชไอวี กระทั่งผ่านไป 1-2 สัปดาห์ มีการตรวจเลือดอีกครั้ง จึงพบว่าเลือดเป็นบวก ติดเชื้อเอชไอวี เบื้องต้น รพ.ศูนย์ยะลา ได้รับผิดชอบด้วยการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฟรีตลอดชีวิต
นพ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับขั้นตอนในการให้เลือดกับผู้ป่วยมี 3 ขั้นตอน คือ 1.ตรวจดูกรุ๊ปเลือดของผู้ป่วย 2.พิจารณากรุ๊ปเลือดที่จะนำมาให้กับผู้ป่วยซึ่งต้องเป็นกรุ๊ปเลือดเดียวกัน และ 3.นำเลือดมาให้ผู้ป่วย ส่วนการตรวจสอบเลือดก่อนนำมาให้กับผู้ป่วยจะดำเนินการตามหลักสากล โดยพิจารณา 2 หลักใหญ่ ได้แก่ ให้เลือดไม่ผิดกรุ๊ปและให้เลือด