นักท่องเที่ยวโวย!! เทศบาลเมืองสุโขทัยสร้างสะพานเหล็กใหญ่ยักษ์สูง 34 เมตร ยาว 130 เมตร ข้ามแม่น้ำยม ชี้ทำลายภูมิทัศน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอุทยานศรีสัชนาลัย กรมศิลป์ แฉผู้สร้างแอบเปลี่ยนแปลนก่อสร้างใหม่โดยพลการ สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยหวั่นถูกถอดจากเมืองมรดกโลก ชี้หนักกว่าร้านค้ายิบย่อยที่เมืองเก่าอยุธยา ด้านรองผู้ว่าฯ รับลูกรีบสั่งระงับการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 3 ก.ค. นายอนันต์ ชูโชติ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวว่า สำนักศิลปากรที่ 6 ได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายพันคน ที่เข้ามาเที่ยวชมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร หรือ วัดพระปรางค์ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เกี่ยวกับการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยม ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่อยู่บริเวณด้านหลังของวัดพระปรางค์ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างตำหนิ พร้อมทั้งแสดงการคัดค้านการก่อสร้างสะพานเนื่องจากเห็นว่าเป็นการทำลายภูมิทัศน์ของโบราณสถาน เมืองมรดกโลก ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ พบว่า การก่อสร้างสะพานดังกล่าว ทางเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัยเป็นผู้ดำเนินการ โดยของบประมาณ จำนวน 6 ล้านบาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โดยสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่สำหรับให้รถจักรยานยนต์ข้ามผ่านแม่น้ำได้เท่านั้น
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการก่อสร้างนั้น ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 โดยทางเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ได้เสนอรูปแบบการสร้างสะพานมายังสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย เพื่อขอให้คณะกรรมการศิลปากรพิจารณาแบบการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยม โดยได้เสนอรูปแบบของสะพานที่เรียบ ไม่สูงบดบัง และทำลายทัศนียภาพภูมิทัศน์เมืองมรดกโลก ทางคณะกรรมการจึงมีมติอนุญาตให้ก่อสร้างได้ จากนั้นก็ได้มีการก่อสร้างเมื่อต้น ปี 2552 แต่ปรากฏว่า ไม่เป็นไปตามรูปแบบเดิมที่ได้มีการเสนอให้คณะกรรมการศิลปากร พิจารณาและอนุญาตไป เนื่องจากได้มีการปรับเปลี่ยนแบบใหม่ โดยเพิ่มราวสะพานที่มีขนาดใหญ่และมีความสูงมาก ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เมื่อมองจากวัดพระปรางค์ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานเมืองมรดกโลก จะเห็นราวสะพานเป็นฉากหลังอย่างชัดเจน ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่แปลกปลอม คุกคามและทำลาย บรรยากาศโบราณสถานเมืองมรดกโลกอย่างสิ้นเชิง
“จากเดิมที่มีการเริ่มสร้างสะพาน เราคิดว่า การก่อสร้างจะเป็นไปตามรูปแบบที่ได้ขออนุญาต ก็ไม่ได้มีการติติงอะไร เพราะเห็นว่าสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่เมื่อดำเนินการก่อสร้างเรื่อยๆ จนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเสร็จ ก็พบว่ามีการสร้างราวสะพานเพิ่มขนาดใหญ่มหึมา ขึ้นอีก จึงได้ทราบว่าเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมและผิดแบบที่ขออนุญาตไว้ โดยทางอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ได้รายงานเข้ามาว่าการก่อสร้างเช่นนี้ถือเป็นการคุกคามเมืองมรดกโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะวัดพระปรางค์ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อยู่ในยุคสมัยก่อนสุโขทัย มีอายุกว่า 1,200 ปี ถือเป็นวัด 1ใน 8 ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุในเมืองไทย ที่สำคัญนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็มีความไม่พอใจกับการก่อสร้างดังกล่าว” นายอนันต์ กล่าว
ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวต่อว่า การขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกนั้น ได้มีข้อกำหนดหลักเกณฑ์การก่อสร้าง ในเขตโบราณสถาน ว่า สามารถสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างได้ โดยต้องไม่คุกคามและทำลายสภาพภูมิทัศน์ โดยจะต้องมีความสูงไม่เกิน 8 เมตร หรือบ้านเรือนขนาดสูง 2 ชั้น และไม่ใกล้โบราณสถานมากนัก แต่เมื่อวัดขนาดของราวสะพานข้ามแม่น้ำยมที่มีปัญหานี้ พบว่า มีความสูงถึง 34 เมตร ยาว 120-130 เมตร แสดงถึงการทำลายภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน ที่อันตรายอย่างยิ่งคือ การดำเนินการก่อสร้างดังกล่าว ทำให้เมืองสุโขทัย มีความเสี่ยงต่อการถูกขึ้นบัญชีมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย อาจถูกถอดจากเมืองมรดกโลกได้ เพราะถือว่า เป็นการทำลายภูมิทัศน์ที่หนักกว่ากรณีร้านค้ายิบย่อยที่บดบังโบราณสถาน จ.พระนครศรีอยุธยา เสียอีก เนื่องจากการก่อสร้างสะพานไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้ นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร ทราบถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งประสานผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เพื่อให้สั่งระงับการก่อสร้างชั่วคราวแล้ว ขณะเดียวกัน ก็ขอให้มีการเปลี่ยนแบบแปลนการก่อสร้างใหม่ทั้งหมด เพื่อไม่เป็นการทำลายเมืองมรดกโลก
นายวันชัย ไชยวรรณ รองผู้ว่า กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างแล้ว พบว่า การสร้างสะพานกระทบต่อภูมิทัศน์เมืองมรดกโลก ทางจังหวัดได้แจ้งไปทางเทศบาลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้มีการสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงแบบแปลนจากเดิมที่เป็นแบบเรียบ แต่กลับกลายเป็นสะพานสูงโดยทางเทศบาลได้แจ้งมาว่าจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนโครงสร้างแบบสะพานใหม่ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสภาพภูมิทัศน์โดยรอบอุทยานศรีสัชนาลัย
เมื่อวันที่ 3 ก.ค. นายอนันต์ ชูโชติ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวว่า สำนักศิลปากรที่ 6 ได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลายพันคน ที่เข้ามาเที่ยวชมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร หรือ วัดพระปรางค์ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เกี่ยวกับการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยม ซึ่งมีขนาดสูงใหญ่อยู่บริเวณด้านหลังของวัดพระปรางค์ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างตำหนิ พร้อมทั้งแสดงการคัดค้านการก่อสร้างสะพานเนื่องจากเห็นว่าเป็นการทำลายภูมิทัศน์ของโบราณสถาน เมืองมรดกโลก ทั้งนี้ จากการตรวจสอบ พบว่า การก่อสร้างสะพานดังกล่าว ทางเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัยเป็นผู้ดำเนินการ โดยของบประมาณ จำนวน 6 ล้านบาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โดยสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่สำหรับให้รถจักรยานยนต์ข้ามผ่านแม่น้ำได้เท่านั้น
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการก่อสร้างนั้น ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 โดยทางเทศบาลเมืองศรีสัชนาลัย ได้เสนอรูปแบบการสร้างสะพานมายังสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย เพื่อขอให้คณะกรรมการศิลปากรพิจารณาแบบการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำยม โดยได้เสนอรูปแบบของสะพานที่เรียบ ไม่สูงบดบัง และทำลายทัศนียภาพภูมิทัศน์เมืองมรดกโลก ทางคณะกรรมการจึงมีมติอนุญาตให้ก่อสร้างได้ จากนั้นก็ได้มีการก่อสร้างเมื่อต้น ปี 2552 แต่ปรากฏว่า ไม่เป็นไปตามรูปแบบเดิมที่ได้มีการเสนอให้คณะกรรมการศิลปากร พิจารณาและอนุญาตไป เนื่องจากได้มีการปรับเปลี่ยนแบบใหม่ โดยเพิ่มราวสะพานที่มีขนาดใหญ่และมีความสูงมาก ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เมื่อมองจากวัดพระปรางค์ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานเมืองมรดกโลก จะเห็นราวสะพานเป็นฉากหลังอย่างชัดเจน ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่แปลกปลอม คุกคามและทำลาย บรรยากาศโบราณสถานเมืองมรดกโลกอย่างสิ้นเชิง
“จากเดิมที่มีการเริ่มสร้างสะพาน เราคิดว่า การก่อสร้างจะเป็นไปตามรูปแบบที่ได้ขออนุญาต ก็ไม่ได้มีการติติงอะไร เพราะเห็นว่าสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่เมื่อดำเนินการก่อสร้างเรื่อยๆ จนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเสร็จ ก็พบว่ามีการสร้างราวสะพานเพิ่มขนาดใหญ่มหึมา ขึ้นอีก จึงได้ทราบว่าเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมและผิดแบบที่ขออนุญาตไว้ โดยทางอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ได้รายงานเข้ามาว่าการก่อสร้างเช่นนี้ถือเป็นการคุกคามเมืองมรดกโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะวัดพระปรางค์ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อยู่ในยุคสมัยก่อนสุโขทัย มีอายุกว่า 1,200 ปี ถือเป็นวัด 1ใน 8 ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุในเมืองไทย ที่สำคัญนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็มีความไม่พอใจกับการก่อสร้างดังกล่าว” นายอนันต์ กล่าว
ผอ.สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวต่อว่า การขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกนั้น ได้มีข้อกำหนดหลักเกณฑ์การก่อสร้าง ในเขตโบราณสถาน ว่า สามารถสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างได้ โดยต้องไม่คุกคามและทำลายสภาพภูมิทัศน์ โดยจะต้องมีความสูงไม่เกิน 8 เมตร หรือบ้านเรือนขนาดสูง 2 ชั้น และไม่ใกล้โบราณสถานมากนัก แต่เมื่อวัดขนาดของราวสะพานข้ามแม่น้ำยมที่มีปัญหานี้ พบว่า มีความสูงถึง 34 เมตร ยาว 120-130 เมตร แสดงถึงการทำลายภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน ที่อันตรายอย่างยิ่งคือ การดำเนินการก่อสร้างดังกล่าว ทำให้เมืองสุโขทัย มีความเสี่ยงต่อการถูกขึ้นบัญชีมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย อาจถูกถอดจากเมืองมรดกโลกได้ เพราะถือว่า เป็นการทำลายภูมิทัศน์ที่หนักกว่ากรณีร้านค้ายิบย่อยที่บดบังโบราณสถาน จ.พระนครศรีอยุธยา เสียอีก เนื่องจากการก่อสร้างสะพานไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้ นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร ทราบถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งประสานผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เพื่อให้สั่งระงับการก่อสร้างชั่วคราวแล้ว ขณะเดียวกัน ก็ขอให้มีการเปลี่ยนแบบแปลนการก่อสร้างใหม่ทั้งหมด เพื่อไม่เป็นการทำลายเมืองมรดกโลก
นายวันชัย ไชยวรรณ รองผู้ว่า กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างแล้ว พบว่า การสร้างสะพานกระทบต่อภูมิทัศน์เมืองมรดกโลก ทางจังหวัดได้แจ้งไปทางเทศบาลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้มีการสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงแบบแปลนจากเดิมที่เป็นแบบเรียบ แต่กลับกลายเป็นสะพานสูงโดยทางเทศบาลได้แจ้งมาว่าจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนโครงสร้างแบบสะพานใหม่ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสภาพภูมิทัศน์โดยรอบอุทยานศรีสัชนาลัย