อย.เผยไทยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาสูง เสี่ยงเกิดอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เร่งเก็บตัวอย่างทำการวิจัยเชิงลึก
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 1 กรกฎาคม ในงานประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2552 ในหัวข้อ การจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค (Risk Management of Health Product for Consumer Safety) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งเฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกชนิด ได้แก่ ยา อาหาร วัตถุเสพติด เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน พบว่า มีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ปีละประมาณ 40,000 ฉบับ และมีแนวโน้มมากขึ้น เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเรื่องจริง 35,000 ฉบับ
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่พบว่าอาการไม่พึงประสงค์ จะเกิดกับผู้ใช้ยา เช่น ยารักษาวัณโรค และผู้ที่ใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine) ที่ใช้บรรเทาอาการอักเสบจากโรคเกาต์ มีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตด้วยอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson syndrome) ได้ นอกจากนี้ยังพบมีการรายงานถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่เกิดต่อระบบเลือดในยาอีกด้วย ซึ่งจากรายงานดังกล่าวทำให้มีการเตือนภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้บริโภค รวมทั้งปรับระบบการกำกับดูแลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเกิดได้หลายอย่าง เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และโรคระบาดต่างๆในประเทศ เป็นต้น เช่น ยาวัณโรคที่มีผลต่อตับ แต่เกิดผลข้างเคียงไม่ถึง ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมด ยาโคลชิซิน ที่รักษาอาการอักเสบจากโรคเกาต์ พบว่า ผู้ป่วยในประเทศไทยเมื่อใช้จะเกิดภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแดง พุพอง โดยสัญญาณแรก คือ เกิดผื่นที่ริมฝีปาก จากนั้นจะลามไปที่อวัยวะอื่น เช่น ตา จนทำให้เกิดอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม ทำให้เสี่ยงเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถระงับได้ โดยการหยุดใช้ยาจนกว่าอาการจะหาย และกลับมาใช้ใหม่ สลับกับการหยุดใช้ เนื่องจากยังไม่มียาอื่นทดแทน จึงจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวต่อไป
ภญ.วีรวรรณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เริ่มศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ยาดังกล่าวเพื่อหาสาเหตุว่าอาการรุนแรงเกิดจากอะไร เพราะอาการเหล่านี้จะเกิดกับผู้ป่วยคนไทย และเอเชีย แต่กลับไม่พบในชาวยุโรป จึงสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมของชาวเอเชียทำให้เกิดผลข้างเคียง โดยในรอบ 10 ปี มีรายงานว่าพบผู้เสียชีวิตจากเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของยาโรคเกาต์ 1 ราย และยังไม่สามารถติดตามอาการไม่ได้อีก 9 ราย และโรควัณโรคพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิต 33 ราย นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีรายงานผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์มากจนติดลำดับ 1ใน 10 ของโลก ซึ่งจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลและทำการวิจัยเชิงลึกต่อไป
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 1 กรกฎาคม ในงานประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2552 ในหัวข้อ การจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค (Risk Management of Health Product for Consumer Safety) นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งเฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพทุกชนิด ได้แก่ ยา อาหาร วัตถุเสพติด เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน พบว่า มีการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ปีละประมาณ 40,000 ฉบับ และมีแนวโน้มมากขึ้น เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเรื่องจริง 35,000 ฉบับ
นพ.พิพัฒน์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่พบว่าอาการไม่พึงประสงค์ จะเกิดกับผู้ใช้ยา เช่น ยารักษาวัณโรค และผู้ที่ใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine) ที่ใช้บรรเทาอาการอักเสบจากโรคเกาต์ มีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตด้วยอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson syndrome) ได้ นอกจากนี้ยังพบมีการรายงานถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่เกิดต่อระบบเลือดในยาอีกด้วย ซึ่งจากรายงานดังกล่าวทำให้มีการเตือนภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้บริโภค รวมทั้งปรับระบบการกำกับดูแลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเกิดได้หลายอย่าง เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และโรคระบาดต่างๆในประเทศ เป็นต้น เช่น ยาวัณโรคที่มีผลต่อตับ แต่เกิดผลข้างเคียงไม่ถึง ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมด ยาโคลชิซิน ที่รักษาอาการอักเสบจากโรคเกาต์ พบว่า ผู้ป่วยในประเทศไทยเมื่อใช้จะเกิดภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแดง พุพอง โดยสัญญาณแรก คือ เกิดผื่นที่ริมฝีปาก จากนั้นจะลามไปที่อวัยวะอื่น เช่น ตา จนทำให้เกิดอาการสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม ทำให้เสี่ยงเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถระงับได้ โดยการหยุดใช้ยาจนกว่าอาการจะหาย และกลับมาใช้ใหม่ สลับกับการหยุดใช้ เนื่องจากยังไม่มียาอื่นทดแทน จึงจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวต่อไป
ภญ.วีรวรรณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เริ่มศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ยาดังกล่าวเพื่อหาสาเหตุว่าอาการรุนแรงเกิดจากอะไร เพราะอาการเหล่านี้จะเกิดกับผู้ป่วยคนไทย และเอเชีย แต่กลับไม่พบในชาวยุโรป จึงสันนิษฐานเบื้องต้นว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมของชาวเอเชียทำให้เกิดผลข้างเคียง โดยในรอบ 10 ปี มีรายงานว่าพบผู้เสียชีวิตจากเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ของยาโรคเกาต์ 1 ราย และยังไม่สามารถติดตามอาการไม่ได้อีก 9 ราย และโรควัณโรคพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิต 33 ราย นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังมีรายงานผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์มากจนติดลำดับ 1ใน 10 ของโลก ซึ่งจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลและทำการวิจัยเชิงลึกต่อไป