สุราษฎร์ธานี - ม.ราชภัฏสุราษฎร์ฯ ผุดศูนย์เฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ 2009 และโรคชิคุนกุนยา อาจารย์ตั้งโต๊ะให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาใกล้ชิด อธิการบดีเตือนอย่าตื่นตระหนกแต่ต้องตื่นตัว รู้จักป้องกัน พร้อมจับมือจังหวัดดูแลท้องถิ่นปลอดยุงลาย
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า มรส.ได้ตั้ง “ศูนย์เฝ้าระวังและป้องกันโรคชิคุนกุนยาและไข้หวัดใหญ่ 2009” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถป้องกันไม่ให้ตนเองติดโรคหรือแพร่โรคไปยังคนรอบข้าง และเพื่อเฝ้าระวังนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการป่วยต้องสงสัย เนื่องจากสถานศึกษาเป็นแหล่งชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาด ทั้งนี้มหาวิทยาลัยไม่ต้องการให้นักศึกษาตื่นตระหนก แต่ต้องการให้เกิดความตื่นตัวที่จะป้องกันโรค รู้เท่าทันโรค สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองและให้ความใส่ใจเรื่องสุขอนามัย
อธิการบดี มรส.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดให้เป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะพูดคุยและปรึกษาหารือระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา โดยอาจารย์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคทั้งสองแก่นักศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม ในกรณีพบอาการเบื้องต้นที่น่าสงสัย อาจารย์ที่ปรึกษาจะนำนักศึกษาคนดังกล่าวไปตรวจรักษาเบื้องต้น ณศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้ได้รับการรักษาและควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
“นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังดูแลเรื่องสุขอนามัยเป็นพิเศษ เช่น จัดให้มีที่ลวกช้อนส้อมในโรงอาหาร การทำความสะอาดโทรศัพท์สาธารณะและแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน การดูแลห้องเรียนให้มีอากาศถ่ายเท เป็นต้น ล่าสุด มรส. และจังหวัดสุราษฎร์ธานียังร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยและในตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่ปลอดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคชิคุนกุยา
ด้วย”
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า มรส.ได้ตั้ง “ศูนย์เฝ้าระวังและป้องกันโรคชิคุนกุนยาและไข้หวัดใหญ่ 2009” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถป้องกันไม่ให้ตนเองติดโรคหรือแพร่โรคไปยังคนรอบข้าง และเพื่อเฝ้าระวังนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการป่วยต้องสงสัย เนื่องจากสถานศึกษาเป็นแหล่งชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาด ทั้งนี้มหาวิทยาลัยไม่ต้องการให้นักศึกษาตื่นตระหนก แต่ต้องการให้เกิดความตื่นตัวที่จะป้องกันโรค รู้เท่าทันโรค สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองและให้ความใส่ใจเรื่องสุขอนามัย
อธิการบดี มรส.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดให้เป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะพูดคุยและปรึกษาหารือระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา โดยอาจารย์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคทั้งสองแก่นักศึกษา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม ในกรณีพบอาการเบื้องต้นที่น่าสงสัย อาจารย์ที่ปรึกษาจะนำนักศึกษาคนดังกล่าวไปตรวจรักษาเบื้องต้น ณศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้ได้รับการรักษาและควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที
“นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังดูแลเรื่องสุขอนามัยเป็นพิเศษ เช่น จัดให้มีที่ลวกช้อนส้อมในโรงอาหาร การทำความสะอาดโทรศัพท์สาธารณะและแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน การดูแลห้องเรียนให้มีอากาศถ่ายเท เป็นต้น ล่าสุด มรส. และจังหวัดสุราษฎร์ธานียังร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยและในตำบลขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่ปลอดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคชิคุนกุยา
ด้วย”