สพฐ.เผยโรงเรียนกว่า 100 แห่ง จ่อคิวขอขยายชั้นเรียนเปิดสอนมัธยมปลาย “กษมา” กำชับให้ดูความจำเป็นเป็นหลัก โดยโรงเรียนที่ไม่เข้าเกณฑ์ขยายชั้นเรียน ให้ส่งเรื่องให้ สพท.เพื่อให้เลขา สพฐ.นำเข้าที่ประชุม กพฐ.พิจารณา
นายรังสรรค์ มณีเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเกณฑ์การขยายมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งปัจจุบันมีระเบียบขยายชั้นเรียน โดยมีเกณฑ์จำนวนนักเรียนกับความพร้อมว่า 1.โรงเรียนจะต้องผ่านการประเมินมาตรฐานในระดับดี 2.มีปัจจัยสนับสนุนอย่างพอเพียง เช่น อาคาร สถานที่ ครู 3.ต้องมีนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.4 ไม่น้อยกว่า 40 คน หรือ 1 ห้องเรียน 4.ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ และ 5.โรงเรียนจะต้องมีแผนชั้นเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไม่น้อยกว่า 5 ห้องเรียน เพื่อว่าเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้วจะได้มีนักเรียนป้อนโรงเรียนของตัวเอง
เดิมหากโรงเรียนไหนไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อ ก็ไม่สามารถขยายชั้นเรียนได้ ที่ประชุมเห็นว่าหากโรงเรียนไหนอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สามารถอนุมัติและประกาศให้ขยายชั้นเรียนได้ทันที แต่หากโรงเรียนไหนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ให้ส่งเรื่องผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อส่งต่อมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเรื่องเข้าสู่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อพิจารณาต่อไป
นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม โรงเรียนที่ไม่ได้รับการขยายชั้นเรียน ยังมีทางออก โรงเรียนสามารถทำตัวเป็นสาขาของโรงเรียนแม่ เมื่อนักเรียนเรียนจบระดับมัธยมศึกษาปลาย เวลาออกหลักฐานการศึกษาว่าเรียนจบ ม.6 โรงเรียนแม่จะออกให้ วิธีนี้จะไม่กระทบเด็กไม่มีที่เรียน
นายรังสรรค์ กล่าวต่อว่า คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แสดงความเห็นว่าเกณฑ์บางตัวแข็งเกินไป เช่น ต้องมีนักเรียนไม่น้อยกว่า 40 คน มีห้องเรียนชั้น ม.ต้น ไม่น้อยกว่า 5 ห้อง ถ้าดูเฉพาะโรงเรียนเป็นรายโรงอาจมีปัญหา จึงเสนอให้ดูเป็นพื้นที่ว่าในละแวกนั้นมีโรงเรียนประถม และมัธยมต้น มากน้อยเพียงใด แต่ให้พิจารณาดูความจำเป็นเป็นอันดับแรกว่าจะขยายหรือไม่ขยาย เพราะบางแห่งมีความจำเป็นมาก อย่างเช่น โรงเรียนที่อยู่บนดอย หากไม่มีการขยายชั้นเรียนเด็กจะไม่มีที่เรียน อย่างไรก็ดี เมื่อให้ขยายชั้นเรียนแล้ว สพฐ.จะไปช่วยเตรียมความพร้อมให้โรงเรียน ด้านอาคารเรียน ครู อย่างไรก็ตาม คุณหญิงกษมา มอบให้ นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขา สพฐ.ดูเรื่องขอขยายชั้นเรียน พร้อมกันนี้ ให้ประสานกับเขตมัธยมศึกษา เพราะเขตนี้มีหน้าที่การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะขยายชั้นเรียนหรือไม่
นายรังสรรค์ เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมา มีการอนุมัติขยายชั้นเรียนไปแล้ว 67 โรง นับตั้งแต่มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียน เมื่อวันที่ 6 ก.ย.50 และก่อนมีระเบียบดังกล่าวเคยอนุมัติไป 20 โรง รวมเป็น 87 โรง และขณะนี้มีโรงเรียนทยอยขอขยายชั้นเรียนกว่า 100 โรง ซึ่งเลขา สพฐ.ย้ำให้ดูจากความจำเป็นเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่เปิดสอน ม.ต้นเพียงอย่างเดียว 7 พันโรง อย่างไรก็ตาม ในแต่ละพื้นที่ส่วนมากจะมีโรงเรียนที่เปิดสอนระดับ ม.ปลาย เพียงแต่บางพื้นที่ตั้งอยู่ห่างไกล อาจใช้วิธีช่วยค่าพาหนะ
รายงานข่าวแจ้งว่า การขอขยายชั้นเรียนเพิ่มสำหรับโรงเรียนบางแห่ง เพื่อให้ผู้บริหารสามารถโยกย้ายไปรับตำแหน่งในโรงเรียนที่อยู่ระดับเดียวกันได้ด้วย
นายรังสรรค์ มณีเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเกณฑ์การขยายมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งปัจจุบันมีระเบียบขยายชั้นเรียน โดยมีเกณฑ์จำนวนนักเรียนกับความพร้อมว่า 1.โรงเรียนจะต้องผ่านการประเมินมาตรฐานในระดับดี 2.มีปัจจัยสนับสนุนอย่างพอเพียง เช่น อาคาร สถานที่ ครู 3.ต้องมีนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.4 ไม่น้อยกว่า 40 คน หรือ 1 ห้องเรียน 4.ต้องเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ และ 5.โรงเรียนจะต้องมีแผนชั้นเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไม่น้อยกว่า 5 ห้องเรียน เพื่อว่าเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแล้วจะได้มีนักเรียนป้อนโรงเรียนของตัวเอง
เดิมหากโรงเรียนไหนไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อ ก็ไม่สามารถขยายชั้นเรียนได้ ที่ประชุมเห็นว่าหากโรงเรียนไหนอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สามารถอนุมัติและประกาศให้ขยายชั้นเรียนได้ทันที แต่หากโรงเรียนไหนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ให้ส่งเรื่องผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อส่งต่อมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเรื่องเข้าสู่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อพิจารณาต่อไป
นายรังสรรค์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม โรงเรียนที่ไม่ได้รับการขยายชั้นเรียน ยังมีทางออก โรงเรียนสามารถทำตัวเป็นสาขาของโรงเรียนแม่ เมื่อนักเรียนเรียนจบระดับมัธยมศึกษาปลาย เวลาออกหลักฐานการศึกษาว่าเรียนจบ ม.6 โรงเรียนแม่จะออกให้ วิธีนี้จะไม่กระทบเด็กไม่มีที่เรียน
นายรังสรรค์ กล่าวต่อว่า คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แสดงความเห็นว่าเกณฑ์บางตัวแข็งเกินไป เช่น ต้องมีนักเรียนไม่น้อยกว่า 40 คน มีห้องเรียนชั้น ม.ต้น ไม่น้อยกว่า 5 ห้อง ถ้าดูเฉพาะโรงเรียนเป็นรายโรงอาจมีปัญหา จึงเสนอให้ดูเป็นพื้นที่ว่าในละแวกนั้นมีโรงเรียนประถม และมัธยมต้น มากน้อยเพียงใด แต่ให้พิจารณาดูความจำเป็นเป็นอันดับแรกว่าจะขยายหรือไม่ขยาย เพราะบางแห่งมีความจำเป็นมาก อย่างเช่น โรงเรียนที่อยู่บนดอย หากไม่มีการขยายชั้นเรียนเด็กจะไม่มีที่เรียน อย่างไรก็ดี เมื่อให้ขยายชั้นเรียนแล้ว สพฐ.จะไปช่วยเตรียมความพร้อมให้โรงเรียน ด้านอาคารเรียน ครู อย่างไรก็ตาม คุณหญิงกษมา มอบให้ นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขา สพฐ.ดูเรื่องขอขยายชั้นเรียน พร้อมกันนี้ ให้ประสานกับเขตมัธยมศึกษา เพราะเขตนี้มีหน้าที่การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะขยายชั้นเรียนหรือไม่
นายรังสรรค์ เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมา มีการอนุมัติขยายชั้นเรียนไปแล้ว 67 โรง นับตั้งแต่มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียน เมื่อวันที่ 6 ก.ย.50 และก่อนมีระเบียบดังกล่าวเคยอนุมัติไป 20 โรง รวมเป็น 87 โรง และขณะนี้มีโรงเรียนทยอยขอขยายชั้นเรียนกว่า 100 โรง ซึ่งเลขา สพฐ.ย้ำให้ดูจากความจำเป็นเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่เปิดสอน ม.ต้นเพียงอย่างเดียว 7 พันโรง อย่างไรก็ตาม ในแต่ละพื้นที่ส่วนมากจะมีโรงเรียนที่เปิดสอนระดับ ม.ปลาย เพียงแต่บางพื้นที่ตั้งอยู่ห่างไกล อาจใช้วิธีช่วยค่าพาหนะ
รายงานข่าวแจ้งว่า การขอขยายชั้นเรียนเพิ่มสำหรับโรงเรียนบางแห่ง เพื่อให้ผู้บริหารสามารถโยกย้ายไปรับตำแหน่งในโรงเรียนที่อยู่ระดับเดียวกันได้ด้วย