สพฐ.จับมือกับ สอศ.-กศน.เพิ่มวิชาชีพให้เด็กเรียนสายสามัญที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล มีวิชาชีพได้รับวุฒิ ปวช.หวังเรียนจบเด็กสู่ตลาดแรงงานหรือประกอบอาชีพได้
นายสุชาติ วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายจะขยายจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ ใน สพฐ.เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมาย 50 ต่อ 50 ในขณะนี้ สพฐ.อยากให้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับมัธยมปลาย ที่อยู่ตามชนบทห่างไกล และไม่มีความประสงค์จะเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งไม่มีสถานศึกษาอาชีวะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโอกาสได้เรียนวิชาอาชีพ เมื่อนักเรียนเรียนจบเขาจะนำไปประกอบอาชีพได้
อย่างไรก็ดี ทาง สพฐ.ได้ดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้ว โดยดำเนินการร่วมกัน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่จัดการเรียนการสอน โดยอนุญาตให้นักเรียนของ สพฐ. ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาของอาชีวะแล้วใช้โรงเรียนของ สพฐ.เป็นสถานที่เรียน ทั้งนี้ จะเรียนสามัญคู่กับหลักสูตร ปวช.ทุกอย่าง โดยวิชาสามัญให้อาจารย์ สพฐ.สอน ส่วนวิชาชีพ อาจารย์อาชีวะสอน เมื่อเด็กเรียนจบจะได้รับวุฒิ ปวช.
กลุ่มที่ 2 บางโรงเรียนต้องการให้สอนวิชาชีพแต่ไม่ใช่ทั้งหมด โดยวิชาสามัญสอนตามหลักสูตรแกนกลางของ สพฐ. และเปิดสอนวิชาเลือกเป็นวิชาชีพ โดยนำเอาวิชาชีพในหลักสูตร ปวช.มาสอน เมื่อเรียนจบแล้วเด็กกลุ่มนี้ จะได้วุฒิ ม.6 เพียงแต่เน้นสายอาชีพ จะออกไปประกอบอาชีพได้ ถ้าเด็กต้องการวุฒิ ปวช.ก็ไปลงทะเบียนเรียนกับอาชีวะ โดยไปเรียนเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน จะถ่ายโอนวิชาที่เรียน ม.ปลาย หรือเด็กที่ต้องการจะต้อง ปวส. ซึ่ง สพฐ.จะไปทำความตกลงกับอาชีวะว่า เด็กที่จบวุฒิ ม.6 แต่สามารถไปศึกษาต่อระดับ ปวส.ได้
และกลุ่ม 3 นักเรียนอยู่ สพฐ.ทั้งหมด แล้วนำหลักสูตร ปวช.มาสอนโดยใช้อาจารย์ของ สพฐ.แต่จะให้โรงเรียนที่มีความพร้อมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเปิดสอนหลักสูตรลักษณะนี้จะต้องมีคณะกรรมการ สพฐ.ไปตรวจสอบว่าควรให้เปิดหรือไม่ และเมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตร จะได้รับวุฒิ ปวช.เพียงแต่วุฒิจะออกโดย สพฐ.
ถามว่า จัดการเรียนการสอนซ้ำซ้อนหรือไม่ นายสุชาติ ตอบว่า ไม่ถือว่าซ้ำซ้อน จัดเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ไม่มีสถาบันอาชีวะตั้งอยู่ในพื้นที่ และโรงเรียนมีความพร้อมที่จะจัด และก่อนเปิดจะมีคณะกรรมการของ สพฐ.และอาชีวะ มาดูความพร้อมว่าจะเปิดได้มั้ย เช่น โรงเรียนจะต้องอยู่ห่างจากอาชีวะมากกว่า 40 กม.และเปิดสอนเฉพาะสาขาที่มีความพร้อมและคณะกรรมการอนุญาตเท่านั้น ไม่ใช่เปิดทุกสาขา
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สพฐ.จะลงนามความร่วมมือกับสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยเน้นสาขาเกษตร สำหรับกลุ่มเป้าหมายตามแนวชายแดน ร่วมกับ กศน.ศูนย์ฝึกวิชาชีพ ด้านเกษตร เมื่อเด็กเรียนจบจะได้วุฒิ ปวช.ออกโดย สพฐ.อีกส่วนที่ สพฐ.กำลังเนินการอยู่ โดยอนุญาตให้สถานประกอบการเปิดศูนย์การเรียนรู้ แล้วให้เด็กที่เรียนจบ ม.3 มาเรียน เมื่อเรียนจบจะได้รับวุฒิ ปวช.
นายสุชาติ วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายจะขยายจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ ใน สพฐ.เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมาย 50 ต่อ 50 ในขณะนี้ สพฐ.อยากให้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับมัธยมปลาย ที่อยู่ตามชนบทห่างไกล และไม่มีความประสงค์จะเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งไม่มีสถานศึกษาอาชีวะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโอกาสได้เรียนวิชาอาชีพ เมื่อนักเรียนเรียนจบเขาจะนำไปประกอบอาชีพได้
อย่างไรก็ดี ทาง สพฐ.ได้ดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้ว โดยดำเนินการร่วมกัน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่จัดการเรียนการสอน โดยอนุญาตให้นักเรียนของ สพฐ. ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาของอาชีวะแล้วใช้โรงเรียนของ สพฐ.เป็นสถานที่เรียน ทั้งนี้ จะเรียนสามัญคู่กับหลักสูตร ปวช.ทุกอย่าง โดยวิชาสามัญให้อาจารย์ สพฐ.สอน ส่วนวิชาชีพ อาจารย์อาชีวะสอน เมื่อเด็กเรียนจบจะได้รับวุฒิ ปวช.
กลุ่มที่ 2 บางโรงเรียนต้องการให้สอนวิชาชีพแต่ไม่ใช่ทั้งหมด โดยวิชาสามัญสอนตามหลักสูตรแกนกลางของ สพฐ. และเปิดสอนวิชาเลือกเป็นวิชาชีพ โดยนำเอาวิชาชีพในหลักสูตร ปวช.มาสอน เมื่อเรียนจบแล้วเด็กกลุ่มนี้ จะได้วุฒิ ม.6 เพียงแต่เน้นสายอาชีพ จะออกไปประกอบอาชีพได้ ถ้าเด็กต้องการวุฒิ ปวช.ก็ไปลงทะเบียนเรียนกับอาชีวะ โดยไปเรียนเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน จะถ่ายโอนวิชาที่เรียน ม.ปลาย หรือเด็กที่ต้องการจะต้อง ปวส. ซึ่ง สพฐ.จะไปทำความตกลงกับอาชีวะว่า เด็กที่จบวุฒิ ม.6 แต่สามารถไปศึกษาต่อระดับ ปวส.ได้
และกลุ่ม 3 นักเรียนอยู่ สพฐ.ทั้งหมด แล้วนำหลักสูตร ปวช.มาสอนโดยใช้อาจารย์ของ สพฐ.แต่จะให้โรงเรียนที่มีความพร้อมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเปิดสอนหลักสูตรลักษณะนี้จะต้องมีคณะกรรมการ สพฐ.ไปตรวจสอบว่าควรให้เปิดหรือไม่ และเมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตร จะได้รับวุฒิ ปวช.เพียงแต่วุฒิจะออกโดย สพฐ.
ถามว่า จัดการเรียนการสอนซ้ำซ้อนหรือไม่ นายสุชาติ ตอบว่า ไม่ถือว่าซ้ำซ้อน จัดเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ไม่มีสถาบันอาชีวะตั้งอยู่ในพื้นที่ และโรงเรียนมีความพร้อมที่จะจัด และก่อนเปิดจะมีคณะกรรมการของ สพฐ.และอาชีวะ มาดูความพร้อมว่าจะเปิดได้มั้ย เช่น โรงเรียนจะต้องอยู่ห่างจากอาชีวะมากกว่า 40 กม.และเปิดสอนเฉพาะสาขาที่มีความพร้อมและคณะกรรมการอนุญาตเท่านั้น ไม่ใช่เปิดทุกสาขา
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สพฐ.จะลงนามความร่วมมือกับสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยเน้นสาขาเกษตร สำหรับกลุ่มเป้าหมายตามแนวชายแดน ร่วมกับ กศน.ศูนย์ฝึกวิชาชีพ ด้านเกษตร เมื่อเด็กเรียนจบจะได้วุฒิ ปวช.ออกโดย สพฐ.อีกส่วนที่ สพฐ.กำลังเนินการอยู่ โดยอนุญาตให้สถานประกอบการเปิดศูนย์การเรียนรู้ แล้วให้เด็กที่เรียนจบ ม.3 มาเรียน เมื่อเรียนจบจะได้รับวุฒิ ปวช.