องค์กรครูค้าน สกสค.ทุ่ม 500 ล้านบาท สร้างศูนย์พัฒนาครู 4 ภาคเป็นโรงแรมหรู 5 ดาว หวั่นบริหารไม่ได้ ไม่รู้จุดคุ้มทุนอยุ่ที่ไหน แนะให้เช่าช่วงเวลา ETV วันละ 2-3 ชั่วโมงสื่อสารกับครู แทนการเปิด “คุรุชาแนล” เป็นทีวี 24 ชั่วโมง เพราะต้องใช้งบลงทุนสูง และครูไม่จำเป็นต้องดูทีวี 24 ชั่วโมง ติงครูควรสื่อสารกันเองไม่ต้องจ้างดารามาเป็นโฆษก สกสค. แต่ควรเก็บเงินไว้ดูแลครูที่เจ็บป่วยจะดีกว่า
จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ให้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ 24 ชั่วโมง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์สวัสดิการต่างๆ ให้แก่ครูทั่วประเทศในชื่อ “คุรุชาแนล” และการจัดสร้างศูนย์พัฒนาครู 4 ภูมิภาค เป็นลักษณะโรงแรมระดับ 5 ดาว มีห้องประชุมให้ครูจากทั่วประเทศได้มาจัดสัมมนาและมีที่พักอาศัยในตัว โดยเบื้องต้นจะจัดสร้างที่ จ.เชียงใหม่เป็นแห่งแรก ซึ่งเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่จะใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท รวมทั้งการว่าจ้างนายวทัญญู มุ่งหมาย ดารานักร้องมาทำหน้าที่โฆษก สกสค. ด้วยอัตราเงินเดือน 50,000 บาท/เดือน
นายมานะ สุดสงวน ที่ปรึกษาประธานคณะมนตรีครูแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การก่อสร้างโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาครู 4 ภูมิภาคนั้น น่าเป็นห่วงว่า สกสค.จะสามารถบริหารจัดการโรงแรมขนาดใหญ่ได้หรือไม่ รวมถึงไม่ทราบว่าจุดคุ้มทุนอยู่ที่ไหน ซึ่งข้าราชการครูยังมีภาระปัญหาที่ต้องแก้ไขในเรื่องสวัสดิการครูอยู่อีกมาก โดยเฉพาะครูในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังถูกทำร้ายบาดเจ็บ ล้มตายทุกวัน
“ผมมีความเห็นว่าควรจะประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดแต่ละแห่ง จัดทำห้องพักสำหรับรักษาพยาบาลข้าราชการครูในโรงพยาบาลประจำจังหวัด แห่งละ 2 ห้อง เพื่อให้บริการกับครูที่เจ็บป่วย และต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งระหว่างที่ไม่มีครูเข้าพักรักษาตัวก็ให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้ เนื่องจากทุกวันนี้ข้าราชการครูยังมีปัญหาเรื่องการรักษาพยาบาล หากเทียบเรื่องนี้กับการสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาวแล้ว จะพบว่าเรื่องนี้เร่งด่วนกว่ามาก นอกจากนี้ สกสค.ควรเร่งเรื่องการตั้งกองทุนพัฒนาชีวิตครูเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานวิชาชีพให้ดีขึ้นอย่างแท้จริงโดยเร็ว”ที่ปรึกษาประธานคณะมนตรีครูแห่งชาติกล่าว
ส่วนการเปิดฟรีทีวี “คุรุชาแนล” 24 ชั่วโมง นายมานะกล่าวว่า การลงทุนเปิดสถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงต้องใช้งบประมาณในการลงทุนจำนวนมากโดยที่ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะครูไม่ต้องดูทีวีตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) อยู่แล้ว หากต้องการใช้สื่อทีวีสื่อสารกับเพื่อนครู ก็ควรใช้วิธีเช่าช่วงเวลาจาก ETV วันละ 2-3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว และประหยัดงบฯ กว่าเยอะ นอกจากนี้คงหาคนมาซื้อโฆษณาได้ยากด้วย
สำหรับการว่าจ้างนายวทัญญูมาทำหน้าที่โฆษก สกสค. นายมานะกล่าวว่า ควรให้ครูสื่อสารกับครูด้วยกันเองจะเหมาะสมกว่า ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาช่วยสื่อสาร ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีประธานเครือข่ายครูกระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรจะใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์สำหรับการสื่อสารกับครู และเก็บเงินที่นำไปจ้างดาราไปช่วยครูที่ได้รับบาดเจ็บ ล้มตาย หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจะเหมาะสมกว่า
“จุรินทร์”มอบปลัด ศธ.ดู สกสค.ทุกเรื่อง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงปัญหาการร้องเรียนโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.)โครงการ 5 ซึ่งให้สมาชิก ช.พ.ค.ที่มีอายุสมาชิกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถกู้เงินได้ในวงเงินสูงสุดไม่เกินคนละ 600,000 บาท โดยบังคับให้ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิต เพื่อประกันสินเชื่อกับบริษัทประกันว่า ขณะนี้ได้มอบให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) ว่าการดำเนินงานของ ช.พ.ค. มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งตนกำลังรอคำตอบในประเด็นที่บังคับให้ครูที่กู้เงิน ช.พ.ค. ต้องทำประกันชีวิต ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน หากผลออกมาว่าจำเป็น ก็ต้องพิจารณาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการเปิดประมูลสำหรับบริษัทเอกชนที่จะมารับทำประกันชีวิต เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันถูกที่สุด ถ้าผลการประมูลออกมาว่าเบี้ยประกันถูกกว่า ครูก็จะได้รับประโยชน์ จ่ายค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่า เว้นแต่ประมูลแล้วไม่ได้ถูกกว่า จะได้มีคำตอบแก่ครู ว่าเบี้ยประกันนั้นมีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งระหว่างนี้ให้เวลาไปประชุมกับคณะกรรมการ สกสค. ว่าความเหมาะสมอยู่ตรงจุดไหน เมื่อได้คำตอบแล้วจะได้หาข้อสรุปกันอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามว่าการที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องความร่ำรวยผิดปกติของผู้บริหาร สกสค. และอื่นๆ นั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ส่วนขององค์การค้าฯ ได้มีการร้องเรียนเข้ามา และได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยมี นายสรรค์ วรอินทร์ เป็นประธาน คาดว่าจะรู้ผลภายใน 2 สัปดาห์ ว่าเกี่ยวข้องถึงใครบ้าง ถ้าผลสอบขององค์การค้าฯ เกี่ยวโยงถึงใครก็หมายถึงคนภายใน สกสค.ด้วย เพราะองค์การค้าฯ ก็อยู่ภายใต้ สกสค.ซึ่งการที่ ป.ป.ช.รับประเด็นต่างๆ มาตรวจสอบ ถือว่าเป็นเรื่องดี ช่วยลดขั้นตอน และเป็นประโยชน์ในการสอบสวนด้วย
“ผมอยากเห็นการสะสางทุจริตให้เสร็จสิ้นไป เช่นเรื่องขององค์การค้าฯ ที่ก่อนหน้านี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมการชุดแรก แต่คณะกรรมการไม่ได้ดำเนินการ ทำให้เสียเวลาเป็นเดือนๆ สุดท้ายต้องยกเลิกคณะกรรมการชุดนั้นไป แล้วตั้งชุดใหม่มาสอบสวนแทน " รมว.ศธ.กล่าว
เมื่อถามถึงโครงการสร้างโรงแรม 5 ดาว และการทำทีวีคุรุชาแนลตามมติที่ประชุม สกสค. นายจุรินทร์ กล่าวว่า ต้องดูว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สกสค.หรือไม่ เพราะหัวใจของ สกสค.น่าจะเน้นเรื่องของสวัสดิการครู เรื่องนี้ สกสค. ต้องกลับไปวิเคราะห์ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน โดยใช้ดุลยพินิจให้ถี่ถ้วนในการนำเงินมาสร้างโรงแรมและทีวีคุรุชาแนล อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ปลัด ศธ. ต้องเข้าไปดูแล
จากมติที่ประชุมคณะกรรมการกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ให้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ 24 ชั่วโมง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์สวัสดิการต่างๆ ให้แก่ครูทั่วประเทศในชื่อ “คุรุชาแนล” และการจัดสร้างศูนย์พัฒนาครู 4 ภูมิภาค เป็นลักษณะโรงแรมระดับ 5 ดาว มีห้องประชุมให้ครูจากทั่วประเทศได้มาจัดสัมมนาและมีที่พักอาศัยในตัว โดยเบื้องต้นจะจัดสร้างที่ จ.เชียงใหม่เป็นแห่งแรก ซึ่งเฉพาะที่ จ.เชียงใหม่จะใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท รวมทั้งการว่าจ้างนายวทัญญู มุ่งหมาย ดารานักร้องมาทำหน้าที่โฆษก สกสค. ด้วยอัตราเงินเดือน 50,000 บาท/เดือน
นายมานะ สุดสงวน ที่ปรึกษาประธานคณะมนตรีครูแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การก่อสร้างโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาครู 4 ภูมิภาคนั้น น่าเป็นห่วงว่า สกสค.จะสามารถบริหารจัดการโรงแรมขนาดใหญ่ได้หรือไม่ รวมถึงไม่ทราบว่าจุดคุ้มทุนอยู่ที่ไหน ซึ่งข้าราชการครูยังมีภาระปัญหาที่ต้องแก้ไขในเรื่องสวัสดิการครูอยู่อีกมาก โดยเฉพาะครูในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังถูกทำร้ายบาดเจ็บ ล้มตายทุกวัน
“ผมมีความเห็นว่าควรจะประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดแต่ละแห่ง จัดทำห้องพักสำหรับรักษาพยาบาลข้าราชการครูในโรงพยาบาลประจำจังหวัด แห่งละ 2 ห้อง เพื่อให้บริการกับครูที่เจ็บป่วย และต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งระหว่างที่ไม่มีครูเข้าพักรักษาตัวก็ให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้ เนื่องจากทุกวันนี้ข้าราชการครูยังมีปัญหาเรื่องการรักษาพยาบาล หากเทียบเรื่องนี้กับการสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาวแล้ว จะพบว่าเรื่องนี้เร่งด่วนกว่ามาก นอกจากนี้ สกสค.ควรเร่งเรื่องการตั้งกองทุนพัฒนาชีวิตครูเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานวิชาชีพให้ดีขึ้นอย่างแท้จริงโดยเร็ว”ที่ปรึกษาประธานคณะมนตรีครูแห่งชาติกล่าว
ส่วนการเปิดฟรีทีวี “คุรุชาแนล” 24 ชั่วโมง นายมานะกล่าวว่า การลงทุนเปิดสถานีโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงต้องใช้งบประมาณในการลงทุนจำนวนมากโดยที่ไม่มีความจำเป็นเลย เพราะครูไม่ต้องดูทีวีตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) อยู่แล้ว หากต้องการใช้สื่อทีวีสื่อสารกับเพื่อนครู ก็ควรใช้วิธีเช่าช่วงเวลาจาก ETV วันละ 2-3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว และประหยัดงบฯ กว่าเยอะ นอกจากนี้คงหาคนมาซื้อโฆษณาได้ยากด้วย
สำหรับการว่าจ้างนายวทัญญูมาทำหน้าที่โฆษก สกสค. นายมานะกล่าวว่า ควรให้ครูสื่อสารกับครูด้วยกันเองจะเหมาะสมกว่า ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาช่วยสื่อสาร ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีประธานเครือข่ายครูกระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรจะใช้ช่องทางนี้ให้เป็นประโยชน์สำหรับการสื่อสารกับครู และเก็บเงินที่นำไปจ้างดาราไปช่วยครูที่ได้รับบาดเจ็บ ล้มตาย หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจะเหมาะสมกว่า
“จุรินทร์”มอบปลัด ศธ.ดู สกสค.ทุกเรื่อง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงปัญหาการร้องเรียนโครงการสวัสดิการเงินกู้กองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.)โครงการ 5 ซึ่งให้สมาชิก ช.พ.ค.ที่มีอายุสมาชิกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถกู้เงินได้ในวงเงินสูงสุดไม่เกินคนละ 600,000 บาท โดยบังคับให้ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิต เพื่อประกันสินเชื่อกับบริษัทประกันว่า ขณะนี้ได้มอบให้ นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) ว่าการดำเนินงานของ ช.พ.ค. มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งตนกำลังรอคำตอบในประเด็นที่บังคับให้ครูที่กู้เงิน ช.พ.ค. ต้องทำประกันชีวิต ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน หากผลออกมาว่าจำเป็น ก็ต้องพิจารณาว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการเปิดประมูลสำหรับบริษัทเอกชนที่จะมารับทำประกันชีวิต เพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันถูกที่สุด ถ้าผลการประมูลออกมาว่าเบี้ยประกันถูกกว่า ครูก็จะได้รับประโยชน์ จ่ายค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่า เว้นแต่ประมูลแล้วไม่ได้ถูกกว่า จะได้มีคำตอบแก่ครู ว่าเบี้ยประกันนั้นมีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งระหว่างนี้ให้เวลาไปประชุมกับคณะกรรมการ สกสค. ว่าความเหมาะสมอยู่ตรงจุดไหน เมื่อได้คำตอบแล้วจะได้หาข้อสรุปกันอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามว่าการที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องความร่ำรวยผิดปกติของผู้บริหาร สกสค. และอื่นๆ นั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ส่วนขององค์การค้าฯ ได้มีการร้องเรียนเข้ามา และได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยมี นายสรรค์ วรอินทร์ เป็นประธาน คาดว่าจะรู้ผลภายใน 2 สัปดาห์ ว่าเกี่ยวข้องถึงใครบ้าง ถ้าผลสอบขององค์การค้าฯ เกี่ยวโยงถึงใครก็หมายถึงคนภายใน สกสค.ด้วย เพราะองค์การค้าฯ ก็อยู่ภายใต้ สกสค.ซึ่งการที่ ป.ป.ช.รับประเด็นต่างๆ มาตรวจสอบ ถือว่าเป็นเรื่องดี ช่วยลดขั้นตอน และเป็นประโยชน์ในการสอบสวนด้วย
“ผมอยากเห็นการสะสางทุจริตให้เสร็จสิ้นไป เช่นเรื่องขององค์การค้าฯ ที่ก่อนหน้านี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมการชุดแรก แต่คณะกรรมการไม่ได้ดำเนินการ ทำให้เสียเวลาเป็นเดือนๆ สุดท้ายต้องยกเลิกคณะกรรมการชุดนั้นไป แล้วตั้งชุดใหม่มาสอบสวนแทน " รมว.ศธ.กล่าว
เมื่อถามถึงโครงการสร้างโรงแรม 5 ดาว และการทำทีวีคุรุชาแนลตามมติที่ประชุม สกสค. นายจุรินทร์ กล่าวว่า ต้องดูว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ สกสค.หรือไม่ เพราะหัวใจของ สกสค.น่าจะเน้นเรื่องของสวัสดิการครู เรื่องนี้ สกสค. ต้องกลับไปวิเคราะห์ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน โดยใช้ดุลยพินิจให้ถี่ถ้วนในการนำเงินมาสร้างโรงแรมและทีวีคุรุชาแนล อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ปลัด ศธ. ต้องเข้าไปดูแล