ผลสำรวจล่าสุด พบวัยรุ่นไทย 25% มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง เหตุฟังไอพอด-เอ็มพี3 ดัง ต่อเนื่อง เตือนเริ่มได้ยินเสียงวิ้งๆ การทรงตัวผิดปกติ ตื่นนอนแล้วมึนงง ติดต่อกัน 2-3 วัน ไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์
ศ.พญ.สุจิตรา ประสานสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน การพูด และการทรงตัว กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นนิยมฟังเพลงโดยใช้หูฟังจากเครื่องเอ็มพี3 หรือ ไอพอด รวมไปถึงการใช้หูฟังของเครื่องโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบธรรมดา และ บลูทูธ ส่งผลให้การได้ยินของเด็กไทยขณะนี้มีปัญหาค่อนข้างมาก การสำรวจโดยการสุ่มตรวจการได้ยินของนักเรียนวัยรุ่นในเขต กทม.จำนวนประมาณ 400 คน โดยกรมควบคุมมลพิษ ล่าสุด พบว่า 25% มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง สังเกตได้ง่ายๆ ว่า เด็กและวัยรุ่นปัจจุบันจะพูดเสียงดังมาก เพราะเคยชินกับการได้ยินเสียงที่ดังๆ อยู่ตลอดเวลา
ศ.พญ.สุจิตรา กล่าวว่า การใช้หูฟังประเภทนี้นอกจากจะส่งผลต่อภาวะการได้ยินแล้ว สมองก็มีโอกาสที่จะได้รับรังสีคลื่นวิทยุด้วย เด็กบางคนใส่หูฟังทั้งวัน บางคนฟังจนกระทั่งหลับไปพร้อมกับหูฟัง เคยมีการทดลองว่า หากใช้หูฟังในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนดังมากๆ เช่น ในรถไฟฟ้า หรือ ศูนย์การค้า ต้องเปิดหูฟังให้เสียงดังจนเกือบสุดจึงจะได้ยินชัด ซึ่งการเปิดหูฟังในระดับดังกล่าว ทำให้หูได้รับเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล ขณะที่โดยปกติหูคนเราสามารถรับเสียงได้ประมาณ 80 เดซิเบลเท่านั้น
“การได้รับเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล โดยทฤษฎีแล้ว มีรายงานว่า สามารถที่จะทำลายประสาทการรับเสียง หรืออาจจะกระทบแก้วหู จนทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ โดยอาการเริ่มต้นของผู้ที่ประสาทหูผิดปกติ มีหลายอาการแต่ที่พบมาก คือ การได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือถอดหูฟังออกแล้ว ทั้งนี้ เพราะปลายประสาทเกิดการกระทบกระเทือนจากเสียงที่มากระตุ้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการทรงตัวผิดปกติ เช่น ตื่นนอนแล้วมีอาการมึนงง ทรงตัวไม่ได้ ฯลฯ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมการฟังที่เหมาะสม ในการฟังเพลงหรือคุยโทรศัพท์ผ่านหูฟังเหล่านี้ มากที่สุดไม่ควรฟังติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง” ศ.พญ.สุจิตรา กล่าว
ศ.พญ.สุจิตรา ประสานสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน การพูด และการทรงตัว กล่าวว่า ปัจจุบันวัยรุ่นนิยมฟังเพลงโดยใช้หูฟังจากเครื่องเอ็มพี3 หรือ ไอพอด รวมไปถึงการใช้หูฟังของเครื่องโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบธรรมดา และ บลูทูธ ส่งผลให้การได้ยินของเด็กไทยขณะนี้มีปัญหาค่อนข้างมาก การสำรวจโดยการสุ่มตรวจการได้ยินของนักเรียนวัยรุ่นในเขต กทม.จำนวนประมาณ 400 คน โดยกรมควบคุมมลพิษ ล่าสุด พบว่า 25% มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง สังเกตได้ง่ายๆ ว่า เด็กและวัยรุ่นปัจจุบันจะพูดเสียงดังมาก เพราะเคยชินกับการได้ยินเสียงที่ดังๆ อยู่ตลอดเวลา
ศ.พญ.สุจิตรา กล่าวว่า การใช้หูฟังประเภทนี้นอกจากจะส่งผลต่อภาวะการได้ยินแล้ว สมองก็มีโอกาสที่จะได้รับรังสีคลื่นวิทยุด้วย เด็กบางคนใส่หูฟังทั้งวัน บางคนฟังจนกระทั่งหลับไปพร้อมกับหูฟัง เคยมีการทดลองว่า หากใช้หูฟังในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนดังมากๆ เช่น ในรถไฟฟ้า หรือ ศูนย์การค้า ต้องเปิดหูฟังให้เสียงดังจนเกือบสุดจึงจะได้ยินชัด ซึ่งการเปิดหูฟังในระดับดังกล่าว ทำให้หูได้รับเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล ขณะที่โดยปกติหูคนเราสามารถรับเสียงได้ประมาณ 80 เดซิเบลเท่านั้น
“การได้รับเสียงถึงระดับ 105 เดซิเบล โดยทฤษฎีแล้ว มีรายงานว่า สามารถที่จะทำลายประสาทการรับเสียง หรืออาจจะกระทบแก้วหู จนทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ โดยอาการเริ่มต้นของผู้ที่ประสาทหูผิดปกติ มีหลายอาการแต่ที่พบมาก คือ การได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือถอดหูฟังออกแล้ว ทั้งนี้ เพราะปลายประสาทเกิดการกระทบกระเทือนจากเสียงที่มากระตุ้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการทรงตัวผิดปกติ เช่น ตื่นนอนแล้วมีอาการมึนงง ทรงตัวไม่ได้ ฯลฯ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมการฟังที่เหมาะสม ในการฟังเพลงหรือคุยโทรศัพท์ผ่านหูฟังเหล่านี้ มากที่สุดไม่ควรฟังติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง” ศ.พญ.สุจิตรา กล่าว