กทม.เตรียมปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ผู้ค้าแผงลอยเล็งเนรมิตซุ้มให้ผู้ค้านำร่อง 4 เขตธุรกิจ พระนคร ปทุมวัน วัฒนา ราชเทวี พร้อมดึงนายทุนรายใหญ่ วีซ่า-เอาท์ดอร์ สนับสนุนงบ แต่แลกเปลี่ยนให้เนื้อโฆษณา
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงการดำเนินนโยบายเพิ่มพื้นที่ค้าขายในจุดผ่อนผัน โดยการขยายแผงค้าให้มีความกว้าง ยาว เพิ่มขึ้น หลังจากที่ได้ให้สำนักเทศกิจลงพื้นที่สำรวจแล้ว ว่า กทม.ได้นำเรื่องดังกล่าวหารือกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเบื้องต้นนั้นทาง บช.น.ไม่เห็นด้วยในนโยบายดังกล่าว เพราะมีข้อกังวลในหลายประเด็น ซึ่งตน และทางสำนักเทศกิจ จึงได้หาความร่วมมือจากเอกชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ผู้ค้าแผงลอย ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น เบื้องต้นนั้น มี บริษัท เอาท์ดอร์ อินโนเวชั่น จำกัด และ บริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุนการปรับปรุงภูมิทัศน์ดังกล่าว โดยจะเข้ามาสนับสนุนเรื่องงบประมาณที่จะนำมาดำเนินการสร้างซุ้มของแผงค้าให้เป็นลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เป็นซุ้มกึ่งถาวร สามารถถอดประกอบได้ และมีความแข็งแรง ทนทาน ซึ่งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ตนได้จะหารือกับทางผู้บริหารของสำนักเทศกิจ และบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อหาข้อสรุปในโครงการอีกครั้งหนึ่ง
นายธีระชน กล่าวอีกว่า เบื้องต้นหลังจากที่ได้ข้อสรุปกทม.จะใช้พื้นที่ริมถนนสายสำคัญใน 4 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตปทุมวัน เขตวัฒนา และ เขตราชเทวี นำร่องในการพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งมั่นใจว่า หาก กทม.สามารถดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบ และไม่กระทบต่อการสัญจรของประชาชน เชื่อว่า ทาง บช.น.จะพิจารณาขยายพื้นที่ค้าขายในจุดผ่อนผันอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว กทม.ไม่ต้องใช้งบประมาณของกทม. เพราะบริษัทเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนนั้นยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณในการสร้างซุ้มให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยน คือ ขอพื้นที่ด้านหลังซุ้มเป็นพื้นที่โฆษณา ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นตนจะพิจารณาอีกครั้งหากโครงการประสบความสำเร็จ
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงการดำเนินนโยบายเพิ่มพื้นที่ค้าขายในจุดผ่อนผัน โดยการขยายแผงค้าให้มีความกว้าง ยาว เพิ่มขึ้น หลังจากที่ได้ให้สำนักเทศกิจลงพื้นที่สำรวจแล้ว ว่า กทม.ได้นำเรื่องดังกล่าวหารือกับทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเบื้องต้นนั้นทาง บช.น.ไม่เห็นด้วยในนโยบายดังกล่าว เพราะมีข้อกังวลในหลายประเด็น ซึ่งตน และทางสำนักเทศกิจ จึงได้หาความร่วมมือจากเอกชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ผู้ค้าแผงลอย ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น เบื้องต้นนั้น มี บริษัท เอาท์ดอร์ อินโนเวชั่น จำกัด และ บริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมที่จะเข้ามาสนับสนุนการปรับปรุงภูมิทัศน์ดังกล่าว โดยจะเข้ามาสนับสนุนเรื่องงบประมาณที่จะนำมาดำเนินการสร้างซุ้มของแผงค้าให้เป็นลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เป็นซุ้มกึ่งถาวร สามารถถอดประกอบได้ และมีความแข็งแรง ทนทาน ซึ่งในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ ตนได้จะหารือกับทางผู้บริหารของสำนักเทศกิจ และบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อหาข้อสรุปในโครงการอีกครั้งหนึ่ง
นายธีระชน กล่าวอีกว่า เบื้องต้นหลังจากที่ได้ข้อสรุปกทม.จะใช้พื้นที่ริมถนนสายสำคัญใน 4 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตปทุมวัน เขตวัฒนา และ เขตราชเทวี นำร่องในการพัฒนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งมั่นใจว่า หาก กทม.สามารถดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบ และไม่กระทบต่อการสัญจรของประชาชน เชื่อว่า ทาง บช.น.จะพิจารณาขยายพื้นที่ค้าขายในจุดผ่อนผันอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว กทม.ไม่ต้องใช้งบประมาณของกทม. เพราะบริษัทเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนนั้นยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณในการสร้างซุ้มให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยน คือ ขอพื้นที่ด้านหลังซุ้มเป็นพื้นที่โฆษณา ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นตนจะพิจารณาอีกครั้งหากโครงการประสบความสำเร็จ