“ธีระ” ระดมฟรีทีวีหารือหนุนจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ดันผลิตรายการเด็กมากขึ้น จูงใจผู้ประกอบการลดภาษีผู้สร้างภาพยนตร์-ผู้ผลิตรายการสร้างสรรค์ เล็งหาเงินเข้ากองทุนเก็บภาษี 1% จากร้านเกม ร้านคาราโอเกะ สื่อต่างประเทศ พร้อมใช้เงิน กทช.500 ล้าน ด้านคนทีวีค้านกฎกระทรวงตั้งเงื่อนเวลาฉายหนังในจอตู้ หวั่นทำงานลำบาก
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่กระทรวงวัฒนธรรม นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังการประชุมแนวทางการดำเนินงานด้านสื่อโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติว่า ตนได้เชิญผู้แทนโทรทัศน์ และผู้ผลิตรายการต่างๆ ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทีวีไทย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด บริษัท เจเอสแอล โกบอล มีเดีย จำกัด บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กันตนา จำกัด มาหารือถึงแนวทางการเสริมสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งผู้ประกอบการ เห็นว่า ทางภาครัฐควรสนับสนุนเงินทุนในการสร้างสื่อที่ดี โดยเฉพาะรายการเด็ก เนื่องจากรายการดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสินค้าในการลงโฆษณา ดังนั้น ตนจะเร่งผลักดันกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด โดยอาจจะตั้งเป็นองค์การมหาชน หรือ ออกเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้มีกฏหมายรองรับและอยู่ได้อย่างยั่งยืน
นายธีระ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเงินกองทุนได้หารือกับ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แล้ว จะดึงเงินจากกองทุนของ กทช.จำนวน 500 ล้านบาท มาใช้ ในขณะเดียวกัน จะต้องหารือกับคณะอนุกรรมการที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนอีกครั้ง ว่า จะใช้แหล่งทุนที่ใด เช่น อาจจะเก็บภาษีจากร้านคาราโอเกะ ร้านเกม สื่อต่างประเทศ 1% เข้ากองทุนดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ ตนจะนำเสนอเกี่ยวกับการลดภาษีให้แก่ ผู้ประกอบการภาพยนตร์ หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ เพราะยังติดในข้อกฏหมายของกรมสรรพากรที่ยังไม่เปิดช่องให้แก่เรื่องนี้ ซึ่งน่าจะทำได้ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับเรื่องมาตรการภาษี
“ในการประชุมยังผู้แทนโทรทัศน์ช่องต่างๆ ได้มีการร้องเรียน เกี่ยวกับเงื่อนไขเวลาของการนำภาพยนตร์ที่ฉายตามโรงมาฉายในโทรทัศน์ เนื่องจากจะมีการกำหนดเวลามาตรฐานที่ตายตัว ผมจึงได้รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา เนื่องจากการกำหนดเวลาฉายภาพยนตร์ในทีวี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเรื่องนี้”รมว.วัฒนธรรม กล่าว
ด้าน นายสุบัณฑิต สุวรรณนพ รองผู้จัดการฝ่ายรายการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กล่าวว่า ตนคัดค้านข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 ที่มีระบุถึงการตั้งเงื่อนไขเวลาการฉายภาพยนตร์ในสื่อโทรทัศน์ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม และเป็นไปตามเรตติงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเห็นว่าไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากมีการประกาศใช้จริงก็จะไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อหลายช่องทางที่นำภาพยนตร์มาเผยแพร่ เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ตนและผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์อื่นๆ เห็นตรงกันว่า เงื่อนไขเวลาฉายไม่ได้เป็นอุปสรรคและไม่ใช่ทางออกที่ดี อีกทั้งข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการประสบกับภาวะยากลำบากในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการที่พิจารณาเรื่องนี้ว่าจะกำหนดเวลาฉายจะมีออกมาเมื่อใดตนจึงอยากให้ รมว.วัฒนธรรม เข้าไปพิจารณาในเรื่องดังกล่าวด้วย
“สำหรับการตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ของ วธ.เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการรายการรายการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกองทุนดังกล่าวแล้วจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่หายไปกับรัฐบาล และตนอยากขอให้ภาครัฐอย่าได้ตีกรอบสื่อบนดินมากนัก เพราะหากตีกรอบมากจนเกินไปสื่อดีๆ ก็จะอยู่ไม่ได้จนสื่อใต้ดินเข้ามาแทนที่” นายสุบัณฑิต กล่าว
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่กระทรวงวัฒนธรรม นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังการประชุมแนวทางการดำเนินงานด้านสื่อโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติว่า ตนได้เชิญผู้แทนโทรทัศน์ และผู้ผลิตรายการต่างๆ ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทีวีไทย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด บริษัท เจเอสแอล โกบอล มีเดีย จำกัด บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กันตนา จำกัด มาหารือถึงแนวทางการเสริมสื่อสร้างสรรค์ ซึ่งผู้ประกอบการ เห็นว่า ทางภาครัฐควรสนับสนุนเงินทุนในการสร้างสื่อที่ดี โดยเฉพาะรายการเด็ก เนื่องจากรายการดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสินค้าในการลงโฆษณา ดังนั้น ตนจะเร่งผลักดันกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด โดยอาจจะตั้งเป็นองค์การมหาชน หรือ ออกเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้มีกฏหมายรองรับและอยู่ได้อย่างยั่งยืน
นายธีระ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเงินกองทุนได้หารือกับ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แล้ว จะดึงเงินจากกองทุนของ กทช.จำนวน 500 ล้านบาท มาใช้ ในขณะเดียวกัน จะต้องหารือกับคณะอนุกรรมการที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนอีกครั้ง ว่า จะใช้แหล่งทุนที่ใด เช่น อาจจะเก็บภาษีจากร้านคาราโอเกะ ร้านเกม สื่อต่างประเทศ 1% เข้ากองทุนดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ ตนจะนำเสนอเกี่ยวกับการลดภาษีให้แก่ ผู้ประกอบการภาพยนตร์ หรือภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 3 มิ.ย.นี้ เพราะยังติดในข้อกฏหมายของกรมสรรพากรที่ยังไม่เปิดช่องให้แก่เรื่องนี้ ซึ่งน่าจะทำได้ โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับเรื่องมาตรการภาษี
“ในการประชุมยังผู้แทนโทรทัศน์ช่องต่างๆ ได้มีการร้องเรียน เกี่ยวกับเงื่อนไขเวลาของการนำภาพยนตร์ที่ฉายตามโรงมาฉายในโทรทัศน์ เนื่องจากจะมีการกำหนดเวลามาตรฐานที่ตายตัว ผมจึงได้รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา เนื่องจากการกำหนดเวลาฉายภาพยนตร์ในทีวี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเรื่องนี้”รมว.วัฒนธรรม กล่าว
ด้าน นายสุบัณฑิต สุวรรณนพ รองผู้จัดการฝ่ายรายการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 กล่าวว่า ตนคัดค้านข้อกฎหมายใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551 ที่มีระบุถึงการตั้งเงื่อนไขเวลาการฉายภาพยนตร์ในสื่อโทรทัศน์ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม และเป็นไปตามเรตติงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะเห็นว่าไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากมีการประกาศใช้จริงก็จะไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อหลายช่องทางที่นำภาพยนตร์มาเผยแพร่ เช่น อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ตนและผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์อื่นๆ เห็นตรงกันว่า เงื่อนไขเวลาฉายไม่ได้เป็นอุปสรรคและไม่ใช่ทางออกที่ดี อีกทั้งข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการประสบกับภาวะยากลำบากในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้ ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการที่พิจารณาเรื่องนี้ว่าจะกำหนดเวลาฉายจะมีออกมาเมื่อใดตนจึงอยากให้ รมว.วัฒนธรรม เข้าไปพิจารณาในเรื่องดังกล่าวด้วย
“สำหรับการตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ของ วธ.เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการรายการรายการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกองทุนดังกล่าวแล้วจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่หายไปกับรัฐบาล และตนอยากขอให้ภาครัฐอย่าได้ตีกรอบสื่อบนดินมากนัก เพราะหากตีกรอบมากจนเกินไปสื่อดีๆ ก็จะอยู่ไม่ได้จนสื่อใต้ดินเข้ามาแทนที่” นายสุบัณฑิต กล่าว