โรคชิคุนกุนยา(Chikungunya) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ฟังดูเหมือนเป็นโรคใหม่ ด้วยชื่อเรียกที่แปลกหู แต่แท้จริงแล้วเป็นโรคเก่าที่กลับมาระบาดใหม่ และมีชื่อเรียกที่ชาวบ้านคุ้นเคยว่า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคไข้ญี่ปุ่น โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนกับโรคไข้เลือดออก แต่เป็นเชื้อไวรัสคนละตัวกัน ซึ่งขณะนี้เกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มักมีการระบาดมากสถานการณ์จึงถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
สำหรับสถานการณ์ล่าสุด สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่ม.ค.-เม.ย.2552 ได้รับรายงานพบผู้ป่วยแล้วกว่า 15,244 ราย ใน 15 จังหวัด แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เนื่องจากยังมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่อย่างต่อเนื่องใน 30 อำเภอ 6 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และ พัทลุง
** ยุงลายสวนวายร้ายพาหะนำโรค
ดร.นพ.สุวิทย์ ธรรมเปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 สงขลา บอกถึงที่มาที่ไปของโรคนี้ว่า โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย มีรายงานพบการระบาดครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2501 ที่กรุงเทพฯ จากนั้นประมาณ 10 ปี ก็หายไปและพบมีการระบาดอีกในปี 2519 โดยมีการพบการระบาดเป็นช่วงๆ ในปี 2531 ปี 2534 ปี 2536 ปี 2538 และล่าสุด เมื่อเดือน ก.ย.2551 ก็เริ่มมีการระบาดที่ จ.นราธิวาส และปัตตานี ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดขึ้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่ควบคุมโรคทันที พร้อมทั้งเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ
สำหรับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้เป็นสายพันธุ์อัฟริกัน ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ในระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก แล้วไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ แต่ในช่วงที่มีการระบาดแรกๆ แพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยอาการของโรคได้ อาจมีอาการข้างเคียงคล้ายกัน เช่น ไข้เลือดออก หัดเยอรมัน อีกทั้งยังไม่เป็นที่รู้จักและเข้าใจ และยังควบคุมได้ยาก แต่ขณะนี้ควบคุมได้ดีขึ้นโดยกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ทำความสะอาดบ้าน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะในสวน เช่น บางพื้นที่ที่มีการปลูกสับปะรดก็จะต้องตรวจดูบริเวณกาบใบ หรือในสวนยางพาราที่อาจมีแอ่งน้ำขัง เป็นต้น
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างยุงลายสวนกับยุงลายบ้านว่า ยุงลายสวนแตกต่างจากยุงลายบ้าน โดยยุงลายสวนจะแอบซ่อนตัวอยู่ในสวนยางซึ่งในภาคใต้แต่ละบ้านจะมีสวนยางอยู่ใกล้ๆ บ้านอยู่แล้ว แถมยังออกหากินไกลกว่ายุงบ้าน ประกอบกับภาคใต้ที่มีฝนตกตลอด เรียกว่า ฝน 8 แดด 4 ทำให้เกิดน้ำขังได้ง่าย ทำให้ดูแลควบคุมได้ยาก ไม่สามารถกำจัดได้ครบถ้วน 100% เหมือนยุงลายบ้านที่มีบริเวณพื้นที่จำกัดมากกว่า
นพ.ไพจิตร์ บอกอีกว่า การป้องกันสำหรับการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ นั้น ขณะนี้มีการเฝ้าระวังตำรวจ ทหาร หรือนักเรียน ที่อาจมีการเดินทางไปมากลับบ้าน ซึ่ง สธ.ได้ทำหนังสือกำชับไปยังสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ รวมถึงกองทัพให้ระมัดระวังดูแลโรคดังกล่าว แม้ว่าในเชิงวิชาการโอกาสความเป็นไปได้มีไม่มากที่จะมีการระบาดในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่น ภาคกลาง หากมีการทำสวนจะมีการขุดร่องน้ำและนำมีการไหลเวียนอย่างชัดเจน
** ปวดข้อสุดทรมาน...
สำหรับอาการของโรคนี้ นพ.ไพจิตร์ อธิบายว่า อาการของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกจะมีไข้เหมือนกัน แต่โรคชิคุนกุนยาจะมีอาการไข้ขึ้นสูงร่วมกับมีผื่นแดง ปวดบวมตามข้อ ส่วนใหญ่แล้วถ้าในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ โดยอาการปวดข้อจะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ หรือไม่สามารถเดินได้ แต่จะหายได้เองภายใน 1-12 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา ขณะที่บางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก หรือเสียชีวิต ทั้งนี้สามารถพบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกที่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
ฟังดูแล้วโรคนี้อาจไม่ค่อยรุนแรงเท่ากับโรคไข้เลือดออก เพราะไม่ทำให้ถึงกับเสียชีวิต แต่หากใครเป็นโรคนี้ถือว่า ต้องทรมานสุดๆ เพราะอาการปวดข้อโดยเฉพาะบางรายมีอาการปวดรุนแรง หรือปวดข้อเรื้อรังเป็นปีๆ ไม่หาย ที่สำคัญกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต เพราะไม่สามารถไปทำงานได้
ยุวเรศ ศรีช่วย วัย 28 ปี ชาวบ้าน ต.คู อ.จะนะ จ.สงขลา ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกคนในครอบครัวเป็นแค่คนเดียวก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เป็นกันทั้งบ้าน 4 คน โดยคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็เป็นโรคนี้ ซึ่งจะมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย พอตอนกลางคืนจะรู้สึกหนาวและปวดข้อรุนแรงแบบเจ็บเข้าไปในกระดูก 2-3 วัน ต่อมาจึงเริ่มเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขามือและมีอาการคัน ซึ่งพอรู้ตัวว่าเป็นก็รีบไปหาหมอซึ่งหมอก็ให้ยาลดไข้ รวมถึงยาแก้ปวด ซึ่งเป็นโรคนี้กว่า 1 สัปดาห์แล้วยังไม่หาย ขณะที่ลูกๆ ตอนนี้หายป่วยทั้งหมดแล้ว
“ที่สำคัญ นอกจากจะเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังทำให้ไปทำงานกรีดยางไม่ได้ ครอบครัวสูญเสียรายได้ ถ้าเป็นกันทุกคนก็จะยิ่งลำบากมากขึ้น”ยุวเรศบอกด้วยสีหน้ากังวลในขณะที่ตามแขนขายังมีร่องรอยของผื่นแดง
ส่วนสาเหตุที่ช่วงนี้พบผู้ป่วยจำนวนมากนั้น นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค บอกว่า ช่วงนี้มีการพบผู้ป่วยมากขึ้นอาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งโรคนี้มีความน่าเป็นห่วงหลังจากพบว่า ในจำนวนผู้ที่เป็นโรคนี้ 20-30% จะมีอาการปวดข้อนานเป็นปีๆ ซึ่งทรมานมาก โดยขณะนี้ยังไม่มีทั้งวัคซีนและยามารักษา แพทย์ต้องให้การรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ เท่านั้น เช่น ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ แต่ห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น
** ภูมิปัญญาชาวบ้าน...ปูนขาวกันยุง
สำหรับวิธีการป้องกันที่สำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากการคว่ำจาน ขัน กะละมัง หม้อ คือ การปกป้องตัวเองจายุงร้ายโดยพยายามไม่ให้ยุงกัด ถ้านอนกลางวันก็ต้องนอนในมุง ถ้าต้องออกไปสวนตอนกลางวันก็ต้องทายากันยุงด้วย
โสภิตา ซุ้นสั่น อายุ 25 ปี อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่ม อสม.ต.นาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรัง ได้คิดค้นใช้ปูนขาวทากันยุง ซึ่งเดิมปูนขาวถือเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของต.นาโยงใต้อยู่แล้ว เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการนำปูนขาวมาใช้ในการป้องกันยุงและใช้แต้มบริเวณที่ยุงกัด โดยได้ทำการทดลองทาน้ำปูนขาวที่แขนแล้วเข้าไปในสวนยางเปรียบเทียบกับแขนข้างที่ไม่ได้ทา พบว่า ยุงไม่กัดแขนข้างที่ทาน้ำปูนขาวเลย ซึ่งมีการทดลองซ้ำหลายครั้งจนแน่ใจประสิทธิภาพ สำหรับสูตรที่คิดค้นขึ้นใหม่นั้น มีส่วนประกอบคือ ปูนขาว น้ำและตะไคร้หอม ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ชุมชนที่สนใจสามารถผลิตได้เองอย่างง่ายๆ ไม่ใส่วัตถุกันเสียทำให้ทำครั้งหนึ่งสามารถใช้ได้นาน 10 วัน
“หากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผู้นำชุมชุน ผู้ใหญ่บ้านให้ความสำคัญ ให้งบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การจัดซื้อเคมีภัณฑ์ การพ่นหมอกควันซึ่งเป็นความร่วมไม้ร่วมมือที่มาจากทุกส่วนของหมู่บ้าน ก็คงไม่สามารถทำให้หมู่บ้านของเราเป็นหมู่บ้านที่ปลอดจากยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของทั้งโรคไข้เลือดออก ต่อเนื่องกันถึง8 ปีได้ รวมถึงโรคใหม่อย่างโรคชิคุนกุนยาก็ไม่สามารถเข้ามาทำร้ายคนในชุมชนได้”โสภิตา ทิ้งท้าย
สำหรับสถานการณ์ล่าสุด สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่ม.ค.-เม.ย.2552 ได้รับรายงานพบผู้ป่วยแล้วกว่า 15,244 ราย ใน 15 จังหวัด แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เนื่องจากยังมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่อย่างต่อเนื่องใน 30 อำเภอ 6 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และ พัทลุง
** ยุงลายสวนวายร้ายพาหะนำโรค
ดร.นพ.สุวิทย์ ธรรมเปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 สงขลา บอกถึงที่มาที่ไปของโรคนี้ว่า โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย มีรายงานพบการระบาดครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2501 ที่กรุงเทพฯ จากนั้นประมาณ 10 ปี ก็หายไปและพบมีการระบาดอีกในปี 2519 โดยมีการพบการระบาดเป็นช่วงๆ ในปี 2531 ปี 2534 ปี 2536 ปี 2538 และล่าสุด เมื่อเดือน ก.ย.2551 ก็เริ่มมีการระบาดที่ จ.นราธิวาส และปัตตานี ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดขึ้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่ควบคุมโรคทันที พร้อมทั้งเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ
สำหรับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้เป็นสายพันธุ์อัฟริกัน ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ในระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก แล้วไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ แต่ในช่วงที่มีการระบาดแรกๆ แพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยอาการของโรคได้ อาจมีอาการข้างเคียงคล้ายกัน เช่น ไข้เลือดออก หัดเยอรมัน อีกทั้งยังไม่เป็นที่รู้จักและเข้าใจ และยังควบคุมได้ยาก แต่ขณะนี้ควบคุมได้ดีขึ้นโดยกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ทำความสะอาดบ้าน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะในสวน เช่น บางพื้นที่ที่มีการปลูกสับปะรดก็จะต้องตรวจดูบริเวณกาบใบ หรือในสวนยางพาราที่อาจมีแอ่งน้ำขัง เป็นต้น
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างยุงลายสวนกับยุงลายบ้านว่า ยุงลายสวนแตกต่างจากยุงลายบ้าน โดยยุงลายสวนจะแอบซ่อนตัวอยู่ในสวนยางซึ่งในภาคใต้แต่ละบ้านจะมีสวนยางอยู่ใกล้ๆ บ้านอยู่แล้ว แถมยังออกหากินไกลกว่ายุงบ้าน ประกอบกับภาคใต้ที่มีฝนตกตลอด เรียกว่า ฝน 8 แดด 4 ทำให้เกิดน้ำขังได้ง่าย ทำให้ดูแลควบคุมได้ยาก ไม่สามารถกำจัดได้ครบถ้วน 100% เหมือนยุงลายบ้านที่มีบริเวณพื้นที่จำกัดมากกว่า
นพ.ไพจิตร์ บอกอีกว่า การป้องกันสำหรับการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ นั้น ขณะนี้มีการเฝ้าระวังตำรวจ ทหาร หรือนักเรียน ที่อาจมีการเดินทางไปมากลับบ้าน ซึ่ง สธ.ได้ทำหนังสือกำชับไปยังสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ รวมถึงกองทัพให้ระมัดระวังดูแลโรคดังกล่าว แม้ว่าในเชิงวิชาการโอกาสความเป็นไปได้มีไม่มากที่จะมีการระบาดในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่น ภาคกลาง หากมีการทำสวนจะมีการขุดร่องน้ำและนำมีการไหลเวียนอย่างชัดเจน
** ปวดข้อสุดทรมาน...
สำหรับอาการของโรคนี้ นพ.ไพจิตร์ อธิบายว่า อาการของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกจะมีไข้เหมือนกัน แต่โรคชิคุนกุนยาจะมีอาการไข้ขึ้นสูงร่วมกับมีผื่นแดง ปวดบวมตามข้อ ส่วนใหญ่แล้วถ้าในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ โดยอาการปวดข้อจะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ หรือไม่สามารถเดินได้ แต่จะหายได้เองภายใน 1-12 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา ขณะที่บางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก หรือเสียชีวิต ทั้งนี้สามารถพบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกที่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
ฟังดูแล้วโรคนี้อาจไม่ค่อยรุนแรงเท่ากับโรคไข้เลือดออก เพราะไม่ทำให้ถึงกับเสียชีวิต แต่หากใครเป็นโรคนี้ถือว่า ต้องทรมานสุดๆ เพราะอาการปวดข้อโดยเฉพาะบางรายมีอาการปวดรุนแรง หรือปวดข้อเรื้อรังเป็นปีๆ ไม่หาย ที่สำคัญกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต เพราะไม่สามารถไปทำงานได้
ยุวเรศ ศรีช่วย วัย 28 ปี ชาวบ้าน ต.คู อ.จะนะ จ.สงขลา ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกคนในครอบครัวเป็นแค่คนเดียวก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เป็นกันทั้งบ้าน 4 คน โดยคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็เป็นโรคนี้ ซึ่งจะมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย พอตอนกลางคืนจะรู้สึกหนาวและปวดข้อรุนแรงแบบเจ็บเข้าไปในกระดูก 2-3 วัน ต่อมาจึงเริ่มเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขามือและมีอาการคัน ซึ่งพอรู้ตัวว่าเป็นก็รีบไปหาหมอซึ่งหมอก็ให้ยาลดไข้ รวมถึงยาแก้ปวด ซึ่งเป็นโรคนี้กว่า 1 สัปดาห์แล้วยังไม่หาย ขณะที่ลูกๆ ตอนนี้หายป่วยทั้งหมดแล้ว
“ที่สำคัญ นอกจากจะเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังทำให้ไปทำงานกรีดยางไม่ได้ ครอบครัวสูญเสียรายได้ ถ้าเป็นกันทุกคนก็จะยิ่งลำบากมากขึ้น”ยุวเรศบอกด้วยสีหน้ากังวลในขณะที่ตามแขนขายังมีร่องรอยของผื่นแดง
ส่วนสาเหตุที่ช่วงนี้พบผู้ป่วยจำนวนมากนั้น นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค บอกว่า ช่วงนี้มีการพบผู้ป่วยมากขึ้นอาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งโรคนี้มีความน่าเป็นห่วงหลังจากพบว่า ในจำนวนผู้ที่เป็นโรคนี้ 20-30% จะมีอาการปวดข้อนานเป็นปีๆ ซึ่งทรมานมาก โดยขณะนี้ยังไม่มีทั้งวัคซีนและยามารักษา แพทย์ต้องให้การรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ เท่านั้น เช่น ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ แต่ห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น
** ภูมิปัญญาชาวบ้าน...ปูนขาวกันยุง
สำหรับวิธีการป้องกันที่สำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากการคว่ำจาน ขัน กะละมัง หม้อ คือ การปกป้องตัวเองจายุงร้ายโดยพยายามไม่ให้ยุงกัด ถ้านอนกลางวันก็ต้องนอนในมุง ถ้าต้องออกไปสวนตอนกลางวันก็ต้องทายากันยุงด้วย
โสภิตา ซุ้นสั่น อายุ 25 ปี อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่ม อสม.ต.นาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรัง ได้คิดค้นใช้ปูนขาวทากันยุง ซึ่งเดิมปูนขาวถือเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของต.นาโยงใต้อยู่แล้ว เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการนำปูนขาวมาใช้ในการป้องกันยุงและใช้แต้มบริเวณที่ยุงกัด โดยได้ทำการทดลองทาน้ำปูนขาวที่แขนแล้วเข้าไปในสวนยางเปรียบเทียบกับแขนข้างที่ไม่ได้ทา พบว่า ยุงไม่กัดแขนข้างที่ทาน้ำปูนขาวเลย ซึ่งมีการทดลองซ้ำหลายครั้งจนแน่ใจประสิทธิภาพ สำหรับสูตรที่คิดค้นขึ้นใหม่นั้น มีส่วนประกอบคือ ปูนขาว น้ำและตะไคร้หอม ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ชุมชนที่สนใจสามารถผลิตได้เองอย่างง่ายๆ ไม่ใส่วัตถุกันเสียทำให้ทำครั้งหนึ่งสามารถใช้ได้นาน 10 วัน
“หากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผู้นำชุมชุน ผู้ใหญ่บ้านให้ความสำคัญ ให้งบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การจัดซื้อเคมีภัณฑ์ การพ่นหมอกควันซึ่งเป็นความร่วมไม้ร่วมมือที่มาจากทุกส่วนของหมู่บ้าน ก็คงไม่สามารถทำให้หมู่บ้านของเราเป็นหมู่บ้านที่ปลอดจากยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของทั้งโรคไข้เลือดออก ต่อเนื่องกันถึง8 ปีได้ รวมถึงโรคใหม่อย่างโรคชิคุนกุนยาก็ไม่สามารถเข้ามาทำร้ายคนในชุมชนได้”โสภิตา ทิ้งท้าย